คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 16 ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร การให้ความช่วยเหลือ และสถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี และขอนแก่น
พื้นที่ประสบอุทกภัย
ช่วงภัยวันที่ 29 กันยายน — 20 ตุลาคม 2552 ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2552 ดังนี้
พื้นที่ประสบภัย 40 จังหวัด แยกเป็น
ด้านพืช 35 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 170,595 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,632,924 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,292,217 ไร่ พืชไร่ 311,465 ไร่ และพืชสวน 29,242 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 15 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 14,773 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,237,431 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 45,287 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 21,013 ตัว และสัตว์ปีก 1,171,131 ตัว แปลงหญ้า 382 ไร่
ด้านประมง 26 จังหวัด เกษตรกรประสบภัย 13,039 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 15,057 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 20,758 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 165 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 1,888 ตารางเมตร
การช่วยเหลือเบื้องต้น
1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อช่วยเหลือไปแล้ว ดังนี้
- เครื่องสูบน้ำ 19 จังหวัด จำนวน 237 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก (2) มหาสารคาม(1) ร้อยเอ็ด(1) ชัยภูมิ(9) นครราชสีมา (10) ชัยนาท (12) นนทบุรี(27) ปทุมธานี (13) พระนครศรีอยุธยา(17) สมุทรสาคร(5) สุพรรณบุรี (65) ลพบุรี (44) อ่างทอง(14) นครปฐม (5) อุทัยธานี (6) กาญจนบุรี (2) ราชบุรี (1) และสระบุรี(1) และกรุงเทพฯ(2)
- เครื่องผลักดันน้ำ 4 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(19) กรุงเทพมหานคร(3) สุพรรณบุรี (15) และนครปฐม (10)
2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 228.62 ตัน แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 200 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 14,848 ตัว
สถานการณ์ฝนทิ้งช่วง
ช่วงภัย เดือนพฤษภาคม — กันยายน 2552 (ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2552)
พื้นที่เสียหาย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ชัยนาท สระบุรี จันทบุรี และสุพรรณบุรี เกษตรกร 21,544 ราย พื้นที่เสียหาย 381,559 ไร่ วงเงิน 259,782,078 บาท
การช่วยเหลือเป็นเงิน
- ไม่เสียหาย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ นครราชสีมา
- ช่วยเหลือแล้ว 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ ชัยนาท สระบุรี จันทบุรี เกษตรกร 9,298 ราย พื้นที่เสียหาย 125,574 ไร่ เป็นเงิน 83,112,775 บาท
- จะของบกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พะเยา พิจิตร สุพรรณบุรี เกษตรกร 12,246 ราย พื้นที่เสียหาย 255,985 ไร่ เป็นเงิน 176,669,303 บาท
การปฏิบัติการฝนหลวง
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 7 ศูนย์ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก กาญจนบุรี นครสวรรค์
ขึ้นปฏิบัติการในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 9 — 15 ตุลาคม 2552) จำนวน 155 เที่ยวบิน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 0.1 - 124.0 มม. มีฝนตกในพื้นที่ 40 จังหวัด ทั้งนี้ได้ปรับแผนการปฏิบัติงาน โดยปิดทุกศูนย์ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552 เนื่องจากพื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการฝนหลวงจะได้รับปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการแล้ว รวมทั้งเพื่อทำการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบิน อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานในฤดูปฏิบัติการฝนหลวงปี 2553 ต่อไป
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (26 ตุลาคม 2552) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 55,222 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (55,411 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 189 ล้านลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การได้ 31,695 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 14,373 ล้านลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 9,230 และ 6,017 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 69 และ 63 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับโดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 15,247 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 7,725 ล้านลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 901 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สามารถรับน้ำได้อีก 59 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำ ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ เมื่อวานนี้ วันนี้ เมื่อวาน รับได้อีก แม่กวง 61 23 47 17 1.53 3.40 0.58 0.59 202
