คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานบทสรุปนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในเยาวชนระดับอุดมศึกษา ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจหารือแนวทางในการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนระดับอุดมศึกษา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 250 คน ในวันที่ 26 มกราคม 2549 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรน คอนเวนชั่น ที่ผ่านมา โดยสรุปตามประเด็นสำคัญได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเข้าถึงถุงยางอนามัย ส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีจุดบริการถุงยางอนามัยในสถานศึกษาในกรณีไม่มีแหล่งบริการถุงยางอนามัย เด็กมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่มีเครื่องมือในการป้องกันโรค ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่า แต่บางส่วนก็มีความคิดเห็นว่าขัดต่อวัฒนธรรมที่ดีงาม และกระทบต่อความรู้สึกของผู้ปกครอง
ประเด็นที่ 2 การเรียนการสอนหลักสูตรเพศศึกษา เตรียมอาจารย์ผู้สอน ปรับทัศนคติให้ยอมรับการสอนหลักสูตรเพศศึกษา และมีนโยบายบรรจุหลักสูตรเพศศึกษา/ทักษะชีวิต ในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาหรือสอดแทรกการสอนเพศศึกษาในทุกรายวิชาที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
ประเด็นที่ 3 การรณรงค์ให้ความรู้ สร้างเสริมแนวคิด/ สร้างค่านิยมในการป้องกันเอดส์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันรับน้อง / วันปฐมนิเทศ วันรับปริญญา เป็นต้น
ประเด็นที่ 4 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ผู้บริหาร ต้องเห็นความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้เรื่องเอดส์ และให้ความร่วมมือสร้างเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน หอพักนักศึกษาและผู้ปกครอง
บทสรุปเพื่อการดำเนินงานในกลุ่มเยาวชน
1. ด้านบริหาร ต้องมีนโยบายชัดเจน และมีแผนงานรองรับ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องรับนโยบายจากส่วนกลาง และมีการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง เช่น มีคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งควรประกอบด้วย หัวหน้า สถาบันการศึกษา องค์กรส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ผลสัมฤทธิ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปัญหาของพื้นที่ แผนของจังหวัด การสนับสนุนการติดตามและประเมินผล
2. ระบบงบประมาณ เนื่องจากระบบประมาณในปัจจุบัน ส่วนท้องถิ่นจะได้รับงบประมาณมากกว่าส่วนกลาง เพราะฉะนั้นการอบรมเพศศึกษา / การรณรงค์ป้องกันเอดส์ จึงควรผลักดันให้เป็นแผนของพื้นที่ / จังหวัด/ท้องถิ่น เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน ตระหนักในปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
3. การพัฒนา การพัฒนาหลักสูตร ต้องให้สอดคล้องในแต่ละวัยของกลุ่มเป้าหมายและจัดสอดแทรกตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการมีหลากหลายทั้งในชั้นเรียน ทางอินเตอร์เน็ต การศึกษาดูงาน จัดค่ายฯลฯ และการพัฒนาศักยภาพของผู้สอน ผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีทักษะการสอน ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ทัศนคติ และเป็นผู้ที่เข้าใจชีวิตวัยรุ่น
4. ด้านบริการ มีการจัดตั้งชมรม มีแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งในสถาบัน และที่หอพัก การจัดการเรียนการสอนผ่าน e-learning เรียนรู้ด้วยตัวเอง การเข้าถึงถุงยางอนามัย ว่าควรติดตั้งสถานที่ใด ควรใช้กลไกทางการตลาดประกอบกับองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย / ประสบการณ์ว่ารูปแบบที่เหมาะสมควรใช้รูปแบบใด เช่น การหยอดเหรียญหรือไม่หยอดเหรียญ
