คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่างกฎหมายระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ดำเนินการจัดทำโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่างกฎหมาย เพื่อเชื่อมโยงและติดตามกระบวนการร่างกฎหมาย (ร่างพระราชบัญญัติ) ในระหว่าง 4 หน่วยงาน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณเงินกู้เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานและพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการดังกล่าวแล้ว โดยโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการเสนอร่างกฎหมายโดยส่วนรวม ดังนี้
1. ส่วนราชการภาครัฐทั้งฝ่ายบริหาร (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และฝ่ายนิติบัญญัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) จะได้รับประโยชน์จากการติดตามข้อมูลการร่างกฎหมายได้ทุกขั้นตอน
2. ข้อมูลในระบบจะประมวลได้ว่าร่างพระราชบัญญัติได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนใดบ้าง หรือยังค้างพิจารณาอยู่ที่ขั้นตอนใด แต่ละสมัยประชุมมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติใดบ้าง ตลอดจนได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือไม่
3. จะทำให้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารแผนการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
4. ข้อมูลในระบบยังเป็นการช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการร่างกฎหมายได้รับรู้ร่างกฎหมายล่วงหน้า ทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นอันจะทำให้การตรวจพิจารณาดำเนินไปโดยไม่ชักช้า
5. ในอนาคตหากพัฒนาเป็นระบบเปิดต่อไป จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไปในการเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (ในขณะนี้ข้อมูลยังคงใช้เฉพาะราชการของทั้ง 4 หน่วยงานนี้เท่านั้น) และโดยที่การดำเนินการตามโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่างกฎหมายระหว่าง 4 หน่วยงาน ซึ่งจะต้องส่งข้อมูลร่างกฎหมายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งเป็นเอกสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า ได้ดำเนินการจัดทำโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่างกฎหมาย เพื่อเชื่อมโยงและติดตามกระบวนการร่างกฎหมาย (ร่างพระราชบัญญัติ) ในระหว่าง 4 หน่วยงาน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) ทั้งนี้ โดยใช้งบประมาณเงินกู้เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานและพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการดังกล่าวแล้ว โดยโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการเสนอร่างกฎหมายโดยส่วนรวม ดังนี้
1. ส่วนราชการภาครัฐทั้งฝ่ายบริหาร (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) และฝ่ายนิติบัญญัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา) จะได้รับประโยชน์จากการติดตามข้อมูลการร่างกฎหมายได้ทุกขั้นตอน
2. ข้อมูลในระบบจะประมวลได้ว่าร่างพระราชบัญญัติได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนใดบ้าง หรือยังค้างพิจารณาอยู่ที่ขั้นตอนใด แต่ละสมัยประชุมมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติใดบ้าง ตลอดจนได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือไม่
3. จะทำให้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารแผนการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
4. ข้อมูลในระบบยังเป็นการช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการร่างกฎหมายได้รับรู้ร่างกฎหมายล่วงหน้า ทราบเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นอันจะทำให้การตรวจพิจารณาดำเนินไปโดยไม่ชักช้า
5. ในอนาคตหากพัฒนาเป็นระบบเปิดต่อไป จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วไปในการเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (ในขณะนี้ข้อมูลยังคงใช้เฉพาะราชการของทั้ง 4 หน่วยงานนี้เท่านั้น) และโดยที่การดำเนินการตามโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลร่างกฎหมายระหว่าง 4 หน่วยงาน ซึ่งจะต้องส่งข้อมูลร่างกฎหมายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการส่งเป็นเอกสาร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--