สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 4 — 9 พฤศจิกายน 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 11, 2009 15:14 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ระหว่างวันที่ 4 - 9 พฤศจิกายน 2552 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 4 — 9 พฤศจิกายน 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา และจังหวัดปัตตานี รวม 74 อำเภอ 249 ตำบล 5 เทศบาล 605 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 15 ราย (จ.ยะลา อ.บันนังสตา 4 ราย อ.รามัน 1 ราย จ.พัทลุง อ.เมือง 1 ราย อ.ป่าบอน 1 ราย และ จ.นราธิวาส อ.ศรีสาคร 8 ราย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 92,043 คน 22,331 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 4 หลัง เสียหายบางส่วน 390 หลัง ถนน 160 สาย สะพาน 15 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง 347 บ่อ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น อยู่ระหว่างการสำรวจ

1.2 สถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา และจังหวัดปัตตานี ดังนี้

1) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 8 อำเภอ 30 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

(1) อำเภอท่าชนะ จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าชนะ ตำบลสมอทอง ตำบลประสงค์ ตำบลคันธุลี ตำบลคลองพา และตำบลวัง

(2) อำเภอดอนสัก จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลชนคราม และตำบลดอนสัก

(3) อำเภอไชยา จำนวน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากหมาก ตำบลเวียง ตำบลเลม็ด ตำบลตลาดไชยา ตำบลโมถ่าย ตำบลป่าเว ตำบลทุ่ง ตำบลตะกรบ และตำบลพุมเรียง

(4) อำเภอชัยบุรี จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองน้อย ตำบลสองแพรก ตำบลชัยบุรี และตำบลไทรทอง

(5) อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลพลายวาส ตำบลท่าทองใหม่ ตำบลทุ่งกง ตำบลคลองสระ และตำบลตะเคียนทอง

(6) อำเภอวิภาวดี 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลกุกเหนือ (หมู่ที่ 7)

(7) อำเภอท่าฉาง จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาถ่าน ตำบลท่าฉาง และตำบลท่าเคย

(8) อำเภอพุนพิน (อยู่ระหว่างการสำรวจ) ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

2) จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน เมื่อวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2552 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำไหลหลากในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่

(1) อำเภอปากพนัง จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก ตำบลชะเมา ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ตำบลแหลมตะลุมพุก ตำบลท่าพญา ตำบลขนาบนาก และเขตเทศบาลเมืองปากพนัง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29 ครัวเรือน ซึ่งได้อพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย เนื่องจากคลื่นซัดชายฝั่ง ปัจจุบันราษฎรได้กลับเข้าที่พักอาศัยตามเดิมแล้ว

(2) อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอพิปูน อำเภอพระพรหม และอำเภอจุฬาภรณ์ สถานการณ์ปัจจุบันไม่มีฝนตกในพื้นที่ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ ลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรบางพื้นที่

3) จังหวัดชุมพร เกิดคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้เกิดคลื่นซัดชายฝั่งในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่

(1) อำเภอละแม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลละแม (หมู่ที่ 1,3,4,5) และ ตำบลสวนแตง (หมู่ที่ 6-9)

(2) อำเภอสวี ได้แก่ ตำบลด่านสวี (หมู่ที่ 3)

(3) อำเภอหลังสวน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลมะพร้าว (หมู่ที่ 12-14) และตำบลปากน้ำ (หมู่ที่ 4,12) บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 15 หลัง ร้านค้าริมทะเล เรือประมง และเส้นทางสัญจร ได้รับความเสียบางส่วน ความเสียหายอื่นอยู่ระหว่างการสำรวจ สถานการณ์ปัจจุบันไม่มีฝนตกในพื้นที่ แต่ยังคงมีคลื่นลมแรง

4) จังหวัดตรัง เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ อำเภอปะเหลียน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลปะเหลียน (หมู่ที่ 1-4,15) ตำบลบางควน (หมู่ที่ 1-6) และตำบลแหลมสมอ (หมู่ที่ 1-11) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