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 15 อ่างฯ ดังนี้
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ปริมาณน้ำ ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ เมื่อวานนี้ วันนี้ เมื่อวาน รับได้อีก แม่งัดสมบูรณ์ชล 224 84 202 76 2.26 2.22 0.3 0.32 41 กิ่วลม 92 82 88 79 3.02 3.02 1.05 1.05 20 จุฬาภรณ์ 158 96 114 70 0.65 0.72 0.94 1 6 ลำปาว 1,276 89 1,191 83 3.32 3.29 5.62 5.59 154 สิรินธร 1,763 90 932 47 1.69 1.66 8.89 8.87 203 ป่าสักชลสิทธิ์ 901 94 898 93 24.44 29.84 25.72 29.35 59 กระเสียว 201 84 161 66 3.46 1.67 0.01 0.01 39 ศรีนครินทร์ 16,089 91 5,824 33 34.51 41.08 13.84 16.49 1,656 วชิราลงกรณ์ 8,058 91 5,046 57 26.21 24.01 17.84 19.32 802 ขุนด่านปราการชล 185 83 180 80 1.23 1.04 0.27 0.27 39 หนองปลาไหล 170 104 157 96 3.26 3.66 3.5 3.16 0 ประแสร์ 259 104 239 96 0.08 2.22 2.5 2.88 0 แก่งกระจาน 651 92 584 82 4.12 5.43 2.58 2.57 59 ปราณบุรี 322 93 262 75 2.71 6.03 1.47 1.9 25 รัชชประภา 5,136 91 3,784 67 6.22 3.2 7.52 6.23 503
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำ ที่ตั้งสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า ระดับตลิ่ง ระดับน้ำ เกณฑ์ แนวโน้ม สถานี อำเภอ จังหวัด เมตร เมตร ยม Y.16 บ้านบางระกำ บางระกำ พิษณุโลก 7.15 8.40 *ท่วม* ทรงตัว น่าน N.67 สะพานบ้านเกยไชย ชุมแสง นครสวรรค์ 27.45 25.50 มาก เพิ่มขึ้น ป่าสัก S.42 บ้านบ่อวัง วิเชียรบุรี เพชรบูรณ์ 10.20 9.80 มาก เพิ่มขึ้น ชี E.23 บ้านค่าย เมือง ชัยภูมิ 8.50 7.95 มาก ลดลง E.20A บ้านฟ้าหยาด มหาชนะชัย ยโสธร 9.50 8.34 มาก ทรงตัว E.9 บ้านโจด มัญจาคีรี ขอนแก่น 10.50 10.85 *ท่วม* ลดลง E.21 บ้านเก่งโก เมือง ชัยภูมิ 8.50 8.30 มาก ลดลง มูล M.5 บ้านเมืองดง ราษีไศล ศรีสะเกษ 8.10 9.30 *ท่วม* ลดลง M.184 บ้านซึม พิมาย นครราชสีมา 4.50 4.78 *ท่วม* เพิ่มขึ้น M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย เมือง อุบลราชธานี 7.00 6.83 มาก ลดลง M.42 บ้านห้วยทับทัน ห้วยทับทัน ศรีสะเกษ 8.00 5.22 มาก เพิ่มขึ้น M.9 บ้านหนองหญ้าปล้อง เมือง ศรีสะเกษ 9.00 8.10 มาก ลดลง M.26 บ้านลำชี เมือง สุรินทร์ 7.50 6.85 มาก เพิ่มขึ้น M.190 บ้านขวาว อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ 7.10 5.48 มาก เพิ่มขึ้น M.185 บ้านไผ่น้อย ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ 7.10 6.50 มาก ลดลง M.6A บ้านสตึก สตึก บุรีรัมย์ 5.40 5.95 *ท่วม* ลดลง
แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 ที่ค่ายจีรประวัติ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,424 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำ +22.57 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 3.03 เมตร
เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 ที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,424 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.60 เมตร รทก. ระดับท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +13.00 เมตร รทก.
แม่น้ำสะแกกรัง สถานี Ct.2A ที่หน้าศาลากลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 188 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 172 ลบ.ม.ต่อวินาที รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 169 ลบ.ม.ต่อวินาที
สถานีบางไทร สถานี C.29 อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,660 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้(25 ต.ค. 52) ค่าจริงวัดได้ +2.16 เมตร รทก. เวลา 23.45 น. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.93 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ เวลา 18.00 น. ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.92 เมตร
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้(25 ต.ค. 52) ค่าจริงวัดได้ +1.45 เมตร รทก. เวลา 13.00 น. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.05 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ เวลา 12.45 น. ที่ระดับ +1.67 เมตร รทก. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.83 เมตร
เขื่อนพระรามหก มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 236 ลบ.ม.ต่อวินาที
แม่น้ำท่าจีน ที่ สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระดับน้ำ +1.67 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.07 เมตร แนวโน้มลดลง
ปริมาณน้ำไหลผ่าน
- จังหวัดอ่างทอง ที่ (C.7A) บ้านบางแก้ว อำเภอเมือง 1,327 ลบ.ม.ต่อวินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 3.37 เมตร แนวโน้มลดลง
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่คลองบางหลวง (C.36) 489 ลบ.ม.ต่อวินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 2.87 เมตร ที่คลองบางบาล (C.37) 107 ลบ.ม.ต่อวินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 3.00 เมตร แนวโน้มทรงตัว ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา(C.35) 984 ลบ.ม.ต่อวินาที ต่ำกว่าตลิ่ง 2.01 เมตร แนวโน้มลดลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 ตุลาคม 2552 --จบ--