เรื่อง สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด (ครั้งที่ 12)
และสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 19—28 สิงหาคม 2549
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รายงานสรุปผลความก้าวหน้าการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-28 สิงหาคม 2549 (ข้อมูลถึงวันที่
28 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย (จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม
2549)
1.1 ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับเงินชดเชย ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง สร้างเอง (หลัง) มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 22 9 110 20
2 แพร่ 138 112 - 26 - - - 23
3 สุโขทัย 90 90 - - - - - 19
รวมทั้งหมด 721 440 203 76 22 9 110 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
90 หลัง และแพร่ จำนวน 94 หลัง รวมยอดดำเนินการ 534 หลัง
4) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จะสร้างบ้านถาวรที่ อ.เมืองฯ จ.แพร่ จำนวน 18 หลัง
1.2 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
1.2.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(ข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 105,297,286 บาท แยกได้ดังนี้
- ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย จำนวน 29 ราย (ครบ 100 % ) เป็นเงิน 810,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 5,002 ราย (คิดเป็น 100 % ) เป็นเงิน 51,730,121 บาท
- ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 862 ราย เป็นเงิน 2,053,270 บาท
- ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 9,027 ราย เป็นเงิน 5,066,650 บาท
- ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,072,053 บาท
- ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 22,324,192 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 67,987,094 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 38,782,142 บาท
สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,530 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 212,066,522 บาท
1.2.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 806 ราย เป็นเงิน 9,428,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 3,470 ราย เป็นเงิน 42,488,890 บาท
รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,567 ราย ( คิดเป็น 99.21 %) เป็นเงิน 55,104,270 บาท
คงค้างจ่าย จำนวน 36 ราย เนื่องจากไปทำงานนอกพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามตัวเพื่อจ่ายเงินให้ต่อไป
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ (ระหว่างวันที่ 19—28 สิงหาคม 2549)
2.1 ระหว่างวันที่ 19 — 21 สิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้มี
ฝนตกหนักมากในพื้นที่ตอนบนของจังหวัดน่าน ปริมาณฝนสูงสุดที่อำเภอทุ่งช้าง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 วัดได้ 259 มม. เกิดน้ำป่าไหลหลาก
ลงสู่แม่น้ำน่าน โดยมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในหลายอำเภอตอนบนของจังหวัดน่าน
2.2 ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน เอ่อล้นตลิ่งท่วมในพื้นที่อำเภอท่าวังผา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 20 สิงหาคม 2549 สูงประมาณ
2-3 เมตร โดยระดับน้ำสูงสุดที่สถานีบ้านผาขวาง (N.64) อำเภอท่าวังผา
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เวลา 06.00 น. วัดได้ 14.86 เมตร (ระดับตลิ่ง 10.30 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง
4.56 เมตร และปริมาณน้ำดังกล่าวได้ไหลหลากลงมาผ่านอำเภอเมืองฯและกิ่งอำเภอภูเพียง ระดับน้ำสูงสุดที่สถานีวัดน้ำ หน้าสำนักงานป่าไม้
จังหวัด (N.1) อำเภอเมืองน่าน เมื่อเวลา 18.00 น. วัดได้ 8.42 เมตร (ระดับตลิ่ง 7.00 เมตร) เป็นเหตุให้น้ำเข้าท่วมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ
ของเทศบาลเมืองน่าน สูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร และน้ำได้ไหลหลากไปยังอำเภอเวียงสา ระดับน้ำสูงสุดที่สถานีวัดน้ำ(N.13 A) อำเภอ
เวียงสา เมื่อเวลา 12.00 น ของวันที่ 22 สิงหาคม 2549 วัดได้ 10.25 เมตร (ระดับตลิ่ง 8.00 เมตร) เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หลายตำบล
ของอำเภอเวียงสา สูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร
สำหรับจังหวัดเชียงรายมีฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอเชียงแสน แม่สาย และกิ่งอำเภอดอยหลวง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่
บางส่วน และที่จังหวัดสุโขทัยปริมาณน้ำยมที่อำเภอศรีสำโรงและอำเภอเมืองฯเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บางส่วน
