คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการบริหารจัดการลุ่มน้ำภาคตะวันออกตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ รายงานความคืบหน้าการแก้ไขวิกฤติน้ำ ภาคตะวันออกปี 2548 และแนวทางการบริหารจัดการในระยะยาว ดังนี้
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการแก้ไขวิกฤติขาดแคลนน้ำภาคตะวันออกในปี 2548 จำนวน 28 โครงการ โดยใช้วงเงินลงทุนจำนวน 7,620.50 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนและกระจายน้ำ 19 โครงการ วงเงิน 7,484.80 ล้านบาท และโครงการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ การสำรวจออกแบบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับการบริหารจัดการลุ่มน้ำในระยะยาว 9 โครงการ วงเงิน 135.70 ล้านบาทนั้น ผลการดำเนินงานมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 11 โครงการ วงเงิน 932.85 ล้านบาท เป็นโครงการเพิ่มน้ำต้นทุน ผันน้ำและกระจายน้ำในช่วงวิกฤติ จำนวน 8 โครงการ สามารถเพิ่มน้ำต้นทุนในช่วงวิกฤติ ได้ 51.4 ล้าน ลบ.ม. หรือเป็นต้นทุนการจัดหาน้ำเพิ่มเติมเฉลี่ยประมาณ 18.15 บาท/ลบ.ม. จาก 3 โครงการ คือ (1) การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม จำนวน 415 บ่อ ปริมาณน้ำ 206,198 ลบ.ม. / วัน ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2) การวางท่อผันน้ำคลองทับมา-คลองน้ำหู-นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผันน้ำได้ 100,000 ลบ.ม. / วัน ดำเนินการโดยจังหวัดระยอง และ (3) การวางท่อผันน้ำแม่น้ำระยองเชื่อมต่อระบบท่อดอกกราย-มาบตาพุดที่มาบข่า เทศบาลมาบตาพุด ผันน้ำได้ 120,000 ลบ.ม./วัน ดำเนินการโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (Eastern Water Resources Development and Management PLC.)
2. สำหรับโครงการที่ดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ มี 17 โครงการ วงเงิน 6,687.65 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานและการคัดค้านของราษฎรในพื้นที่ ที่สำคัญ คือ
(1) โครงการยกระดับน้ำแม่น้ำระยองเพื่อผันน้ำไปนิคมมาบตาพุด หน่วยทหารพัฒนา ได้ทำการขุดลอกแม่น้ำระยอง ยาว 35 กิโลเมตรเสร็จแล้ว ขณะนี้กรมชลประทานอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 3 แห่ง ซึ่งเป็นฝายยาง 1 แห่ง และประตูระบายน้ำ 2 แห่ง การดำเนินงานมีความล่าช้า เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้คัดค้านการก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากแม่น้ำระยอง ซึ่งกรมชลประทานและผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กำลังเร่งเจรจาทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ หากไม่ยินยอมอาจต้องพิจารณาขอยกเลิกการก่อสร้างประตูระบายน้ำที่ปากแม่น้ำระยอง ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่ง ไม่มีปัญหาในการก่อสร้างและจะดำเนินการต่อไปเพื่อยกระดับและเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำระยอง
(2) โครงการวางท่อเชื่อมอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานประมาณ 3-4 เดือน โดยได้ลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาและวางท่อ เมื่อ 16 มกราคม 2549 แต่ยังติดปัญหาเรื่องที่ดินการวางท่อในเขตตำบลชุมแสง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาทำความเข้าใจกับ อบต. ชุมแสง และราษฎรผู้คัดค้าน สำหรับการก่อสร้างระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ กรมชลประมาณได้ปรับแผนงานให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นจากเดิมอีก 1 ปี
3. ส่วนบ่อน้ำบาดาลจำนวน 415 บ่อ ที่ขุดเจาะแล้วเสร็จและมีการสูบน้ำมาใช้ในช่วงวิกฤตแล้วนั้น อาจมีปัญหาในเรื่องปริมาณน้ำที่ได้รับจริง และมีบ่อน้ำบาดาลที่ใช้การไม่ได้อยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบประสิทธิผลของบ่อน้ำบาดาลเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของน้ำต้นทุน
