ร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 21, 2009 16:27 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอดังนี้

1. เห็นชอบและประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552 — 2556) พร้อมทั้งสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการแปลงแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปสู่แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการกระทรวง กรม แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาองค์กรชุมชน แผนพัฒนาขององค์กรในระดับภูมิภาค แผนพัฒนาองค์กรสาธารณะ ฯลฯ แล้วจัดทำเป็นโครงการ/กิจกรรม เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

2. สำหรับการขออัตรากำลังข้าราชการ 20 อัตรา ให้กระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนในเรื่องของอัตรากำลังดังกล่าว

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า กระทรวงยุติธรรมได้จัดทำร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552-2556) เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยการดำเนินงานระหว่างกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ได้จัดทำร่างแผนฯ จากกรอบแนวทางที่ให้ประชาชนได้รับความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนร่วมสะท้อนปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมจัดทำแผนจากระดับพื้นที่ พัฒนาเป็นแผนในระดับประเทศ ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่ให้การจัดทำแผนเริ่มจากระดับล่างขึ้นบน โดยสาระสำคัญของร่างแผนฯ มีดังนี้

1. กรอบแนวคิด มีกรอบแนวคิดให้แผนเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชนสากล ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาเวียนนาและ แผนปฏิบัติการ 1993 ข้อ 71 ซึ่งกำหนดว่า “ที่ประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเสนอแนะให้แต่ละรัฐ พิจารณาความจำเป็นในการร่างแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ในการกำหนดวิธีซึ่งรัฐบาลจะปรับปรุงการส่งเสริมและการให้ความคุ้มครองเรื่องสิทธิมนุษยชน” และคู่มือแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ รวมทั้งสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี จำนวน 7 ฉบับ

2. ทิศทางของร่างแผนฯ

  • วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรเครือข่ายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน
  • พันธกิจขององค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน
  • ส่งเสริม ป้องกัน และปกป้องสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด
  • คุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม
  • เป้าประสงค์
  • สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน
  • เครือข่ายสิทธิมนุษยชนเข้มแข็งในทุกภูมิภาคและมีความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนและพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล
  • ยุทธศาสตร์ มี 4 ยุทธศาสตร์ 14 กลยุทธ์ และ 43 กลวิธี สรุปได้ดังนี้
                ยุทธศาสตร์                           กลยุทธ์
1.ป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดความเสมอภาค       1.1 ส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึก
ตามความจำเป็นจริงนอกเหนือจากความเสมอภาคทางกฎหมาย     ในการปกป้องสิทธิมนุษยชน

1.2 สนับสนุนการเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชน

2. คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย                  2.1 เสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงการร้องเรียนและได้รับบริการ
ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน                            อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 คุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิและผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม

2.3 สนับสนุนให้ผู้ถูกละเมิดสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์จากการฟื้นฟู

และเยียวยาที่เหมาะสม

3. พัฒนากฎหมายและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้งการบังคับ        3.1 ปรับปรุงกฎหมายและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย
ใช้กฎหมาย เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน              เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

3.2 เสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติให้ทั่วถึงและเป็นธรรม

4. พัฒนาองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีศักยภาพในการ         4.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนทุกภาคส่วน
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้มีความเข้มแข็งในการ        4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากล              ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการทำงานส่งเสริมและคุ้มครอง

สิทธิมนุษยชนให้ ครอบคลุมทุกพื้นที่

4.3 พัฒนาองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของสังคมไทย

4.4 พัฒนาบุคลากรทุกระดับขององค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน

4.5 ส่งเสริมการใช้อำนาจที่ถูกต้องเหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ

4.6 สร้างวัฒนธรรมองค์กรในภาครัฐเรื่องการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4.7 ส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง

ในระดับชาติและระหว่างประเทศ

มีตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ รวม 6 รายการ                   มีตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ รวม 26 รายการ
  • หน่วยงานเป้าหมายที่คาดว่าจะนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรอื่น และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมทั้งสิ้นประมาณ 9,625 แห่ง
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อประเทศไทยประกาศใช้แผนจะทำให้เกิดผลในระดับประเทศ ระดับสังคม และระดับประชาชน ฯลฯ

กระทรวงยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552-2556) จะเป็นแผนในระดับชาติซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งยังเป็นการสร้างหลักประกันสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน และพัฒนาระบบงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมอย่างมีเอกภาพของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านสิทธิมนุษยชนต่อเวทีประชาคมโลก และอาจถือโอกาสนี้เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกเห็นถึงความตั้งใจจริงของประเทศไทยที่จะส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม สุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ในวันที่ 23-25 ตุลาคม 2552

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 ตุลาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