2.3 พื้นที่ประสบภัย รวม 3 จังหวัด 17 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 82 ตำบล 365 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน (13 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ) เชียงราย (2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ) และสุโขทัย (2 อำเภอ) โดยประสบอุทกภัยรุนแรงที่จังหวัดน่าน ใน 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ
คือ อำเภอท่าวังผา เมืองฯ เวียงสา และกิ่งอำเภอภูเพียง
2.4 ความเสียหายของจังหวัดน่าน
1) มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (จังหวัดน่าน คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ อำเภอ
บ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด และนายเสาร์ สมอินทร์ อายุ 61 ปี บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 3 ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา )
ราษฎรเดือดร้อน 153,574 คน 44,278 ครัวเรือน อพยพ 30,411 คน บาดเจ็บ 172 คน
2) ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 16 หลัง บางส่วน 1,070 หลัง ถนน 254 สาย
สะพาน 79 แห่ง ท่อระบายน้ำ 120 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 375 แห่ง พื้นที่การเกษตร 77,309 ไร่ ปศุสัตว์ 4,987 ตัว
สัตว์ปีก 88,695 ตัว วัด 44 แห่ง โรงเรียน 54 แห่ง สถานที่ราชการ 81 แห่ง ยานพาหนะ 411 คัน
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 143,378,478 บาท
4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินเกิดรอยแยกที่อำเภอเชียงกลาง บริเวณบ้านกอกหมู่ที่ 8 ตำบลเชียงกลาง และ
ที่อำเภอทุ่งช้าง บริเวณบ้านน้ำเพาะ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งช้าง ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) อำเภอเชียงกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพราษฎรบ้านกอก จำนวน 38 ครัวเรือน 180 คน ไปไว้ที่
ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (ภูแว) และอำเภอทุ่งช้าง ร่วมกับ อบต.และได้อพยพราษฎรบ้านน้ำเพาะ จำนวน 46 ครัวเรือน 192 คน
ไปไว้ที่อาศรมท้ายหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย
(2) กรมทรัพยากรธรณีได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่รอยแยกเพื่อตรวจวิเคราะห์พื้นที่ดังกล่าวแล้ว
(3) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก นำเต๊นท์
ที่พักชั่วคราว จำนวน 50 หลัง ไปช่วยเหลือราษฎรบ้านน้ำเพาะ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง และที่อำเภอเชียงกลางแล้ว
2.5 สถานการณ์อุทกภัยทั้ง 3 จังหวัดคลี่คลายแล้วตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2549
2.6 การให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า
(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เขต 9 พิษณุโลก นำเรือท้องแบน จำนวน 15 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร เขต 10 ลำปาง เขต 2 สุพรรณบุรี และเขต 6 ขอนแก่น นำเรือท้องแบน จำนวน 26 ลำ ไปช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัย รวมเรือท้องแบนที่ปฏิบัติงานในการช่วยเหลือ จำนวน 41 ลำ และจัดสร้างเต๊นท์ที่พักชั่วคราวให้แก่ราษฎรบ้านน้ำปั้ว หมู่ 2 ตำบลน้ำปั้ว
ที่บ้านเสียหายทั้งหลัง จำนวน 6 หลัง ที่อำเภอเวียสา
(2) จังหวัดทหารบกน่าน นพค. 31 ตชด.324 ตชด.325 ม.พัน 10,15 อปพร. อาสาสมัคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน
พื้นที่ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(3) กองทัพบก (ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทบ. กองทัพภาคที่ 3 หน่วยทหารในพื้นที่) สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 5 ลำ
และเรือท้องแบน จำนวน 22 ลำ รถบรรทุก จำนวน 62 คัน เจ้าหน้าที่ 706 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และกองบิน 2 จังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุน
เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เรือท้องแบน 5 ลำ
(4) มูลนิธิร่วมกตัญญู สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ เครื่องมือกู้ภัย รถบรรทุก 2 คัน เจ้าหน้าที่ 100 นาย ถุงยังชีพ
1,200 ชุด
(5) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 1 ลำ รถยนต์ 4 คัน เจ้าหน้าที่ 34 นาย ถุงยังชีพ 2,270 ชุด
ข้าวกล่อง 2,270 กล่อง และน้ำดื่ม 2,270 ขวด และตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงประชาชนผู้ประสบภัย ณ เทศบาลเมืองน่าน
(6) กรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง ในการเร่งระบายน้ำ
(7) เหล่ากาชาดจังหวัดน่าน แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 10,000 กล่อง/น้ำดื่ม 10,000 ขวด