5) จังหวัดพัทลุง เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำท่วมในที่ลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตร 7 อำเภอ ได้แก่

(1) อำเภอเมือง 13 ตำบล ได้แก่ ตำบลควนมะพร้าว (หมู่ที่ 1-16) ตำบลตำนาน (หมู่ที่ 1-15) ตำบลชัยบุรี (หมู่ที่ 1-13) ตำบลท่าแค (หมู่ที่ 1-12) ตำบลเขาเจียก (หมู่ที่ 1-10) ตำบลนาโหนด (หมู่ที่ 1-11) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ชื่อนายชาญวิทย์ ปานศิริ อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 114/1 หมู่ที่ 3 เสียชีวิตเนื่องจากพลัดจมน้ำ ตำบลลำปำ (หมู่ที่ 1-11) ตำบลท่ามิหรำ (หมู่ที่ 1-10) ตำบลพญาขัน (หมู่ที่ 1-10) ตำบลร่มเมือง (หมู่ที่ 1-9) ตำบลโคกชะงาย (หมู่ที่ 1-9) ตำบลปรางหมู่ (หมู่ที่ 1-9) และตำบลนาท่อม (หมู่ที่ 1-8)

(2) อำเภอป่าบอน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังใหม่ (หมูที่ 1-8) ตำบลหนองธง (หมู่ที่ 1-9) ตำบลป่าบอน (หมู่ที่ 1-11) ตำบลทุ่งนารี (หมู่ที่ 1-9) และตำบลโคกทราย (หมู่ที่ 1,3-13) มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ ด.ช.วราเมธ วรรณมาโส อายุ 1 ปี 2 เดือน บ้านเลขที่ 145 หมู่ที่ 3 ตำบลโคกทราย เนื่องจากพลัดจมน้ำ

(3) อำเภอป่าพะยอม อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากพยูน เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้ทัน

6) จังหวัดสงขลา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใน 5 อำเภอ ได้แก่

(1) อำเภอสะบ้าย้อย 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพอ ตำบลเขาแดง ตำบลบ้านโหนด ตำบลคูหา และตำบลสะบ้าย้อย

(2) อำเภอนาทวี 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองทราย ตำบลฉาง ตำบล นาทวี และตำบลทับช้าง

(3) อำเภอหาดใหญ่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลฉลุง ตำบลทุ่งตำเสา และ ตำบลพะตง น้ำท่วมบริเวณถนนกาญจนวนิช หน้าป้อมหน่วยบริการ สภ.ทุ่งลุง รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้

(4) อำเภอคลองหอยโข่ง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองหอยโข่ง (หมู่ที่ 1-6) และตำบลทุ่งลาน (หมู่ที่ 3,4,8)

(5) อำเภอบางกล่ำ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลครูเต่า เมื่อช่วงคืนวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2552 ประตูระบายน้ำ ก.ร.1 คลอง ก.ร.1 ชำรุด ทำให้น้ำไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ริมคลองของตำบลครูเต่า ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ ปัจจุบันกรมชลประทานได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการซ่อมแซมแล้ว

การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 8 ลำ รถบรรทุก 3 คัน เครื่องสูบน้ำ 1 เครื่อง เต็นท์ที่พักอาศัย 1 หลัง พร้อมเจ้าหน้าที่ชุด ERT 14 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

7) จังหวัดสตูล เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่

(1) อำเภอมะนัง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลนิคมพัฒนา (หมู่ที่ 1-9) และ ตำบลปาล์มพัฒนา (หมู่ที่ 1-10) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 900 คน 250 ครัวเรือน บ้านเรือนเสียหาย 75 หลัง ถนน 20 สาย ฝาย 2 แห่ง

(2) อำเภอละงู 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำผุด (หมู่ที่ 1-10) ตำบลละงู (หมู่ที่ 1-18) ตำบลเขาขาว (หมู่ที่ 1-7) และตำบลกำแพง (หมู่ที่ 1,3-7,10) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,586 คน 2,500 ครัวเรือน ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