4. กรณีเพิ่มอัตราค่าน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและการบำรุงรักษาแหล่งน้ำในระยะยาวนั้น กระทรวงเกษตรและสหรณ์ได้ส่งเรื่องขอแก้ไขพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ปี 2548 ที่กำหนดอัตราค่าชลประทานสำหรับการใช้เพื่อกิจการโครงการ การประปาหรือกิจการอื่นให้เรียกเก็บได้ไม่เกิน 50 สตางค์/ลบ.ม. เป็นอัตราลอยตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้เสนอเรื่องนี้ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548
5. คณะกรรมการบริหารโครงการลุ่มน้ำภาคตะวันออก ได้มีมติมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ รับไปดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำเดิมที่มีอยู่และของลำน้ำธรรมชาติ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินโครงการ/งานใดได้ ขอให้ประเมินผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุน นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
(2) สำหรับโครงการยกระดับน้ำแม่น้ำระยองเพื่อผันน้ำไปนิคมมาบตาพุด ให้กรมชลประทาน ตรวจสอบปริมาณน้ำต้นทุนที่ได้รับเพิ่ม ในกรณีที่โครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการและในกรณีที่สามารถก่อสร้างอาคารบังคับน้ำได้เพียง 2 แห่ง
(3) กรมชลประทาน สำนักงบประมาณ ร่วมกับฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ตรวจสอบสัญญาที่ทำไว้กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเป็นสัญญาทำขึ้นสำหรับดำเนินการเร่งด่วนในช่วงวิกฤติ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ความเร่งด่วนลดลง จะมีผลต่อวงเงินลงทุนตามสัญญาอย่างไร
(4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการจัดทำรายละเอียดข้อมูลและแผนที่ของบ่อบาดาลที่ทำการขุดเจาะไว้แล้วทั้ง 415 บ่อ ว่าใช้งานจริงได้กี่บ่อ เพื่อวัตถุประสงค์การอุปโภคบริโภคหรือการอุตสาหกรรม และประมาณการน้ำที่จะได้ รวมทั้งแนวทางการโอนบ่อน้ำบาดาลให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
6. สำหรับสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกปี 2549 นั้น ปรากฏว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บ 11 อ่าง ในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี ณ วันที่ 11 มกราคม 2549 มีปริมาณรวมกันเท่ากับ 245 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำทั้งหมดเปรียบเทียบกับร้อยละ 25 ของ ปี 2548 โดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 214 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 87 ของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมแล้ว จะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ และในปลายปี 2549 จะยังมีปริมาณน้ำต้นทุนเหลือในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รวมกันเป็นปริมาณอย่างน้อย 247 ล้าน ลบ.ม. โดยพิจารณาจากน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากน้ำฝนที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในระหว่างปี รวมกับน้ำต้นทุนที่ได้เพิ่มเติมจากโครงการแก้ไขวิกฤตน้ำใน 5 กรณีที่โครงการแก้ไขวิกฤตน้ำบางโครงการอาจดำเนินการไม่ได้หรือไม่แล้วเสร็จ
7. การประเมินสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกปี 2549 ในภาพรวมถึงแม้ว่าจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่เมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่บางพื้นที่อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประมาณการปริมาณความต้องการน้ำและปริมาณน้ำที่จะสามารถจัดหาได้ เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดเสถียรภาพและสมดุลในระยะยาว นอกจากนี้ ควรสนับสนุนและสร้างความเข้าใจให้โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ประหยัดน้ำในช่วงฤดูแล้งด้วย เช่น การลดหรือระงับการผลิต (shut down) ซึ่งช่วยลดปริมาณความต้องการใช้น้ำได้มาก
8. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในลุ่มน้ำภาคตะวันออกในระยะยาว คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันจัดทำประมาณการความต้องการน้ำ (Demand) โดยแยกเป็นความต้องการน้ำแต่ละประเภท และศักยภาพน้ำต้นทุน (Supply) ที่จะพัฒนาได้ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อการตัดสินใจเลือกภาวการณ์ที่เหมาะสม สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและการจัดหาน้ำสนองความต้องการ ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการแก้ไขวิกฤติขาดแคลนน้ำภาคตะวันออกในปี 2548 จำนวน 28 โครงการ โดยใช้วงเงินลงทุนจำนวน 7,620.50 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนและกระจายน้ำ 19 โครงการ วงเงิน 7,484.80 ล้านบาท และโครงการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ การสำรวจออกแบบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับการบริหารจัดการลุ่มน้ำในระยะยาว 9 โครงการ วงเงิน 135.70 ล้านบาทนั้น ผลการดำเนินงานมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 11 โครงการ วงเงิน 932.85 ล้านบาท เป็นโครงการเพิ่มน้ำต้นทุน ผันน้ำและกระจายน้ำในช่วงวิกฤติ จำนวน 8 โครงการ สามารถเพิ่มน้ำต้นทุนในช่วงวิกฤติ ได้ 51.4 ล้าน ลบ.ม. หรือเป็นต้นทุนการจัดหาน้ำเพิ่มเติมเฉลี่ยประมาณ 18.15 บาท/ลบ.ม. จาก 3 โครงการ คือ (1) การขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม จำนวน 415 บ่อ ปริมาณน้ำ 206,198 ลบ.ม. / วัน ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2) การวางท่อผันน้ำคลองทับมา-คลองน้ำหู-นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผันน้ำได้ 100,000 ลบ.ม. / วัน ดำเนินการโดยจังหวัดระยอง และ (3) การวางท่อผันน้ำแม่น้ำระยองเชื่อมต่อระบบท่อดอกกราย-มาบตาพุดที่มาบข่า เทศบาลมาบตาพุด ผันน้ำได้ 120,000 ลบ.ม./วัน ดำเนินการโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (Eastern Water Resources Development and Management PLC.)
2. สำหรับโครงการที่ดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ มี 17 โครงการ วงเงิน 6,687.65 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานและการคัดค้านของราษฎรในพื้นที่ ที่สำคัญ คือ
(1) โครงการยกระดับน้ำแม่น้ำระยองเพื่อผันน้ำไปนิคมมาบตาพุด หน่วยทหารพัฒนา ได้ทำการขุดลอกแม่น้ำระยอง ยาว 35 กิโลเมตรเสร็จแล้ว ขณะนี้กรมชลประทานอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 3 แห่ง ซึ่งเป็นฝายยาง 1 แห่ง และประตูระบายน้ำ 2 แห่ง การดำเนินงานมีความล่าช้า เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ได้คัดค้านการก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากแม่น้ำระยอง ซึ่งกรมชลประทานและผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กำลังเร่งเจรจาทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ หากไม่ยินยอมอาจต้องพิจารณาขอยกเลิกการก่อสร้างประตูระบายน้ำที่ปากแม่น้ำระยอง ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่ง ไม่มีปัญหาในการก่อสร้างและจะดำเนินการต่อไปเพื่อยกระดับและเพิ่มปริมาณน้ำในแม่น้ำระยอง
(2) โครงการวางท่อเชื่อมอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานประมาณ 3-4 เดือน โดยได้ลงนามสัญญาจ้างผู้รับเหมาและวางท่อ เมื่อ 16 มกราคม 2549 แต่ยังติดปัญหาเรื่องที่ดินการวางท่อในเขตตำบลชุมแสง ระยะทาง 7 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาทำความเข้าใจกับ อบต. ชุมแสง และราษฎรผู้คัดค้าน สำหรับการก่อสร้างระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมและตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ กรมชลประมาณได้ปรับแผนงานให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นจากเดิมอีก 1 ปี
3. ส่วนบ่อน้ำบาดาลจำนวน 415 บ่อ ที่ขุดเจาะแล้วเสร็จและมีการสูบน้ำมาใช้ในช่วงวิกฤตแล้วนั้น อาจมีปัญหาในเรื่องปริมาณน้ำที่ได้รับจริง และมีบ่อน้ำบาดาลที่ใช้การไม่ได้อยู่ด้วย จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบประสิทธิผลของบ่อน้ำบาดาลเพื่อช่วยสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของน้ำต้นทุน
4. กรณีเพิ่มอัตราค่าน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและการบำรุงรักษาแหล่งน้ำในระยะยาวนั้น กระทรวงเกษตรและสหรณ์ได้ส่งเรื่องขอแก้ไขพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ปี 2548 ที่กำหนดอัตราค่าชลประทานสำหรับการใช้เพื่อกิจการโครงการ การประปาหรือกิจการอื่นให้เรียกเก็บได้ไม่เกิน 50 สตางค์/ลบ.ม. เป็นอัตราลอยตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้เสนอเรื่องนี้ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548