(8) เทศบาลเมืองน่าน แจกจ่ายอาหาร ข้าวกล่อง จำนวน 10,000 กล่อง น้ำดื่ม 10,000 ขวด ถุงยังชีพ 500 ชุด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ รถบรรทุก 6 คัน และสนับสนุนอาหารกล่องและน้ำดื่มแจกจ่ายผู้ประสบภัย
สรุปการให้ความช่วยเหลือ
1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจาก 42 หน่วยงาน จำนวน 6,077 คน
2) เรือท้องแบน จำนวน 128 ลำ
3) รถขุด จำนวน 3 คัน/รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถเครน 19 คัน/เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ
4) ถุงยังชีพ 17,000 ชุด ข้าวกล่อง 60,000 กล่อง/น้ำดื่ม 100,000 ขวด
5) ยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุข 17,500 ชุด
6) รถยนต์/รถบรรทุกและรถน้ำ 427 คัน เครื่องจักรกลชุดซ่อมทาง 33 คัน
7) รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
8) กระสอบทราย 5,500 ถุง
9) เครื่องสูบน้ำชลประทาน จำนวน 15 เครื่อง
2.7 การจ่ายเงินทดรองราชการของจังหวัดน่าน (งบ 50 ล้านบาท)
1) ผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย เป็นเงิน 55,000 บาท
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง จำนวน 16 หลัง จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว จำนวน 12 หลัง เป็นเงิน 360,000 บาท
ส่วนอีก 4 หลัง อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายเงิน
3) จัดทำอาหารเลี้ยงแก่ผู้ประสบภัย เป็นเงิน 2,000,000 บาท หากว่าไม่เพียงพออำเภอสามารถขอรับการสนับสนุน
งบประมาณต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
4) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นให้หน่วยงานต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 684,583.27 บาท
5) มอบเงินให้อำเภอยืมเงินทดรองราชการเป็นค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้ประสบภัยและซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลังและ
บางส่วน จำนวน 7,600,000 บาท
6) อำเภอใช้จ่ายเงินทดรองราชการจังหวัดในอำนาจของนายอำเภอ รวม 5,500,000 บาท
2.8 สิ่งของพระราชทาน
1) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 หน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเคลื่อนที่ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยการนำของนายโชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์ เลขาธิการและนายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการ ได้นำสิ่งของพระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภค
ไปมอบให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน ที่บ้านดอนมูล อำเภอเมืองน่าน จำนวน 160 ชุด ที่เทศบาลเมืองน่าน จำนวน 400 ชุด บ้านห้วยยื่น
ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จำนวน 340 ชุด และที่อำเภอท่าวังผา จำนวน 100 ชุด และในวันที่ 23 สิงหาคม 2549 มอบสิ่งของพระราชทาน
ที่อำเภอเวียงสา จำนวน 820 ชุด
2) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 พลอากาศเอกสถิตพงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์นำสิ่งของพระราชทานถุงยังชีพมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เพื่อนำไปมอบให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
จำนวน 2,000 ชุด
3) กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบสิ่งของพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม ดังนี้ มาม่า จำนวน 200 กล่อง มาม่าคัพ จำนวน 200 กล่อง น้ำดื่ม จำนวน 160 แพ็ค
ยาสีพัน-สบู่ จำนวน 40 กล่อง ข้าวสาร จำนวน 16 กระสอบ ยาแก้ไอ-แก้หวัด จำนวน 44 กล่อง เสื้อยืด-เสื้อกล้าม จำนวน 10 กระสอบ
4) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก จัดตั้งโรงทาน จำนวน 2 จุด ที่ อำเภอเมืองน่านตำบลชัยสถาน ณ อบต.ชัยสถาน
และอำเภอเวียงสา ตำบลเวียง ณ วัดวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน 2 แห่ง ๆ ละ 8 มื้อ ๆ ละ 600 คน รวมทั้งสิ้น 9,600 คน
5) มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มอบสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ (ถุงธารน้ำใจ) สภากาชาดไทย
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 5,000 ชุด/ เรือท้องแบน 11 ลำ/ เครื่องผลิตน้ำสะอาดสำหรับบริโภค/อุปโภค จำนวน 2 เครื่อง
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอเวียงสา และที่โรงพยาบาลน่าน เพื่อผลิตน้ำดื่มสำหรับบริโภคชั่วโมงละ 8,000 ลิตร รวมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่ จำนวน
30 คน นำโดย พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ไปดำเนินช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับ
นายกเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน กิ่งกาชาดอำเภอท่าวังผา และกิ่งกาชาดอำเภอสองแคว ในวันที่ 22-24 สิงหาคม 2549
6) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โดยร้อยเอกชัยวัฒน์ คนชม ผบ.ร้อย จทบ. อต.
