คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และแนวทางการพัฒนาที่ควรให้ความสำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
การดำเนินงานของ สศช.
1. ในปีงบประมาณ 2549 การดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดำเนินการมาถึงปีสุดท้ายของแผนฯ แล้ว สศช. จึงได้ดำเนินการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545 -2549) ว่ามีผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าของการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการพัฒนาอย่างไร รวมทั้งข้อเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554)
2. การติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ครั้งนี้ ได้ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลจากการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กระทรวงต่าง ๆ จัดส่งให้ สศช. ประกอบการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลด้วย โดยได้ให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
1) การประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม
2) การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3) การประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนา
ผลการพัฒนาในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1. ผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1) การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 บรรลุเป้าหมายในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม
2) คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นจากการขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเพิ่มโอกาสการมีงานทำ และการปราบปรามยาเสพติดที่บรรลุผล
3) การบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยก้าวหน้าขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาระบบราชการ การสร้างธรรมภิบาลภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น
4) การแก้ไขปัญหาความยากจนสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย
2. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การเสริมสร้างระบบการบริหารการจัดการที่ดี
2) การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
3) การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
4) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
6) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
7) การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ผลกระทบการพัฒนา
1) ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยซึ่งอยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ลดลงในปี 2548 และระดับความเข้มแข็งได้ลดลงต่ำกว่าปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย อยู่ในระดับดีตลอดช่วง 4 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3) การพัฒนาที่ยั่งยืนยังคงอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพคนและสิ่งแวดล้อม
4. แนวทางการพัฒนาที่ควรให้ความสำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
1) ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้มีความสมดุล และมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น
2) พัฒนาและส่งเสริมการประหยัดพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้า
3) พัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
4) เสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตครอบครัว
5) ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในคงความสมบูรณ์
6) พัฒนากลไกตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
การดำเนินงานของ สศช.
1. ในปีงบประมาณ 2549 การดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดำเนินการมาถึงปีสุดท้ายของแผนฯ แล้ว สศช. จึงได้ดำเนินการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545 -2549) ว่ามีผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าของการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการพัฒนาอย่างไร รวมทั้งข้อเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศที่ควรให้ความสำคัญในระยะต่อไป เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 — 2554)
2. การติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ครั้งนี้ ได้ประมวลและสังเคราะห์ข้อมูลจากการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กระทรวงต่าง ๆ จัดส่งให้ สศช. ประกอบการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลด้วย โดยได้ให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
1) การประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม
2) การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3) การประเมินผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนา
ผลการพัฒนาในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1. ผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1) การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 บรรลุเป้าหมายในด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม
2) คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นจากการขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเพิ่มโอกาสการมีงานทำ และการปราบปรามยาเสพติดที่บรรลุผล
3) การบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยก้าวหน้าขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาระบบราชการ การสร้างธรรมภิบาลภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น
4) การแก้ไขปัญหาความยากจนสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย
2. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การเสริมสร้างระบบการบริหารการจัดการที่ดี
2) การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
3) การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
4) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
6) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
7) การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ผลกระทบการพัฒนา
1) ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยซึ่งอยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ลดลงในปี 2548 และระดับความเข้มแข็งได้ลดลงต่ำกว่าปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย อยู่ในระดับดีตลอดช่วง 4 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3) การพัฒนาที่ยั่งยืนยังคงอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพคนและสิ่งแวดล้อม
4. แนวทางการพัฒนาที่ควรให้ความสำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
1) ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้มีความสมดุล และมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น
2) พัฒนาและส่งเสริมการประหยัดพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้า
3) พัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน
4) เสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตครอบครัว
5) ฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในคงความสมบูรณ์
6) พัฒนากลไกตรวจสอบความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--