(3) อำเภอควนกาหลง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลควนกาหลง (หมู่ที่ 1-11) ตำบลทุ่งน้อย (หมู่ที่ 1-12) และตำบลอุใดเจริญ (หมู่ที่ 1-9) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

8) จังหวัดนราธิวาส เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 13 อำเภอ 68 ตำบล 367 หมู่บ้าน 17 ชุมชน มีผู้เสียชีวิต 8 ราย ได้แก่

(1) อำเภอศรีสาคร เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น. (6 พฤศจิกายน 2552) เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มทับบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 5 ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร บ้านเรือนราษฎรเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง มีผู้เสียชีวิต จำนวน 8 ราย ดังนี้ 1) นายสาและ สาแล อายุ 71 ปี 2) นายอาหะมะ สาแล อายุ 37 ปี 3) นายอับดุลเลาะ สาแล อายุ 42 ปี 4) นายมะนาวี สาแล อายุ 38 ปี 5) นายอิบรอเฮ็ม สาแล อายุ 23 ปี 6) นายอาบ๊ะ สาแล อายุ 22 ปี 7) นางสาการียา สาแล อายุ 24 ปี 8) ด.ช.อิลฮัม สาแล อายุ 2 ปี

(2) อำเภอจะแนะ อำเภอบาเจาะ อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอรือเสาะ อำเภอเมือง อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโก-ลก (เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ) และอำเภอสุไหงปาดี ในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู เกิดน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำโก-ลก ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.

การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเรือท้องแบน จำวน 12 ลำ ถุงยังชีพ 1,060 ชุด ผ้าห่ม 200 ผืน

9) จังหวัดยะลา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 8 อำเภอ 41 ตำบล 139 หมู่บ้าน ดังนี้

(1) อำเภอยะหา 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลตาชี (หมู่ที่ 1,2,5) ตำบลปะแต (หมู่ที่ 1,2,6) ตำบลบาโงยซิแน (หมู่ที่ 1) ตำบลยะหา (หมู่ที่ 1) ตำบลบาโระ (หมู่ที่ 1,5,8) และตำบลละแอ (หมู่ที่ 1,9)

(2) อำเภอกรงปินัง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลกรงปินัง (หมู่ที่ 5) ตำบลห้วยกระทิง (หมู่ที่ 1) และตำบลสะเอะ (หมู่ที่ 1,3,5) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

(3) อำเภอธารโต 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลธารโต (หมู่ที่ 1) ตำบลคีรีเขต (หมู่ที่ 1,4) และตำบลแม่หวาด (หมู่ที่ 6, 7) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

(4) อำเภอเมืองยะลา 5 ตำบล ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าใหม่ ตำบล สะเตงนอก (หมู่ที่ 3) ตำบลท่าสาป (หมู่ที่ 6) ตำบลพร่อน (หมู่ที่ 3) และตำบลบุดี (หมู่ที่ 1,2,7) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

(5) อำเภอรามัน 3 ตำบล ได้แก่ เทศบาลตำบลโกตาบารู มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ชื่อ ด.ช.ฮาลีฟ พริกเอียด อายุ 7 ปี ตำบลวังพญา (หมู่ที่ 2) และตำบลท่าธง ความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ

(6) อำเภอบันนังสตา ได้แก่ ตำบลตลิ่งชัน หมู่ที่ 2 และเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. (6 พฤศจิกายน 2552) เกิดเหตุดินถล่มทับบ้านเรือนราษฎร เลขที่ 111 บ้านตลาดนิคม หมู่ที่ 6 ตำบลตลิ่งชัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1) นายอัศนัย อาคมา อายุ 28 ปี 2) น.ส.พาฝัน ไกรวิลาศ อายุ 29 ปี 3) ด.ช.กรณ์ดนัย อาคมา อายุ 5 ปี และ 4.) ด.ช.คฑาวุธ อาคมา อายุ 3 ปี ซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้นำศพออกจากที่เกิดเหตุได้ทั้งหมดแล้ว