เป็นผู้แทนมอบถุงพระราชทาน จำนวน 680 ชุด
7) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 พระเจ้าหลานเธอสิริภาจุฑาภรณ์ ประทานถุงพระราชทาน จำนวน 5,000 ชุด แก่ราษฎร
ที่ประสบอุทกภัยที่บ้านดอนมูล หมู่ที่ 10 ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และวันที่ 27 สิงหาคม 2549 ได้เสด็จถึงสวนสาธารณะบ้านนาหนุน
ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้ประทานสิ่งของพระราชทานให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย
2.9 นโยบายและข้อสั่งการของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมมอบนโยบายในการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่านและได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับ
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ นอกเหนือจากงบประมาณปกติที่หน่วยงานได้รับ และมอบหมายให้รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ และความเดือดร้อนในพื้นที่ รวมทั้ง
มอบหมายให้ปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบเงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบในเรื่องการสนับสนุน
งบประมาณกรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยไม่สามารถเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณทางราชการได้
2) ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักอาศัยเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่มี
ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ โดยให้ประสานข้อมูลรายละเอียดกับทางจังหวัดน่าน
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความ
ช่วยเหลือ ให้กระทรวงเกษตรฯ สำรวจพื้นที่ในเบื้องต้นหากพบว่าพื้นที่ของเกษตรกรรายใดได้รับความเสียหายจริง (เสียหายปกติ) ให้จ่ายเงิน
ช่วยเหลือขั้นต่ำไปก่อน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน และหากตรวจพบภายหลังว่าได้รับความเสียหายในหลักเกณฑ์อื่นที่สูงกว่า ให้จ่ายเงิน
ทดแทนเพิ่มเติมต่อไป โดยการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่
รับผิดชอบ
4) การให้ความช่วยเหลือโรงเรียน และโรงพยาบาลที่ได้รับความเสียหาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความ
ช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากเป็นบริการสาธารณะ ทั้งนี้ หากพบว่ามีเครื่องมืออุปกรณ์หรือวัสดุอื่นใดที่ได้รับความเสียหายและต้องใช้เพื่อการ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
5)กรณีการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหาย มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบประสานการสนับสนุนบ้านพักอาศัยกับมูลนิธิไทยคม
6) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และด้านการเกษตรใน
ระยะยาว โดยเฉพาะการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนในแม่น้ำยมโดยให้พิจารณาแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งระบบ
2.10 การตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่านของคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-
สาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(นายอนุชา โมกขะเวส) และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน พร้อมกับมอบนโยบายและ
แนวทางการปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในเรื่องเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่ม ต้องเร่งดำเนินการให้เพียงพอและทั่วถึง และ
ได้กำชับทุกหน่วยงานดำเนินการฟื้นฟูสาธารณูปโภคต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาลที่เสียหาย รวมทั้งการ ฟื้นฟูด้านจิตใจให้แก่ประชาชนที่
ประสบภัยภายหลังน้ำลด โดยประสานความร่วมมือทุกหน่วยงานในการช่วยเหลือประชาชนโดยเร็วที่สุด จากนั้นได้ออกตรวจติดตามการช่วยเหลือ
ประชาชนในพื้นที่ แบ่งชุดตรวจออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายที่ 1 มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ วรากร) ตรวจในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน
สายที่ 2 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตรวจในพื้นที่อำเภอท่าวังผา
สายที่ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-
เกษตรและสหกรณ์ (น.ต.ศิธา ทิวารี) ตรวจในพื้นที่กิ่งอำเภอภูเพียง
สายที่ 4 มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ตรวจในพื้นที่อำเภอเวียงสา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
และสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 19—28 สิงหาคม 2549
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รายงานสรุปผลความก้าวหน้าการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือ 5 จังหวัด และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-28 สิงหาคม 2549 (ข้อมูลถึงวันที่
28 สิงหาคม 2549) ดังนี้
1. สรุปผลความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและดินถล่มภาคเหนือของกระทรวงมหาดไทย (จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม
2549)
1.1 ความก้าวหน้าสร้างบ้านถาวร
