การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 4, 2009 15:06 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ

และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบต่อทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศไทยโดยเพิ่มเติม ดังนี้

1.1 เพิ่มเติมพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาจิ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดหนองคาย พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก เกาะระ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และพรุคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.2 เพิ่มเติมพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ พรุแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบึงสำนักใหญ่ (หนองจำรุง) จังหวัดระยอง

1.3 เพิ่มเติมรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญเร่งด่วนสมควรได้รับการเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดหนองคาย เกาะระ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช และหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

1.4 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการคุ้มครอง โดยเพิ่มเติมหนองหล่ม (ผนวกเพิ่มกับหนองบงคาย) พื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำสงคราม พื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งมหาราช พื้นที่ชุ่มน้ำวัดห้วยจันทร์ อ่าวไทยตอนใน (โดยเฉพาะด้านตะวันตกแหลมผักเบี้ย บ้านปากทะเลและเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี) ปากแม่น้ำเวฬุ เกาะสมุย และเกาะพงัน

1.5 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการฟื้นฟู โดยเพิ่มเติมหนองหลวง จังหวัดเชียงราย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ลำปลายมาศ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อม พื้นที่ชุ่มน้ำวัดอโศกการาม เขตห้าม ล่าสัตว์ป่าวัดตาลเอนและพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งมหาราช ทุ่งโพธิ์ทอง/ทุ่งคำหยาด เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ปากแม่น้ำเวฬุ อ่าวปากพนัง และพื้นที่ชุ่มน้ำพรุบ้านไม้ขาว

1.6 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการศึกษาสำรวจ โดยเพิ่มเติมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (สัตว์ป่า/ปลา) พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประชากร/ชนิดนก) ปากแม่น้ำเวฬุและอ่าวคุ้งกระเบน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร (สัตว์น้ำ/ปลา) เกาะต่าง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ป่าชายเลนปะเหลียน-ละงู และพื้นที่ชุ่มน้ำพรุคันธุลี (ความหลากหลายทางชีวภาพ/ประชากร/ชนิดนก)

2. เห็นชอบต่อมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุมน้ำ ดังนี้

มาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ                     หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก          หน่วยงานสนับสนุน
1. ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่            กระทรวงมหาดไทย              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศโดยเฉพาะ                                        กรมประมง
พื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียวและ                                       กรมที่ดิน
มิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อ                                       กรมชลประทาน
สงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำ                                      กรมทรัพยากรน้ำ
ต่อไป                                                                กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สำนักงานนโยบายและแผน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ให้มีการสำรวจและตรวจสอบขอบเขต          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ       สถาบันการศึกษา
พื้นที่ชุ่มน้ำตามทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ           และสิ่งแวดล้อม                 กรมการปกครอง
ที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นที่ ค.ร.ม. มีมติ                                     กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
เห็นชอบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543                                     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อเป็นแหล่งรับน้ำตามธรรมชาติโดยเป็น
พื้นที่กักเก็บและชะลอการไหลของน้ำเพื่อ
ป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง
3. ให้มีการติดตาม ตรวจสอบและดำรง           กระทรวงมหาดไทย              กรมการขนส่งทางน้ำ
รักษาพื้นที่ชุ่มน้ำตามทะเบียนรายนามพื้นที่                                       และพาณิชย์นาวี
ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นเพื่อ                                          กรมที่ดิน
สงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำตามธรรมชาติ                                      กรมทรัพยากรน้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้น                                     สำนักงานนโยบายและแผน
ทะเบียนเป็นแหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์                                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนควบคุมและป้องกันการบุกรุกเข้า                                       สถาบันการศึกษา
ใช้ประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ
ที่เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์
4. ให้สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความรู้ ความ       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ       สถาบันการศึกษา
เข้าใจในคุณค่าและความสำคัญและการใช้          และสิ่งแวดล้อม                 กรมประชาสัมพันธ์
ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนแก่ทุกภาค                                       กรมส่งเสริมการปกครองส่วน
ส่วน และประชาชนทุกระดับ และให้ชุมชนมี                                     ท้องถิ่น
ส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการพื้นที่ชุ่ม                                      กระทรวงศึกษาธิการ
น้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและ                                          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระดับชาติด้วย                                                          กรมทรัพยากรน้ำ
5. ให้นำเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ            กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ       กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
ระดับนานาชาติและระดับชาติเป็นพื้นที่ชุ่ม           และสิ่งแวดล้อม                 และพันธุ์พืช
น้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ภายใต้                                      กรมประมง
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar                                          กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น                                                             กรมการปกครอง
Sites)                                                              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