(7) อำเภอกาบัง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบาระ และตำบลกาบัง ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

(8) อำเภอเบตง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะรม และตำบลธารน้ำทิพย์ ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม เพื่อสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด

10) จังหวัดปัตตานี ปริมาณน้ำในเขื่อนบางลางมีปริมาณสูง เขื่อนได้ปล่อยน้ำทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีมีปริมาณสูงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำสองฝั่งแม่น้ำ ในพื้นที่ 8 อำเภอ ดังนี้

(1) อำเภอแม่ลาน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ลาน (หมู่ที่ 2,9) และตำบลม่วงเตี้ย (หมู่ที่ 1-6)

(2) อำเภอไม้แก่น 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนทราย (หมู่ที่ 2,3,4)

(3) อำเภอยะรัง 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาตูม (หมู่ที่ 1,2) ตำบลเมาะมาวี (หมู่ที่ 6) ตำบลคลองใหม่ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลยะรัง และตำบลประจัน (หมู่ที่ 8)

(4) อำเภอกะพ้อ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลกะรุปี (หมู่ที่ 5,6,8) ตำบล ตะโละดือรามัน (หมู่ที่ 1,2,5,6,7,8,9) และตำบลปล่องหอย (หมู่ที่ 4,5,7,8)

(5) อำเภอเมือง 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลบานา (หมู่ที่ 9)

(6) อำเภอหนองจิก อำเภอทุ่งยางแดง และอำเภอสายบุรี ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

1.3 การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน

1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย ดังนี้ เรือท้องแบน จำนวน 28 ลำ รถบรรทุก จำนวน 4 คัน รถเครน จำนวน 1 คัน ถุงยังชีพ จำนวน 1,012 ถุง เจ้าหน้าที่กู้ภัย และชุด ERT จำนวน 60 นาย รถยนต์กู้ภัยเอนกประสงค์ จำนวน 2 คัน

2) การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดที่ประสบภัย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมทั้งได้ระดมเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป

1.4 สิ่งของพระราชทาน

1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทาน ที่จังหวัดนราธิวาส ณ ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก จำนวน 500 ชุด ที่หอประชุมกาญจนาภิเษก อำเภอรือเสาะ จำนวน 500 ชุด เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 และในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 ณ ที่ว่าการอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 1,000 ชุด ที่ว่าการอำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน 1,000 ชุด และที่ว่าการอำเภอเทพา จำนวน 600 ชุด ที่ว่าการอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จำนวน 600 ชุด

2) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ) และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ทรงโปรดให้ นายอภัย จันทนจุลกะ รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์ มอบถุงพระราชทาน จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 ที่ศาลาประชาคม อำเภอลานสกา จำนวน 450 ชุด และที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จำนวน 310 ถุง และถวายแก่พระสงฆ์ 3 ถุง พร้อมตรวจเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัย

1.5 การตรวจเยี่ยมประชาชนและติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2552 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายถาวร เสนเนียม) พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายภาณุ อุทัยรัตน์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา (นายวิรัตน์ กัลยาศิริ) รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์) และคณะ เดินทางไปตรวจสถานการณ์อุทกภัยและเยี่ยมผู้ประสบภัย พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ณ บ้านไอเจี๊ยะ หมู่ที่ 5 ตำบล ซากอ อำเภอศรีสาคร จำนวน 300 ชุด และที่ ที่ว่าการอำเภอศรีสาคร จำนวน 700 ชุด จังหวัดยะลา ณ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จำนวน 500 ชุด

2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2552

2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 8 - 11 พฤศจิกายน 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศอุ่นขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง และคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง สำหรับในช่วงวันที่ 12 - 14 พฤศจิกายน 2552 บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในระยะแรกและอุณหภูมิลดลง 2 - 3 องศา โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน

2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรงอันเกิดจากสภาวะฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม อาจสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตรของประชาชนแล้ว และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