บ้านพัง การสร้างบ้าน (หลัง) ราษฎรขอรับเงินชดเชย ความก้าวหน้าในการสร้างบ้าน (หลัง)
ที่ จังหวัด ทั้งหลัง (หลัง) ในที่ดินรัฐ ที่ราษฎรเอง สร้างเอง (หลัง) มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิไทยคม
กำลังสร้าง สร้างเสร็จ กำลังสร้าง สร้างเสร็จ
1 อุตรดิตถ์ 493 238 203 50 22 9 110 20
2 แพร่ 138 112 - 26 - - - 23
3 สุโขทัย 90 90 - - - - - 19
รวมทั้งหมด 721 440 203 76 22 9 110 62
หมายเหตุ
1) ที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ บ้านพังทั้งหลังเสียชีวิตทั้งครอบครัว จำนวน 2 หลัง ไม่มีการสร้างบ้านใหม่
2) มูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.อุตรดิตถ์ ทั้งหมด จำนวน 161 หลัง
และสร้างบ้านให้แก่ราษฎรในที่ดินของตนเองที่ไม่ต้องการอพยพมาอยู่ในพื้นที่รองรับที่ทางราชการจัดให้ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.ลับแล จำนวน
37 หลัง อ.ท่าปลา จำนวน 52 หลัง รวมยอดดำเนินการ 250 หลัง
3) มูลนิธิไทยคม จะดำเนินการสร้างบ้านถาวรให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 350 หลัง สุโขทัย จำนวน
90 หลัง และแพร่ จำนวน 94 หลัง รวมยอดดำเนินการ 534 หลัง
4) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จะสร้างบ้านถาวรที่ อ.เมืองฯ จ.แพร่ จำนวน 18 หลัง
1.2 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย
1.2.1) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(ข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2549 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 105,297,286 บาท แยกได้ดังนี้
- ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 88 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 1,920,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือญาติผู้สูญหาย จำนวน 29 ราย (ครบ 100 % ) เป็นเงิน 810,000 บาท
- ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ 1,107 ราย (ครบ 100 %) เป็นเงิน 2,321,000 บาท
- ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 5,002 ราย (คิดเป็น 100 % ) เป็นเงิน 51,730,121 บาท
- ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 862 ราย เป็นเงิน 2,053,270 บาท
- ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 9,027 ราย เป็นเงิน 5,066,650 บาท
- ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 19,072,053 บาท
- ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 22,324,192 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 67,987,094 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 38,782,142 บาท
สรุปให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 244,530 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 212,066,522 บาท
1.2.2) การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประเภทผู้ประกอบการรายย่อย (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
(1) จังหวัดแพร่ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 291 ราย เป็นเงิน 3,186,605 บาท
(2) จังหวัดสุโขทัย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 806 ราย เป็นเงิน 9,428,775 บาท
(3) จังหวัดอุตรดิตถ์ จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 3,470 ราย เป็นเงิน 42,488,890 บาท
รวมจ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว จำนวน 4,567 ราย ( คิดเป็น 99.21 %) เป็นเงิน 55,104,270 บาท
คงค้างจ่าย จำนวน 36 ราย เนื่องจากไปทำงานนอกพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตามตัวเพื่อจ่ายเงินให้ต่อไป
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำ (ระหว่างวันที่ 19—28 สิงหาคม 2549)
2.1 ระหว่างวันที่ 19 — 21 สิงหาคม 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้มี
ฝนตกหนักมากในพื้นที่ตอนบนของจังหวัดน่าน ปริมาณฝนสูงสุดที่อำเภอทุ่งช้าง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 วัดได้ 259 มม. เกิดน้ำป่าไหลหลาก
ลงสู่แม่น้ำน่าน โดยมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในหลายอำเภอตอนบนของจังหวัดน่าน
2.2 ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน เอ่อล้นตลิ่งท่วมในพื้นที่อำเภอท่าวังผา ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 20 สิงหาคม 2549 สูงประมาณ
2-3 เมตร โดยระดับน้ำสูงสุดที่สถานีบ้านผาขวาง (N.64) อำเภอท่าวังผา
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 เวลา 06.00 น. วัดได้ 14.86 เมตร (ระดับตลิ่ง 10.30 เมตร) สูงกว่าระดับตลิ่ง
4.56 เมตร และปริมาณน้ำดังกล่าวได้ไหลหลากลงมาผ่านอำเภอเมืองฯและกิ่งอำเภอภูเพียง ระดับน้ำสูงสุดที่สถานีวัดน้ำ หน้าสำนักงานป่าไม้
จังหวัด (N.1) อำเภอเมืองน่าน เมื่อเวลา 18.00 น. วัดได้ 8.42 เมตร (ระดับตลิ่ง 7.00 เมตร) เป็นเหตุให้น้ำเข้าท่วมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ
ของเทศบาลเมืองน่าน สูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร และน้ำได้ไหลหลากไปยังอำเภอเวียงสา ระดับน้ำสูงสุดที่สถานีวัดน้ำ(N.13 A) อำเภอ