5. การบูรณาการหลักสูตร การทำงานกับเยาวชน ควรดูปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เป็นตัวเร้า/กระตุ้น/ชักนำ เช่น กลุ่มเพื่อน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเกิดผลกระทบตามมา เช่น เอดส์,ยาเสพติด,เหล้า,บุหรี่ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2549--จบ--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจหารือแนวทางในการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มเยาวชนระดับอุดมศึกษา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 250 คน ในวันที่ 26 มกราคม 2549 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรน คอนเวนชั่น ที่ผ่านมา โดยสรุปตามประเด็นสำคัญได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเข้าถึงถุงยางอนามัย ส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีจุดบริการถุงยางอนามัยในสถานศึกษาในกรณีไม่มีแหล่งบริการถุงยางอนามัย เด็กมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่มีเครื่องมือในการป้องกันโรค ทำให้มีความเสี่ยงมากกว่า แต่บางส่วนก็มีความคิดเห็นว่าขัดต่อวัฒนธรรมที่ดีงาม และกระทบต่อความรู้สึกของผู้ปกครอง
ประเด็นที่ 2 การเรียนการสอนหลักสูตรเพศศึกษา เตรียมอาจารย์ผู้สอน ปรับทัศนคติให้ยอมรับการสอนหลักสูตรเพศศึกษา และมีนโยบายบรรจุหลักสูตรเพศศึกษา/ทักษะชีวิต ในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาหรือสอดแทรกการสอนเพศศึกษาในทุกรายวิชาที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
ประเด็นที่ 3 การรณรงค์ให้ความรู้ สร้างเสริมแนวคิด/ สร้างค่านิยมในการป้องกันเอดส์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันรับน้อง / วันปฐมนิเทศ วันรับปริญญา เป็นต้น
ประเด็นที่ 4 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ผู้บริหาร ต้องเห็นความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้เรื่องเอดส์ และให้ความร่วมมือสร้างเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน หอพักนักศึกษาและผู้ปกครอง
บทสรุปเพื่อการดำเนินงานในกลุ่มเยาวชน
1. ด้านบริหาร ต้องมีนโยบายชัดเจน และมีแผนงานรองรับ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องรับนโยบายจากส่วนกลาง และมีการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง เช่น มีคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งควรประกอบด้วย หัวหน้า สถาบันการศึกษา องค์กรส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ผลสัมฤทธิ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปัญหาของพื้นที่ แผนของจังหวัด การสนับสนุนการติดตามและประเมินผล
2. ระบบงบประมาณ เนื่องจากระบบประมาณในปัจจุบัน ส่วนท้องถิ่นจะได้รับงบประมาณมากกว่าส่วนกลาง เพราะฉะนั้นการอบรมเพศศึกษา / การรณรงค์ป้องกันเอดส์ จึงควรผลักดันให้เป็นแผนของพื้นที่ / จังหวัด/ท้องถิ่น เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกัน ตระหนักในปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
3. การพัฒนา การพัฒนาหลักสูตร ต้องให้สอดคล้องในแต่ละวัยของกลุ่มเป้าหมายและจัดสอดแทรกตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการมีหลากหลายทั้งในชั้นเรียน ทางอินเตอร์เน็ต การศึกษาดูงาน จัดค่ายฯลฯ และการพัฒนาศักยภาพของผู้สอน ผู้สอนต้องมีความเชี่ยวชาญ และมีทักษะการสอน ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ทัศนคติ และเป็นผู้ที่เข้าใจชีวิตวัยรุ่น
4. ด้านบริการ มีการจัดตั้งชมรม มีแกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งในสถาบัน และที่หอพัก การจัดการเรียนการสอนผ่าน e-learning เรียนรู้ด้วยตัวเอง การเข้าถึงถุงยางอนามัย ว่าควรติดตั้งสถานที่ใด ควรใช้กลไกทางการตลาดประกอบกับองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย / ประสบการณ์ว่ารูปแบบที่เหมาะสมควรใช้รูปแบบใด เช่น การหยอดเหรียญหรือไม่หยอดเหรียญ
5. การบูรณาการหลักสูตร การทำงานกับเยาวชน ควรดูปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เป็นตัวเร้า/กระตุ้น/ชักนำ เช่น กลุ่มเพื่อน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเกิดผลกระทบตามมา เช่น เอดส์,ยาเสพติด,เหล้า,บุหรี่ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2549--จบ--