คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมรายงานความเสียหายของโบราณสถานจากอุทกภัยและกำหนดแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
1. แจ้งวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานศิลปากรเขตทุกเขตให้จังหวัดต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายเร่งสำรวจและรายงานความเสียหายในเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานแล้ว ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน ตาก พิษณุโลก และสุโขทัย มีโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 18 แห่ง
1.2 ภาคกลาง มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และอุทัยธานี มีโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 57 แห่ง
1.3 ประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ต้องใช้ในการบูรณะในเบื้องต้นขณะนี้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
2. ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบให้กรมศิลปากรดำเนินการแจ้งคณะกรรมการว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกโลกเพื่อขอรับการสนบัสนุนด้านงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญสำหรับการอนุรักษ์โบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่ โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
3. กระทรวงวัฒนธรรม ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว ซึ่งขณะนี้ได้มอบให้กรมศิลปากรตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาจัดทำแผนแม่บทเป็นการเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งในขั้นต้นนี้พิจารณาเห็นว่าแหล่งที่มีความเสียหายและวิกฤติที่สุด คืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องฟื้นฟูแผนผังเมืองโบราณ รวมทั้งสนับสนุนการประกาศใช้ผังเมือง ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดทำเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นในส่วนของโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วมและไม่อาจป้องกันได้ควรพิจารณาให้เสริมความมั่นคงโดยให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์
4. กระทรวงวัฒนธรรมจะติดตามผลกระทบของโบราณสถานจากอุทกภัยและจะรายงานเป็นระยะ ๆ พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--
1. แจ้งวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานศิลปากรเขตทุกเขตให้จังหวัดต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายเร่งสำรวจและรายงานความเสียหายในเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานแล้ว ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ น่าน ตาก พิษณุโลก และสุโขทัย มีโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 18 แห่ง
1.2 ภาคกลาง มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และอุทัยธานี มีโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 57 แห่ง
1.3 ประมาณการความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ต้องใช้ในการบูรณะในเบื้องต้นขณะนี้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
2. ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบให้กรมศิลปากรดำเนินการแจ้งคณะกรรมการว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกโลกเพื่อขอรับการสนบัสนุนด้านงบประมาณ และผู้เชี่ยวชาญสำหรับการอนุรักษ์โบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่ โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
3. กระทรวงวัฒนธรรม ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว ซึ่งขณะนี้ได้มอบให้กรมศิลปากรตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาจัดทำแผนแม่บทเป็นการเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งในขั้นต้นนี้พิจารณาเห็นว่าแหล่งที่มีความเสียหายและวิกฤติที่สุด คืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องฟื้นฟูแผนผังเมืองโบราณ รวมทั้งสนับสนุนการประกาศใช้ผังเมือง ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดทำเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นในส่วนของโบราณสถานที่ถูกน้ำท่วมและไม่อาจป้องกันได้ควรพิจารณาให้เสริมความมั่นคงโดยให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์
4. กระทรวงวัฒนธรรมจะติดตามผลกระทบของโบราณสถานจากอุทกภัยและจะรายงานเป็นระยะ ๆ พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2549--จบ--