เวียงสา เมื่อเวลา 12.00 น ของวันที่ 22 สิงหาคม 2549 วัดได้ 10.25 เมตร (ระดับตลิ่ง 8.00 เมตร) เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หลายตำบล
ของอำเภอเวียงสา สูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร
สำหรับจังหวัดเชียงรายมีฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอเชียงแสน แม่สาย และกิ่งอำเภอดอยหลวง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่
บางส่วน และที่จังหวัดสุโขทัยปริมาณน้ำยมที่อำเภอศรีสำโรงและอำเภอเมืองฯเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่บางส่วน
2.3 พื้นที่ประสบภัย รวม 3 จังหวัด 17 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 82 ตำบล 365 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน (13 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอ) เชียงราย (2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ) และสุโขทัย (2 อำเภอ) โดยประสบอุทกภัยรุนแรงที่จังหวัดน่าน ใน 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ
คือ อำเภอท่าวังผา เมืองฯ เวียงสา และกิ่งอำเภอภูเพียง
2.4 ความเสียหายของจังหวัดน่าน
1) มีผู้เสียชีวิต 2 ราย (จังหวัดน่าน คือ นายนพ ปันอิน อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือ อำเภอ
บ่อเกลือ สาเหตุเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด และนายเสาร์ สมอินทร์ อายุ 61 ปี บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 3 ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา )
ราษฎรเดือดร้อน 153,574 คน 44,278 ครัวเรือน อพยพ 30,411 คน บาดเจ็บ 172 คน
2) ด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 16 หลัง บางส่วน 1,070 หลัง ถนน 254 สาย
สะพาน 79 แห่ง ท่อระบายน้ำ 120 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 375 แห่ง พื้นที่การเกษตร 77,309 ไร่ ปศุสัตว์ 4,987 ตัว
สัตว์ปีก 88,695 ตัว วัด 44 แห่ง โรงเรียน 54 แห่ง สถานที่ราชการ 81 แห่ง ยานพาหนะ 411 คัน
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 143,378,478 บาท
4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินเกิดรอยแยกที่อำเภอเชียงกลาง บริเวณบ้านกอกหมู่ที่ 8 ตำบลเชียงกลาง และ
ที่อำเภอทุ่งช้าง บริเวณบ้านน้ำเพาะ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งช้าง ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) อำเภอเชียงกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพราษฎรบ้านกอก จำนวน 38 ครัวเรือน 180 คน ไปไว้ที่
ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (ภูแว) และอำเภอทุ่งช้าง ร่วมกับ อบต.และได้อพยพราษฎรบ้านน้ำเพาะ จำนวน 46 ครัวเรือน 192 คน
ไปไว้ที่อาศรมท้ายหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย
(2) กรมทรัพยากรธรณีได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่รอยแยกเพื่อตรวจวิเคราะห์พื้นที่ดังกล่าวแล้ว
(3) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก นำเต๊นท์
ที่พักชั่วคราว จำนวน 50 หลัง ไปช่วยเหลือราษฎรบ้านน้ำเพาะ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง และที่อำเภอเชียงกลางแล้ว
2.5 สถานการณ์อุทกภัยทั้ง 3 จังหวัดคลี่คลายแล้วตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2549
2.6 การให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้า
(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เขต 9 พิษณุโลก นำเรือท้องแบน จำนวน 15 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร เขต 10 ลำปาง เขต 2 สุพรรณบุรี และเขต 6 ขอนแก่น นำเรือท้องแบน จำนวน 26 ลำ ไปช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัย รวมเรือท้องแบนที่ปฏิบัติงานในการช่วยเหลือ จำนวน 41 ลำ และจัดสร้างเต๊นท์ที่พักชั่วคราวให้แก่ราษฎรบ้านน้ำปั้ว หมู่ 2 ตำบลน้ำปั้ว
ที่บ้านเสียหายทั้งหลัง จำนวน 6 หลัง ที่อำเภอเวียสา
(2) จังหวัดทหารบกน่าน นพค. 31 ตชด.324 ตชด.325 ม.พัน 10,15 อปพร. อาสาสมัคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน
พื้นที่ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(3) กองทัพบก (ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทบ. กองทัพภาคที่ 3 หน่วยทหารในพื้นที่) สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 5 ลำ
และเรือท้องแบน จำนวน 22 ลำ รถบรรทุก จำนวน 62 คัน เจ้าหน้าที่ 706 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และกองบิน 2 จังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุน
เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เรือท้องแบน 5 ลำ
(4) มูลนิธิร่วมกตัญญู สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ เครื่องมือกู้ภัย รถบรรทุก 2 คัน เจ้าหน้าที่ 100 นาย ถุงยังชีพ
1,200 ชุด
(5) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 1 ลำ รถยนต์ 4 คัน เจ้าหน้าที่ 34 นาย ถุงยังชีพ 2,270 ชุด
ข้าวกล่อง 2,270 กล่อง และน้ำดื่ม 2,270 ขวด และตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงประชาชนผู้ประสบภัย ณ เทศบาลเมืองน่าน
