คณะรัฐมนตรีรับทราบผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและผู้ให้บริการต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ โดยมีบทสรุปดังนี้
1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักวิจัยเบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยเก็บข้อมูลจากจังหวัดในแต่ละภาครวม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรี แพร่ กำแพงเพชร เชียงราย หนองคาย ศรีสะเกษ นครราชสีมา ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 6,294 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 — 26 มิถุนายน 2548 สรุปผลที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 ส่วนคือ
1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อบริการของ แพทย์ พยาบาล คุณภาพยา คุณภาพเครื่องมืออุปกรณ์ ความสะดวกในการใช้บริการ ความสะดวกในการเดินทาง และผลการรักษา พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากขึ้น ยกเว้นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งผลสำรวจปี 2548 ลดลงจากปี 2547
2) ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อกำหนดคะแนนเต็ม เท่ากับ 10 คะแนน พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2548 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.83 เมื่อเทียบกับผลการสำรวจปีที่ผ่านมาพบว่าไม่แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยของปี 2547 เท่ากับ 7.88
3) ความคิดเห็นในข้อดี และสิ่งที่ควรปรับปรุง ในส่วนความเห็นในเรื่องข้อดีและข้อที่ควรปรับปรุง ผลการสำรวจในปี 2548 ยังตอบในทำนองเดียวกันกับสองปีที่ผ่านมาคือ ข้อดี อันดับแรกคือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ราคาถูก อันดับที่สองคือ เป็นการช่วยเหลือคนยากจน ดีสำหรับคนจน ดีสำหรับผู้มีรายได้น้อย และอันดับสามคือ การเดินทางไปสถานพยาบาลสะดวกสบาย ใกล้บ้าน ส่วนข้อปรับปรุงของโครงการ 30 บาท อันดับแรกคือ ปรับปรุงเรื่องการรอตรวจ รอรับยา ซึ่งใช้เวลานาน อันดับสองคือ ปรับปรุงคุณภาพการรักษาพยาบาล คุณภาพยา อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ อันดับสามคือ เปิดโอกาสให้ใช้บริการได้ทุกสถานพยาบาล
2. ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการ
การสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 : กรณีศึกษา ตัวอย่างบุคลากรผู้ให้บริการในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จาก 13 จังหวัด ทั่วประเทศ จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักวิจัยเบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มวิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกสังกัดและทุกภูมิภาคจาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี พิจิตร พิษณุโลก เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ขอนแก่น ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,886 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 — 26 มิถุนายน 2548
ผลการสำรวจในปี 2548 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเด็นที่ประชาชนมีโอกาสในการรับบริการที่เท่าเทียมกัน และได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการให้บริการอย่างมีคุณภาพ และเมื่อกำหนดคะแนนเต็มเท่ากับ 10 คะแนน ในด้านผลต่อประชาชน พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเฉลี่ย 7.54 คะแนน (ในปี 2546 และปี 2547 เท่ากับ 7.46 และ 7.50 ตามลำดับ) ในด้านผลต่อผู้ให้บริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.42 คะแนน (ในปี 2546 และปี 2547 เท่ากับ 4.96 และ 4.94 ตามลำดับ)
สิ่งที่ควรปรับปรุงเร่งด่วนของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อันดับแรก ได้แก่ ปรับปรุงระบบงบประมาณให้เพียงพอเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง/จัดงบประมาณให้ถึงหน่วยปฏิบัติอย่างรวดเร็ว (ร้อยละ 21.5) อันดับสองได้แก่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและการใช้สิทธิในโครงการ 30 บาท / ประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ 30 บาทให้ประชาชนได้ทราบ และอันดับสามได้แก่ ปรับปรุงเรื่องสวัสดิการ ค่าตอบแทนแก่บุคลากร เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจ มีความมั่นใจในอาชีพของตนเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักวิจัยเบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยเก็บข้อมูลจากจังหวัดในแต่ละภาครวม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรี แพร่ กำแพงเพชร เชียงราย หนองคาย ศรีสะเกษ นครราชสีมา ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 6,294 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 — 26 มิถุนายน 2548 สรุปผลที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 ส่วนคือ
1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อบริการของ แพทย์ พยาบาล คุณภาพยา คุณภาพเครื่องมืออุปกรณ์ ความสะดวกในการใช้บริการ ความสะดวกในการเดินทาง และผลการรักษา พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากขึ้น ยกเว้นเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งผลสำรวจปี 2548 ลดลงจากปี 2547
2) ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อกำหนดคะแนนเต็ม เท่ากับ 10 คะแนน พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2548 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.83 เมื่อเทียบกับผลการสำรวจปีที่ผ่านมาพบว่าไม่แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยของปี 2547 เท่ากับ 7.88
3) ความคิดเห็นในข้อดี และสิ่งที่ควรปรับปรุง ในส่วนความเห็นในเรื่องข้อดีและข้อที่ควรปรับปรุง ผลการสำรวจในปี 2548 ยังตอบในทำนองเดียวกันกับสองปีที่ผ่านมาคือ ข้อดี อันดับแรกคือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ราคาถูก อันดับที่สองคือ เป็นการช่วยเหลือคนยากจน ดีสำหรับคนจน ดีสำหรับผู้มีรายได้น้อย และอันดับสามคือ การเดินทางไปสถานพยาบาลสะดวกสบาย ใกล้บ้าน ส่วนข้อปรับปรุงของโครงการ 30 บาท อันดับแรกคือ ปรับปรุงเรื่องการรอตรวจ รอรับยา ซึ่งใช้เวลานาน อันดับสองคือ ปรับปรุงคุณภาพการรักษาพยาบาล คุณภาพยา อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ อันดับสามคือ เปิดโอกาสให้ใช้บริการได้ทุกสถานพยาบาล
2. ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการ
การสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการที่มีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2548 : กรณีศึกษา ตัวอย่างบุคลากรผู้ให้บริการในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) จาก 13 จังหวัด ทั่วประเทศ จัดทำโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักวิจัยเบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มวิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกสังกัดและทุกภูมิภาคจาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ นนทบุรี ชลบุรี พิจิตร พิษณุโลก เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ขอนแก่น ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,886 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 — 26 มิถุนายน 2548
ผลการสำรวจในปี 2548 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเด็นที่ประชาชนมีโอกาสในการรับบริการที่เท่าเทียมกัน และได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการให้บริการอย่างมีคุณภาพ และเมื่อกำหนดคะแนนเต็มเท่ากับ 10 คะแนน ในด้านผลต่อประชาชน พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเฉลี่ย 7.54 คะแนน (ในปี 2546 และปี 2547 เท่ากับ 7.46 และ 7.50 ตามลำดับ) ในด้านผลต่อผู้ให้บริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.42 คะแนน (ในปี 2546 และปี 2547 เท่ากับ 4.96 และ 4.94 ตามลำดับ)
สิ่งที่ควรปรับปรุงเร่งด่วนของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อันดับแรก ได้แก่ ปรับปรุงระบบงบประมาณให้เพียงพอเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง/จัดงบประมาณให้ถึงหน่วยปฏิบัติอย่างรวดเร็ว (ร้อยละ 21.5) อันดับสองได้แก่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและการใช้สิทธิในโครงการ 30 บาท / ประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ 30 บาทให้ประชาชนได้ทราบ และอันดับสามได้แก่ ปรับปรุงเรื่องสวัสดิการ ค่าตอบแทนแก่บุคลากร เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจ มีความมั่นใจในอาชีพของตนเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--