คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการพิจารณาผลการศึกษากรณีโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2545และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป โดยให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ได้มีคำสั่ง และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้สรุปเรื่องให้คณะรัฐมนตรีทราบ ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องการประชุมคณะรัฐมนตรี และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548
กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อสังเกตคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
1. การกำหนดราคารับจำนำ เกรด AA กิโลกรัมละ 72 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 54 บาท และเกรด B กิโลกรัมละ 36 บาท เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าผู้แทนเกษตรกรเรียกร้อง เกรด AA กิโลกรัมละ 82-89 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 63-68 บาท และเกรด B กิโลกรัมละ 42-45 บาท
2. การเพิ่มปริมาณการรับจำนำในแต่ละครั้งจากเป้าหมายเดิม 35,000 ตัน เป็น 70,000 ตัน และครั้งสุดท้ายไม่กำหนดปริมาณเป้าหมายนั้น เนื่องจากมีการชุมนุมเรียกร้องของเกษตรในแต่ละแห่งผลิต ทั้งนี้ ผลผลิตลำไยในปี 2545 สูงกว่าปี 2544 ประมาณ 1 เท่า
3. การดำเนินโครงการดังกล่าว ช่วยยกระดับราคาลำไยสดทั้งระบบ กล่าวคือ ราคาลำไยสดทั้งช่อเกรด AA กิโลกรัมละ 20-23 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 16-19 บาท ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการ คาดว่าระดับราคาเกรด AA กิโลกรัมละ 14.50 —15 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 10-11 บาท การรับจำนำทำให้เกษตรกรทั้งระบบมีรายได้เพิ่มขึ้น ประมาณ 3,500 บาท
4. คณะอนุกรรมการตรวจสอบการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2545 ได้ตรวจสอบพบเหตุที่ส่อไปในทางทุจริตของหน่วยรับจำนำทั้งในส่วนขององค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และได้แจ้งความต่อกองปราบปราม 10 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ป.ป.ช. 2 ราย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 8 ราย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า อ.ต.ก. ได้รับมอบหมายจาก คชก. ให้ดำเนินการรับฝากเก็บดูแลรักษาลำไยอบแห้ง และออกใบประทวนให้เกษตรกรนำไปเป็นหลักประกันจำนำกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งในการดำเนินงาน อ.ต.ก. ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติอย่างรอบคอบและรัดกุมอย่างไรก็ตาม ราคารับจำนำที่กำหนดน่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากการจำหน่ายก่อนวันที่ 5 เมษายน 2547 มีกำไร สาเหตุของการขาดทุนน่าจะเกิดจาก
1. การขายสิทธิ์ของเกษตรกรซึ่งยากต่อการตรวจสอบ
2. การหยุดชะงักการจำหน่าย เนื่องจากผู้ซื้อชุดใหญ่ที่ คชก. อนุมัติขายไม่ไปทำสัญญาวางเงินมัดจำและที่ทำสัญญาไว้แล้วไม่ไปรับสินค้าเป็นการกีดกันผู้ซื้อรายอื่นจนเลยฤดูการจำหน่าย
กระทรวงการคลัง รายงานว่า ธ.ก.ส. ที่ได้ร่วมดำเนินงานโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2545 โดยทำหน้าที่รับจำนำใบประทวนจากเกษตรกรพร้อมทั้งจ่ายเงิน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้เสนอแนะแนวทางการป้องกันปัญหาการทุจริตที่จะเกิดขึ้น ดังนี้
1. ต้องประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมมาตรการให้เกษตรกรทราบอย่างทั่วถึงก่อนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว
2. จัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่ที่สามารถตรวจทานได้
3. กำหนดเงื่อนไข ห้ามเจ้าของคลังสินค้าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองปริมาณผลผลิต
4. กำหนดระบบการคัดเลือกผู้แทนเกษตรกรให้โปร่งใส
5. คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ต้องประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่และผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ และต้องมีบทลงโทษอย่างรวดเร็วและจริงจังหากพบการทุจริต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อสังเกตคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
1. การกำหนดราคารับจำนำ เกรด AA กิโลกรัมละ 72 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 54 บาท และเกรด B กิโลกรัมละ 36 บาท เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าผู้แทนเกษตรกรเรียกร้อง เกรด AA กิโลกรัมละ 82-89 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 63-68 บาท และเกรด B กิโลกรัมละ 42-45 บาท
2. การเพิ่มปริมาณการรับจำนำในแต่ละครั้งจากเป้าหมายเดิม 35,000 ตัน เป็น 70,000 ตัน และครั้งสุดท้ายไม่กำหนดปริมาณเป้าหมายนั้น เนื่องจากมีการชุมนุมเรียกร้องของเกษตรในแต่ละแห่งผลิต ทั้งนี้ ผลผลิตลำไยในปี 2545 สูงกว่าปี 2544 ประมาณ 1 เท่า
3. การดำเนินโครงการดังกล่าว ช่วยยกระดับราคาลำไยสดทั้งระบบ กล่าวคือ ราคาลำไยสดทั้งช่อเกรด AA กิโลกรัมละ 20-23 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 16-19 บาท ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการ คาดว่าระดับราคาเกรด AA กิโลกรัมละ 14.50 —15 บาท เกรด A กิโลกรัมละ 10-11 บาท การรับจำนำทำให้เกษตรกรทั้งระบบมีรายได้เพิ่มขึ้น ประมาณ 3,500 บาท
4. คณะอนุกรรมการตรวจสอบการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2545 ได้ตรวจสอบพบเหตุที่ส่อไปในทางทุจริตของหน่วยรับจำนำทั้งในส่วนขององค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และได้แจ้งความต่อกองปราบปราม 10 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ป.ป.ช. 2 ราย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 8 ราย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า อ.ต.ก. ได้รับมอบหมายจาก คชก. ให้ดำเนินการรับฝากเก็บดูแลรักษาลำไยอบแห้ง และออกใบประทวนให้เกษตรกรนำไปเป็นหลักประกันจำนำกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งในการดำเนินงาน อ.ต.ก. ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติอย่างรอบคอบและรัดกุมอย่างไรก็ตาม ราคารับจำนำที่กำหนดน่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากการจำหน่ายก่อนวันที่ 5 เมษายน 2547 มีกำไร สาเหตุของการขาดทุนน่าจะเกิดจาก
1. การขายสิทธิ์ของเกษตรกรซึ่งยากต่อการตรวจสอบ
2. การหยุดชะงักการจำหน่าย เนื่องจากผู้ซื้อชุดใหญ่ที่ คชก. อนุมัติขายไม่ไปทำสัญญาวางเงินมัดจำและที่ทำสัญญาไว้แล้วไม่ไปรับสินค้าเป็นการกีดกันผู้ซื้อรายอื่นจนเลยฤดูการจำหน่าย
กระทรวงการคลัง รายงานว่า ธ.ก.ส. ที่ได้ร่วมดำเนินงานโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2545 โดยทำหน้าที่รับจำนำใบประทวนจากเกษตรกรพร้อมทั้งจ่ายเงิน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้เสนอแนะแนวทางการป้องกันปัญหาการทุจริตที่จะเกิดขึ้น ดังนี้
1. ต้องประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมมาตรการให้เกษตรกรทราบอย่างทั่วถึงก่อนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว
2. จัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกรในพื้นที่ที่สามารถตรวจทานได้
3. กำหนดเงื่อนไข ห้ามเจ้าของคลังสินค้าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองปริมาณผลผลิต
4. กำหนดระบบการคัดเลือกผู้แทนเกษตรกรให้โปร่งใส
5. คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ต้องประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่และผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ และต้องมีบทลงโทษอย่างรวดเร็วและจริงจังหากพบการทุจริต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--