(6) กรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง ในการเร่งระบายน้ำ
(7) เหล่ากาชาดจังหวัดน่าน แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 10,000 กล่อง/น้ำดื่ม 10,000 ขวด
(8) เทศบาลเมืองน่าน แจกจ่ายอาหาร ข้าวกล่อง จำนวน 10,000 กล่อง น้ำดื่ม 10,000 ขวด ถุงยังชีพ 500 ชุด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ รถบรรทุก 6 คัน และสนับสนุนอาหารกล่องและน้ำดื่มแจกจ่ายผู้ประสบภัย
สรุปการให้ความช่วยเหลือ
1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจาก 42 หน่วยงาน จำนวน 6,077 คน
2) เรือท้องแบน จำนวน 128 ลำ
3) รถขุด จำนวน 3 คัน/รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถเครน 19 คัน/เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ
4) ถุงยังชีพ 17,000 ชุด ข้าวกล่อง 60,000 กล่อง/น้ำดื่ม 100,000 ขวด
5) ยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุข 17,500 ชุด
6) รถยนต์/รถบรรทุกและรถน้ำ 427 คัน เครื่องจักรกลชุดซ่อมทาง 33 คัน
7) รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
8) กระสอบทราย 5,500 ถุง
9) เครื่องสูบน้ำชลประทาน จำนวน 15 เครื่อง
2.7 การจ่ายเงินทดรองราชการของจังหวัดน่าน (งบ 50 ล้านบาท)
1) ผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย เป็นเงิน 55,000 บาท
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง จำนวน 16 หลัง จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว จำนวน 12 หลัง เป็นเงิน 360,000 บาท
ส่วนอีก 4 หลัง อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายเงิน
3) จัดทำอาหารเลี้ยงแก่ผู้ประสบภัย เป็นเงิน 2,000,000 บาท หากว่าไม่เพียงพออำเภอสามารถขอรับการสนับสนุน
งบประมาณต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
4) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นให้หน่วยงานต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 684,583.27 บาท
5) มอบเงินให้อำเภอยืมเงินทดรองราชการเป็นค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้ประสบภัยและซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลังและ
บางส่วน จำนวน 7,600,000 บาท
6) อำเภอใช้จ่ายเงินทดรองราชการจังหวัดในอำนาจของนายอำเภอ รวม 5,500,000 บาท
2.8 สิ่งของพระราชทาน
1) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2549 หน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเคลื่อนที่ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยการนำของนายโชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์ เลขาธิการและนายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการ ได้นำสิ่งของพระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภค
ไปมอบให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน ที่บ้านดอนมูล อำเภอเมืองน่าน จำนวน 160 ชุด ที่เทศบาลเมืองน่าน จำนวน 400 ชุด บ้านห้วยยื่น
ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จำนวน 340 ชุด และที่อำเภอท่าวังผา จำนวน 100 ชุด และในวันที่ 23 สิงหาคม 2549 มอบสิ่งของพระราชทาน
ที่อำเภอเวียงสา จำนวน 820 ชุด
2) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 พลอากาศเอกสถิตพงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์นำสิ่งของพระราชทานถุงยังชีพมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เพื่อนำไปมอบให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม
จำนวน 2,000 ชุด
3) กองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มอบสิ่งของพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม ดังนี้ มาม่า จำนวน 200 กล่อง มาม่าคัพ จำนวน 200 กล่อง น้ำดื่ม จำนวน 160 แพ็ค
ยาสีพัน-สบู่ จำนวน 40 กล่อง ข้าวสาร จำนวน 16 กระสอบ ยาแก้ไอ-แก้หวัด จำนวน 44 กล่อง เสื้อยืด-เสื้อกล้าม จำนวน 10 กระสอบ
4) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก จัดตั้งโรงทาน จำนวน 2 จุด ที่ อำเภอเมืองน่านตำบลชัยสถาน ณ อบต.ชัยสถาน
และอำเภอเวียงสา ตำบลเวียง ณ วัดวิปัสสนากรรมฐาน จำนวน 2 แห่ง ๆ ละ 8 มื้อ ๆ ละ 600 คน รวมทั้งสิ้น 9,600 คน
5) มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย มอบสิ่งของพระราชทาน ถุงยังชีพ (ถุงธารน้ำใจ) สภากาชาดไทย
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 5,000 ชุด/ เรือท้องแบน 11 ลำ/ เครื่องผลิตน้ำสะอาดสำหรับบริโภค/อุปโภค จำนวน 2 เครื่อง
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอเวียงสา และที่โรงพยาบาลน่าน เพื่อผลิตน้ำดื่มสำหรับบริโภคชั่วโมงละ 8,000 ลิตร รวมทั้งได้จัดเจ้าหน้าที่ จำนวน
30 คน นำโดย พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ไปดำเนินช่วยเหลือผู้ประสบภัยร่วมกับ
นายกเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน กิ่งกาชาดอำเภอท่าวังผา และกิ่งกาชาดอำเภอสองแคว ในวันที่ 22-24 สิงหาคม 2549
6) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โดยร้อยเอกชัยวัฒน์ คนชม ผบ.ร้อย จทบ. อต.
