คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานถวายพระราชกุศล 400 ปี แห่งการสวรรคตสมเด็จพระนเรศรวรมหาราช และเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานถวายพระราชกุศล 400 ปี แห่งการสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสนอให้วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ของแต่ละปีเป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยไม่เป็นวันหยุดราชการ มีการวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ในจังหวัดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากวันที่ 25 มกราคม อันเป็นวันคล้ายวันทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่ราชศัตรู (วันกองทัพไทย) ทั้งนี้ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศกำหนดวันที่ตามปฏิทินสุริยคติให้ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ในทางจันทรคติ (ทำนองเดียวกับการกำหนดวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา ซึ่งจะไม่ตรงกันในแต่ละปี)
สำหรับกิจกรรมที่ควรจัดในปีนี้ ซึ่งปีนี้เป็นปีครบ 400 ปี ควรมีกิจกรรมพิเศษโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีรำลึกถึงพระราชวีรกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน
2. เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหนในอธิปไตยและความเป็นชาติไทย
3. เพื่อให้เยาวชนได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ไทยรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอันเป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงปัจจุบัน เช่น สัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เส้นทางการเดินทัพ บทบาทของกองทัพในการรักษาอธิปไตยของชาติ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น
ในส่วนกลางกำหนดจัดกิจกรรมจัดงาน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างศึกที่ประดิษฐหน้าอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 โดยมีกำหนดการดังนี้ ภาคเช้า มีพิธีบวงสรวงสังเวย ภาคบ่าย มีพิธีวางพวงมาลา และการแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชวีรกรรม ภาคเย็น นายกรัฐมนตรีวางพวงมาลา และมีพิธีอ่านประกาศถวายราชสดุดี ภาคค่ำ การแสดงกลางแจ้ง ทั้งนี้ ให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นเจ้าภาพ
ต่างจังหวัด ในจังหวัดที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ ได้แก่ พิษณุโลก (พระราชวังสนามจันทร์) พระนครศรีอยุธยา (ทุ่งภูเขาทอง) สุพรรณบุรี (ดอนเจดีย์) อ่างทอง (วัดท่าสุทธาวาส) เชียงใหม่ (เชียงดาว) เชียงราย เพชรบูรณ์ สระแก้ว หนองบัวลำภู เพชรบุรี ปราจีนบุรี กาญจนบุรี แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีนำพวงมาลาของคณะรัฐมนตรีไปวาง และเชิญชวนประชาชนไปร่วมงานโดยมีการประกอบพิธีถวายราชสดุดีอนุโลมตามส่วนกลาง ส่วนจังหวัดอื่นนอกจากนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกอบพิธีตามสมควร ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดงบประมาณในการจัดงานดังกล่าวตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
สำหรับกิจกรรมที่ควรจัดในปีนี้ ซึ่งปีนี้เป็นปีครบ 400 ปี ควรมีกิจกรรมพิเศษโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นการถวายราชสดุดีรำลึกถึงพระราชวีรกรรมและพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน
2. เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความรักความหวงแหนในอธิปไตยและความเป็นชาติไทย
3. เพื่อให้เยาวชนได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ไทยรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอันเป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงปัจจุบัน เช่น สัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เส้นทางการเดินทัพ บทบาทของกองทัพในการรักษาอธิปไตยของชาติ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น
ในส่วนกลางกำหนดจัดกิจกรรมจัดงาน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างศึกที่ประดิษฐหน้าอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 โดยมีกำหนดการดังนี้ ภาคเช้า มีพิธีบวงสรวงสังเวย ภาคบ่าย มีพิธีวางพวงมาลา และการแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชวีรกรรม ภาคเย็น นายกรัฐมนตรีวางพวงมาลา และมีพิธีอ่านประกาศถวายราชสดุดี ภาคค่ำ การแสดงกลางแจ้ง ทั้งนี้ ให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นเจ้าภาพ
ต่างจังหวัด ในจังหวัดที่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ ได้แก่ พิษณุโลก (พระราชวังสนามจันทร์) พระนครศรีอยุธยา (ทุ่งภูเขาทอง) สุพรรณบุรี (ดอนเจดีย์) อ่างทอง (วัดท่าสุทธาวาส) เชียงใหม่ (เชียงดาว) เชียงราย เพชรบูรณ์ สระแก้ว หนองบัวลำภู เพชรบุรี ปราจีนบุรี กาญจนบุรี แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีนำพวงมาลาของคณะรัฐมนตรีไปวาง และเชิญชวนประชาชนไปร่วมงานโดยมีการประกอบพิธีถวายราชสดุดีอนุโลมตามส่วนกลาง ส่วนจังหวัดอื่นนอกจากนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกอบพิธีตามสมควร ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดงบประมาณในการจัดงานดังกล่าวตามความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--