คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับลดหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและนิติกรรมในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามอัตราการเรียกเก็บค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้เหลือในอัตราร้อยละ 0.01 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า
1. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีภาระหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยการช่วยเหลือให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองตามแนวนโยบายของรัฐบาล เหตุผลที่กฎหมายบัญญัติให้มีการจัดที่ดินให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และให้เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยวิธีการเช่าซื้อ เพราะเห็นว่าที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางด้านเกษตรกรรม หากเกษตรกรได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินย่อมทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการปรับปรุงดูแลรักษา ยังผลให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าเดิมอันเป็นรากฐานเศรษฐกิจของชาติให้เกิดความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน
2. การได้ที่ดินมาเพื่อการปฏิรูปในที่ดินเอกชน ส.ป.ก. ได้มาโดยการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดิน โดย ส.ป.ก. ใช้วิธีการเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ราคาต่ำสุด โดยจะพิจารณาจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ ทำเลที่ตั้งมูลค่าผลผลิตเกษตรกรรมเป็นหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องถิ่นนั้น รวมทั้งราคาที่ดินที่ไม่แพงจนเกินไป เพื่อให้ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับภาระราคาที่ดินมากเกินไป ดังนั้น หากเจ้าของที่ดินขายที่ดินให้กับส.ป.ก. และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นแรงจูงใจ ให้กับเจ้าของที่ดินนำที่ดินมาขายให้กับ ส.ป.ก. เพื่อ ส.ป.ก. จะได้นำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินได้เช่าซื้อตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อ ส.ป.ก. ได้จัดซื้อที่ดินมาในราคาที่ต่ำ ส.ป.ก. สามารถนำมาจัดที่ดินให้กับเกษตรกรด้วยการให้เช่าซื้อที่ดินในราคาที่ต่ำด้วยเช่นกัน
3. ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาโดยการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดิน ส.ป.ก. จะจัดให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้เช่าซื้อตามราคาที่ได้จัดซื้อมาบวกด้วยดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 6 ต่อปี (ปัจจุบันได้ปรับลดเหลืออัตราร้อยละ 4 ต่อปี) ทั้งนี้ อยู่ที่ความสามารถและความประสงค์ของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ส.ป.ก. จะดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเกษตรกรตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ในการจดทะเบียนดังกล่าว เกษตรกรผู้เช่าซื้อจะต้องเสียค่าธรรมเนียมฯ ในอัตราร้อยละ 1 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ในปีที่ได้จดทะเบียน ซึ่งจะมีราคาที่สูงกว่าราคาที่เช่าซื้อ (ราคาประเมินที่ดินจะมีการปรับราคาใหม่ทุก ๆ 4 ปี) มีผลให้เกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ในอัตราที่สูง
4. ในการให้เกษตรกรเช่าซื้อตามวิธีการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเกษตรกรได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว เกษตรกรยังถูกจำกัดสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ กล่าวคือ จะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งที่ดินที่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าว มีผลทำให้มูลค่าของที่ดินจะมีราคาต่ำกว่าราคาที่ดินโดยทั่วไป ดังนั้น อัตราค่าธรรมเนียมฯ ในกรณีของเกษตรกรที่ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน จึงสมควรที่จะต้องได้รับการพิจารณาปรับลด หรือลดหย่อนให้มีอัตราที่ต่ำกว่าในกรณีของบุคคลโดยทั่วไป และหากให้เกษตรกรต้องรับภาระในเรื่องของราคาที่ดินที่เช่าซื้อ รวมทั้งในเรื่องของค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงก็จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งจะไม่เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเช่าซื้อเพื่อได้เป็นเจ้าของที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินและตามนโยบายของรัฐบาล จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า
1. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีภาระหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยการช่วยเหลือให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองตามแนวนโยบายของรัฐบาล เหตุผลที่กฎหมายบัญญัติให้มีการจัดที่ดินให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และให้เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยวิธีการเช่าซื้อ เพราะเห็นว่าที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตทางด้านเกษตรกรรม หากเกษตรกรได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินย่อมทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการปรับปรุงดูแลรักษา ยังผลให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรจะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าเดิมอันเป็นรากฐานเศรษฐกิจของชาติให้เกิดความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน
2. การได้ที่ดินมาเพื่อการปฏิรูปในที่ดินเอกชน ส.ป.ก. ได้มาโดยการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดิน โดย ส.ป.ก. ใช้วิธีการเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ราคาต่ำสุด โดยจะพิจารณาจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ ทำเลที่ตั้งมูลค่าผลผลิตเกษตรกรรมเป็นหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องถิ่นนั้น รวมทั้งราคาที่ดินที่ไม่แพงจนเกินไป เพื่อให้ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับภาระราคาที่ดินมากเกินไป ดังนั้น หากเจ้าของที่ดินขายที่ดินให้กับส.ป.ก. และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นแรงจูงใจ ให้กับเจ้าของที่ดินนำที่ดินมาขายให้กับ ส.ป.ก. เพื่อ ส.ป.ก. จะได้นำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกินได้เช่าซื้อตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อ ส.ป.ก. ได้จัดซื้อที่ดินมาในราคาที่ต่ำ ส.ป.ก. สามารถนำมาจัดที่ดินให้กับเกษตรกรด้วยการให้เช่าซื้อที่ดินในราคาที่ต่ำด้วยเช่นกัน
3. ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาโดยการจัดซื้อจากเจ้าของที่ดิน ส.ป.ก. จะจัดให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้เช่าซื้อตามราคาที่ได้จัดซื้อมาบวกด้วยดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 6 ต่อปี (ปัจจุบันได้ปรับลดเหลืออัตราร้อยละ 4 ต่อปี) ทั้งนี้ อยู่ที่ความสามารถและความประสงค์ของเกษตรกร เมื่อเกษตรกรได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ส.ป.ก. จะดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเกษตรกรตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ในการจดทะเบียนดังกล่าว เกษตรกรผู้เช่าซื้อจะต้องเสียค่าธรรมเนียมฯ ในอัตราร้อยละ 1 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ในปีที่ได้จดทะเบียน ซึ่งจะมีราคาที่สูงกว่าราคาที่เช่าซื้อ (ราคาประเมินที่ดินจะมีการปรับราคาใหม่ทุก ๆ 4 ปี) มีผลให้เกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ในอัตราที่สูง
4. ในการให้เกษตรกรเช่าซื้อตามวิธีการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเกษตรกรได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว เกษตรกรยังถูกจำกัดสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ กล่าวคือ จะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งที่ดินที่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าว มีผลทำให้มูลค่าของที่ดินจะมีราคาต่ำกว่าราคาที่ดินโดยทั่วไป ดังนั้น อัตราค่าธรรมเนียมฯ ในกรณีของเกษตรกรที่ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน จึงสมควรที่จะต้องได้รับการพิจารณาปรับลด หรือลดหย่อนให้มีอัตราที่ต่ำกว่าในกรณีของบุคคลโดยทั่วไป และหากให้เกษตรกรต้องรับภาระในเรื่องของราคาที่ดินที่เช่าซื้อ รวมทั้งในเรื่องของค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงก็จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งจะไม่เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเช่าซื้อเพื่อได้เป็นเจ้าของที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินและตามนโยบายของรัฐบาล จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--