เป็นผู้แทนมอบถุงพระราชทาน จำนวน 680 ชุด
7) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 พระเจ้าหลานเธอสิริภาจุฑาภรณ์ ประทานถุงพระราชทาน จำนวน 5,000 ชุด แก่ราษฎร
ที่ประสบอุทกภัยที่บ้านดอนมูล หมู่ที่ 10 ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และวันที่ 27 สิงหาคม 2549 ได้เสด็จถึงสวนสาธารณะบ้านนาหนุน
ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ได้ประทานสิ่งของพระราชทานให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย
2.9 นโยบายและข้อสั่งการของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้ประชุมมอบนโยบายในการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่านและได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับ
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ นอกเหนือจากงบประมาณปกติที่หน่วยงานได้รับ และมอบหมายให้รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ และความเดือดร้อนในพื้นที่ รวมทั้ง
มอบหมายให้ปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบเงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบในเรื่องการสนับสนุน
งบประมาณกรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยไม่สามารถเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณทางราชการได้
2) ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักอาศัยเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่มี
ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ โดยให้ประสานข้อมูลรายละเอียดกับทางจังหวัดน่าน
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่ และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความ
ช่วยเหลือ ให้กระทรวงเกษตรฯ สำรวจพื้นที่ในเบื้องต้นหากพบว่าพื้นที่ของเกษตรกรรายใดได้รับความเสียหายจริง (เสียหายปกติ) ให้จ่ายเงิน
ช่วยเหลือขั้นต่ำไปก่อน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน และหากตรวจพบภายหลังว่าได้รับความเสียหายในหลักเกณฑ์อื่นที่สูงกว่า ให้จ่ายเงิน
ทดแทนเพิ่มเติมต่อไป โดยการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่
รับผิดชอบ
4) การให้ความช่วยเหลือโรงเรียน และโรงพยาบาลที่ได้รับความเสียหาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความ
ช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากเป็นบริการสาธารณะ ทั้งนี้ หากพบว่ามีเครื่องมืออุปกรณ์หรือวัสดุอื่นใดที่ได้รับความเสียหายและต้องใช้เพื่อการ
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
5)กรณีการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหาย มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) รับผิดชอบประสานการสนับสนุนบ้านพักอาศัยกับมูลนิธิไทยคม
6) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และด้านการเกษตรใน
ระยะยาว โดยเฉพาะการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนในแม่น้ำยมโดยให้พิจารณาแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งระบบ
2.10 การตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่านของคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-
สาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(นายอนุชา โมกขะเวส) และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน พร้อมกับมอบนโยบายและ
แนวทางการปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในเรื่องเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่ม ต้องเร่งดำเนินการให้เพียงพอและทั่วถึง และ
ได้กำชับทุกหน่วยงานดำเนินการฟื้นฟูสาธารณูปโภคต่างๆ โรงเรียน โรงพยาบาลที่เสียหาย รวมทั้งการ ฟื้นฟูด้านจิตใจให้แก่ประชาชนที่
ประสบภัยภายหลังน้ำลด โดยประสานความร่วมมือทุกหน่วยงานในการช่วยเหลือประชาชนโดยเร็วที่สุด จากนั้นได้ออกตรวจติดตามการช่วยเหลือ
ประชาชนในพื้นที่ แบ่งชุดตรวจออกเป็น 4 สาย ดังนี้
สายที่ 1 มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ วรากร) ตรวจในพื้นที่อำเภอเมืองน่าน
สายที่ 2 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตรวจในพื้นที่อำเภอท่าวังผา
สายที่ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-
เกษตรและสหกรณ์ (น.ต.ศิธา ทิวารี) ตรวจในพื้นที่กิ่งอำเภอภูเพียง
สายที่ 4 มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ตรวจในพื้นที่อำเภอเวียงสา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--