1. รับทราบผลการจ่าย “เช็คช่วยชาติ” ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-25 กันยายน 2552 และการนำเงินส่งคืนคลังสำหรับ “เช็คช่วยชาติ” รอบที่ 1-5
2. อนุมัติหลักการให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท และได้ยื่นแบบขอรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพต่อสำนักงานประกันสังคมแล้ว ให้ได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ
3. อนุมัติหลักการให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ดังกล่าว โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนโดยตรงต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. ได้จ่าย “เช็คช่วยชาติ” ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-25 กันยายน 2552 รวม 7,875,563 ฉบับ หรือร้อยละ 98.93 ของจำนวน “เช็คช่วยชาติ” ที่ออกทั้งหมด 5 รอบ (7,993,060 ฉบับ)
2. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดได้ขอรับเงินคืน “เช็คช่วยชาติ” รอบที่ 1-5 (ครบ 90 วัน) จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 117,497 ฉบับ เพื่อนำเงินส่งคืนคลัง จำนวน 234,994,000 บาท
3. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดรายงานว่า มีผู้ประกันตนได้ยื่นแบบขอรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพต่อสำนักงานประกันสังคมแล้ว แต่ตกค้างยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพภายในกำหนด จำนวน 2,025 คน ด้วยเหตุ ดังนี้
3.1 รอการตรวจสอบสถานะว่าไม่ได้เป็นบุคลากรภาครัฐ
3.2 ยื่นแบบคำขอเงินช่วยเหลือค่าครองชีพแล้ว แต่ไม่มีชื่อรับ “เช็คช่วยชาติ” เนื่องจากนายจ้างไม่แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนทำให้ไม่มีชื่อในฐานข้อมูลประกันสังคม (ดำเนินการให้นายจ้างขึ้นทะเบียนประกันสังคมเพื่อให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิตามกฎหมายประกันสังคมแล้ว)
3.3 ยื่นคำขอรับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพไม่ทันกำหนดวันปิดรับคำขอ (หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2552) เนื่องจากผู้ประกันตนไม่ได้รับทราบกำหนดวันดังกล่าว
3.4 อื่นๆ (นายจ้างส่งแบบคำขอให้สำนักงานประกันสังคมช้า ผู้ประกันตนส่งแบบคำขอทางไปรษณีย์)
4. กระทรวงแรงงานเห็นสมควรอนุมัติเป็นหลักการให้ผู้ประกันตนทั้ง 2,025 คน ได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพฯ ตามนโยบายของรัฐบาลเมื่อสำนักงานประกันสังคมตรวจสอบรับรองยืนยันสิทธิชัดเจนแล้ว แต่เนื่องจากขณะนี้สิ้นสุดความตกลงกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในการออก “เช็คช่วยชาติ” ให้แก่ผู้ประกันตน จึงเห็นสมควรใช้แนวทางการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนที่มีสิทธิเช่นเดียวกับกรณี “ผู้ประกันตนในต่างประเทศที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552” อนึ่ง กระทรวงแรงงานได้ให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการขอกันเงินงบประมาณเบิกเหลื่อมปีไว้แล้ว