6. ประกาศให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ            กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ       กรมประมง
ระดับนานาชาติ และระดับชาติ เป็นเขตห้าม        และสิ่งแวดล้อม                 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ล่าสัตว์ป่า หรือพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม                                        กรมการปกครอง
หรือพื้นที่อนุรักษ์ในลักษณะอื่น                                                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. เร่งรัดให้ออกหนังสือสำคัญที่หลวงใน           กระทรวงมหาดไทย              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีที่พื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญระดับ
นานาชาติและระดับชาติเป็นที่สาธาณ
ประโยชน์ และเร่งให้ดำเนินการจัดทำแนว
เขตที่ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก
โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของ
พื้นที่ชุ่มน้ำ
8. ให้มีการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มี           กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    กรมพัฒนาที่ดิน
ความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติที่          สิ่งแวดล้อม                    สถาบันการศึกษา
เสื่อมโทรมและต้องการการปรับปรุงโดยด่วน                                    กองทัพเรือ
เพื่อให้พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นสามารถดำรงบทบาท                                       กรมทรัพยากรน้ำ
หน้าที่ทางนิเวศวิทยาและอุทกวิทยาได้ตาม
ธรรมชาติ
9. ให้มีการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ         กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    กรมประมง
ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและ                สิ่งแวดล้อม                    กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์
ระดับชาติ   ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว                                      นาวี
เพื่อคุ้มครอง ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีการแบ่ง                                     สถาบันการศึกษา
เขตการใช้ประโยชน์พื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์                                       กรมพัฒนาที่ดิน
และเขตพัฒนา พร้อมทั้งกำหนดแนวเขตกัน                                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชนพื้นที่ ตลอดจนกำหนดกิจกรรมที่สามารถ                                      กรมทรัพยากรน้ำ
กระทำได้และห้ามกระทำในพื้นที่
10. ให้มีจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ         หน่วยงานเจ้าของโครงการ        สำนักงานนโยบายและแผน
สิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการพัฒนา                                     ทรัพยากรธรรมชาติและ
ใด ๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการ                                           สิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มี                                       กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
ความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ                                       และพันธุ์พืช

กรมประมง

สถาบันการศึกษา

11. ให้มีการศึกษาวิจัยระบบนิเวศพื้นที่ชุ่ม          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
น้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและ              สิ่งแวดล้อม                    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ
ระดับชาติและเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชน                                      สิ่งแวดล้อม
อย่างต่อเนื่อง
12. ติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง            กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    สถาบันการศึกษา
ในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ             สิ่งแวดล้อม
ระดับนานาชาติและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการกำหนดปัจจัยหรือดัชนีชี้วัดที่
ชัดเจน
13. ให้มีการศึกษาสำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำและ           กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    สถาบันการศึกษา
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง          สิ่งแวดล้อม
เพื่อปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนพื้นที่
ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและ
ระดับชาติตามเกณฑ์
14. ให้มีการควบคุมและป้องกันมลพิษ             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น         กรมโยธาธิการและผังเมืองสถาบันการศึกษา
จากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ ได้แก่ ชุมชน
อุตสาหกรรม เกษตรกรรมและกิจกรรมอื่นๆ
15. ให้มีการควบคุมป้องกันไฟป่าในพื้นที่           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น         สถาบันการศึกษา
ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและ            กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
ระดับชาติที่อาจเกิดจากชุมชน หรือเกิดจาก         สิ่งแวดล้อม
กิจกรรมอื่นๆ โดยมีมาตรการดังนี้
1) มาตรการป้องกันไฟป่า
(1) ให้ดำเนินการควบคุมระดับน้ำ
ของป่าชุ่มน้ำให้คงที่
(2) ทำแนวกันไฟเปียก (wet-line
firebreak) ตามแนวพระราชดำริ
(3) ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก
ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างจิตสำนึกและความ
เข้าใจให้กับชุมชนถึงอันตราย
ที่เกิดจากไฟป่า เป็นผลให้ชุมชนยุติการ
จุดไฟเผาป่า
2) มาตรการดับไฟป่า
(1) จัดตั้งสถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่
เพื่อทำหน้าที่กำกับ ดูแลและดำเนินการ
ควบคุมไฟป่าในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ
(2) ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้
ปฏิบีติงานดับไฟป่าในพื้นที่ชุ่มน้ำ
(3) ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ดับไฟป่า
ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ
16. ให้มีการศึกษาและจัดทำแผนกายภาพ          กระทรวงมหาดไทย              กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
ออกแบบภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบและใน                                         และพันธุ์พืช
บริเวณใกล้เคียงพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ                                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระดับนานาชาติและระดับชาติทั้งในระยะสั้น                                     กรมประมง
และระยะยาว                                                          กรมที่ดิน
เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวทั้งระบบ                                       กรมชลประทาน

กรมทรัพยากรน้ำ

กรมทรัพยากรทางทะเลและ

ชายฝั่ง

17. ให้จัดทำรายงานการประเมินผลการ          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ    สำนักงานนโยบายและ
ปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 — 16         สิ่งแวดล้อม                    แผนทรัพยากรธรรมชาติและ
โดยติดตามตรวจสอบจากหน่วยงานหลัก                                        สิ่งแวดล้อม
เสนอต่อคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่
ชุ่มน้ำเป็นประจำ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