5. คณะกรรมการบริหารโครงการลุ่มน้ำภาคตะวันออก ได้มีมติมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ รับไปดำเนินการต่อไป ดังนี้
(1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำเดิมที่มีอยู่และของลำน้ำธรรมชาติ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินโครงการ/งานใดได้ ขอให้ประเมินผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุน นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
(2) สำหรับโครงการยกระดับน้ำแม่น้ำระยองเพื่อผันน้ำไปนิคมมาบตาพุด ให้กรมชลประทาน ตรวจสอบปริมาณน้ำต้นทุนที่ได้รับเพิ่ม ในกรณีที่โครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการและในกรณีที่สามารถก่อสร้างอาคารบังคับน้ำได้เพียง 2 แห่ง
(3) กรมชลประทาน สำนักงบประมาณ ร่วมกับฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ตรวจสอบสัญญาที่ทำไว้กับ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเป็นสัญญาทำขึ้นสำหรับดำเนินการเร่งด่วนในช่วงวิกฤติ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ความเร่งด่วนลดลง จะมีผลต่อวงเงินลงทุนตามสัญญาอย่างไร
(4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการจัดทำรายละเอียดข้อมูลและแผนที่ของบ่อบาดาลที่ทำการขุดเจาะไว้แล้วทั้ง 415 บ่อ ว่าใช้งานจริงได้กี่บ่อ เพื่อวัตถุประสงค์การอุปโภคบริโภคหรือการอุตสาหกรรม และประมาณการน้ำที่จะได้ รวมทั้งแนวทางการโอนบ่อน้ำบาดาลให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
6. สำหรับสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกปี 2549 นั้น ปรากฏว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บ 11 อ่าง ในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี ณ วันที่ 11 มกราคม 2549 มีปริมาณรวมกันเท่ากับ 245 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำทั้งหมดเปรียบเทียบกับร้อยละ 25 ของ ปี 2548 โดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 214 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 87 ของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมแล้ว จะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ และในปลายปี 2549 จะยังมีปริมาณน้ำต้นทุนเหลือในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รวมกันเป็นปริมาณอย่างน้อย 247 ล้าน ลบ.ม. โดยพิจารณาจากน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากน้ำฝนที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในระหว่างปี รวมกับน้ำต้นทุนที่ได้เพิ่มเติมจากโครงการแก้ไขวิกฤตน้ำใน 5 กรณีที่โครงการแก้ไขวิกฤตน้ำบางโครงการอาจดำเนินการไม่ได้หรือไม่แล้วเสร็จ
7. การประเมินสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกปี 2549 ในภาพรวมถึงแม้ว่าจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่เมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่บางพื้นที่อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประมาณการปริมาณความต้องการน้ำและปริมาณน้ำที่จะสามารถจัดหาได้ เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดเสถียรภาพและสมดุลในระยะยาว นอกจากนี้ ควรสนับสนุนและสร้างความเข้าใจให้โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ประหยัดน้ำในช่วงฤดูแล้งด้วย เช่น การลดหรือระงับการผลิต (shut down) ซึ่งช่วยลดปริมาณความต้องการใช้น้ำได้มาก
8. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในลุ่มน้ำภาคตะวันออกในระยะยาว คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันจัดทำประมาณการความต้องการน้ำ (Demand) โดยแยกเป็นความต้องการน้ำแต่ละประเภท และศักยภาพน้ำต้นทุน (Supply) ที่จะพัฒนาได้ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อการตัดสินใจเลือกภาวการณ์ที่เหมาะสม สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและการจัดหาน้ำสนองความต้องการ ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--