คณะรัฐมนตรีรับทราบประกาศ เรื่อง การให้ประกาศและคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังคงมีผลใช้บังคับ และเห็นชอบประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา และประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยังมีผลใช้บังคับ ตามมติของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2549 ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังมีการขยายระยะเวลาประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา และผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ภายหลังมีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ ร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งแรก
เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งแรกกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ได้ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจถึง แนวทางในการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดกับเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของ พระราชกำหนด เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจจนเกินส่วนและประชาชนเกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์ รวมทั้งการวางกำลังในการปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพ ต่อมาเมื่อได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในครั้งแรก กอ.สสส.จชต.ได้นำมาตรการต่าง ๆ ตามพระราชกำหนดมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการในเชิงรุกทั้งงานด้านการข่าว การสืบสวนสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน ดังนี้
1.1 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดในการปิดล้อมและตรวจค้นกลุ่มผู้ต้องสงสัย โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ 8 อำเภอ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ได้แก่ อำเภอรามัน และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา อำเภอยะหริ่ง อำเภอยะรัง และอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยผลการปฏิบัติงานในห้วงเดือนสิงหาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมตัวและควบคุมตัวกลุ่มแกนนำผู้ก่อความไม่สงบได้จำนวน 53 คน รวมทั้งสามารถรวบรวมหลักฐานที่เกิดจากการก่อความไม่สงบได้อีกจำนวนมาก
1.2 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดในการออกหมายจับและหมายเรียก การดำเนินการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติการต่อกลุ่มเป้หมายที่เป็นแกนนำหรือกลุ่มปฏิบัติการ เพื่อนำออกจากพื้นที่เป้าหมายจากนั้นจึงจัดตั้งผู้นำชุมชนขึ้นใหม่และนำการพัฒนาเข้าพื้นที่อันเป็นยุทธศาสตร์ในการสลายกลุ่มแกนนำผู้ก่อความไม่สงบ ผลการปฏิบัติการจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้จำนวน 163 คน มีผู้มารายงานตัวเพื่อเข้าร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จำนวน 423 คน โดยเจ้าหน้าที่ได้นำคนกลุ่มดังกล่าวบางส่วนเข้ารับการฝึกอบรมในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขก่อนส่งกลับภูมิลำเนาของตนและปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามพฤติกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 111 คน และยังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข จำนวนรวมทั้งสิ้น 52 คน
1.3 การสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดและ การทำความเข้าใจกับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ กอ.สสส.จชต. ได้ให้ความสำคัญกับการชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงการปฏิบัติงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดอย่างถูกต้อง โดยได้พัฒนาคู่มือการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้มีประสิทธิภาพด้วยการประสานงานกับหัวหน้าศาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้นำมาปรับหลักเกณฑ์การขอใช้อำนาจจากศาลตามพระราชกำหนดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มีการจัดทำกฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement) ของเจ้าหน้าที่เพื่อยกระดับวิธีปฏิบัติในการใช้กำลังให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติรับรอง นอกจากนี้ กอ.สสส.จชต. ยังให้ความสำคัญกับการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงขั้นตอนการใช้อำนาจพระราชกำหนดของเจ้าหน้าที่ และประโยชน์ที่ได้รับจาก การนำพระราชกำหนดมาบังคับใช้ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและป้องกันการแสวงประโยชน์จากฝ่ายผู้ไม่หวังดีที่นำพระราชกำหนดไปขยายผลอย่างไม่ถูกต้องอีกด้วย
2. ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอาศัยอำนาจของพระราชกำหนด การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นการสร้างความคล่องตัวให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในทุกด้านอย่างเป็นเอกภาพ และมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่เป็นระดับแกนนำและผู้ปฏิบัติการหรือกองกำลังเริ่มหยุดการปฏิบัติการ เนื่องจากเกรงกลัวว่าฝ่ายราชการจะเปิดเผยพฤติกรรมและตนจะได้รับการกดดันจากพระราชกำหนด นอกจากนี้การที่เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นยังส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความมั่นใจในอำนาจของภาครัฐและหันมาให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งยังส่งผลให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนที่ถูกหลอกลวงหรือถูกบีบบังคับให้เข้าร่วมปฏิบัติการทยอยเข้ามอบตัวและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่อีกด้วย
3. การประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ที่ผ่านมา สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในแนวทางที่ภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่ายังมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็น ผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ประกอบกับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ยังมีผลแต่เพียงบางพื้นที่แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด และที่ผ่านมาการจับกุมตัวผู้ก่อความไม่สงบยังไม่สามารถดำเนินการกับแกนนำของกระบวนการได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกดดันฝ่ายผู้ไม่หวังดีและเอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะฝ่ายทหาร ซึ่งต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดในการปฏิบัติภารกิจภายหลังมีการยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและสามารถขยายผลการปฏิบัติงานได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2549 ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังมีการขยายระยะเวลาประกาศสถาณการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา และผลการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ภายหลังมีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความ ร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งแรก
เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งแรกกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ได้ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจถึง แนวทางในการปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดกับเจ้าหน้าที่และประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของ พระราชกำหนด เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจจนเกินส่วนและประชาชนเกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์ รวมทั้งการวางกำลังในการปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพ ต่อมาเมื่อได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในครั้งแรก กอ.สสส.จชต.ได้นำมาตรการต่าง ๆ ตามพระราชกำหนดมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจ โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการในเชิงรุกทั้งงานด้านการข่าว การสืบสวนสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน ดังนี้
1.1 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดในการปิดล้อมและตรวจค้นกลุ่มผู้ต้องสงสัย โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ 8 อำเภอ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ได้แก่ อำเภอรามัน และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา อำเภอยะหริ่ง อำเภอยะรัง และอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยผลการปฏิบัติงานในห้วงเดือนสิงหาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมตัวและควบคุมตัวกลุ่มแกนนำผู้ก่อความไม่สงบได้จำนวน 53 คน รวมทั้งสามารถรวบรวมหลักฐานที่เกิดจากการก่อความไม่สงบได้อีกจำนวนมาก
1.2 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดในการออกหมายจับและหมายเรียก การดำเนินการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติการต่อกลุ่มเป้หมายที่เป็นแกนนำหรือกลุ่มปฏิบัติการ เพื่อนำออกจากพื้นที่เป้าหมายจากนั้นจึงจัดตั้งผู้นำชุมชนขึ้นใหม่และนำการพัฒนาเข้าพื้นที่อันเป็นยุทธศาสตร์ในการสลายกลุ่มแกนนำผู้ก่อความไม่สงบ ผลการปฏิบัติการจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้จำนวน 163 คน มีผู้มารายงานตัวเพื่อเข้าร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จำนวน 423 คน โดยเจ้าหน้าที่ได้นำคนกลุ่มดังกล่าวบางส่วนเข้ารับการฝึกอบรมในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุขก่อนส่งกลับภูมิลำเนาของตนและปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตามพฤติกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 111 คน และยังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข จำนวนรวมทั้งสิ้น 52 คน
1.3 การสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดและ การทำความเข้าใจกับประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ กอ.สสส.จชต. ได้ให้ความสำคัญกับการชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงการปฏิบัติงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดอย่างถูกต้อง โดยได้พัฒนาคู่มือการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้มีประสิทธิภาพด้วยการประสานงานกับหัวหน้าศาลในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้นำมาปรับหลักเกณฑ์การขอใช้อำนาจจากศาลตามพระราชกำหนดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มีการจัดทำกฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement) ของเจ้าหน้าที่เพื่อยกระดับวิธีปฏิบัติในการใช้กำลังให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่องค์การสหประชาชาติรับรอง นอกจากนี้ กอ.สสส.จชต. ยังให้ความสำคัญกับการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงขั้นตอนการใช้อำนาจพระราชกำหนดของเจ้าหน้าที่ และประโยชน์ที่ได้รับจาก การนำพระราชกำหนดมาบังคับใช้ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันจะเป็นการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและป้องกันการแสวงประโยชน์จากฝ่ายผู้ไม่หวังดีที่นำพระราชกำหนดไปขยายผลอย่างไม่ถูกต้องอีกด้วย
2. ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยอาศัยอำนาจของพระราชกำหนด การใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นการสร้างความคล่องตัวให้กับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในทุกด้านอย่างเป็นเอกภาพ และมีกฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่เป็นระดับแกนนำและผู้ปฏิบัติการหรือกองกำลังเริ่มหยุดการปฏิบัติการ เนื่องจากเกรงกลัวว่าฝ่ายราชการจะเปิดเผยพฤติกรรมและตนจะได้รับการกดดันจากพระราชกำหนด นอกจากนี้การที่เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นยังส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความมั่นใจในอำนาจของภาครัฐและหันมาให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งยังส่งผลให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนที่ถูกหลอกลวงหรือถูกบีบบังคับให้เข้าร่วมปฏิบัติการทยอยเข้ามอบตัวและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่อีกด้วย
3. การประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ที่ผ่านมา สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในแนวทางที่ภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่ายังมีการก่อเหตุการณ์ร้ายแรงเพื่อสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็น ผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังมีศักยภาพในการปฏิบัติการ และยังมีความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเพื่อทำร้ายเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเกรงกลัวอันเป็นการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยของประชาชนจนไม่อาจดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ประกอบกับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ยังมีผลแต่เพียงบางพื้นที่แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด และที่ผ่านมาการจับกุมตัวผู้ก่อความไม่สงบยังไม่สามารถดำเนินการกับแกนนำของกระบวนการได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกดดันฝ่ายผู้ไม่หวังดีและเอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะฝ่ายทหาร ซึ่งต้องอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดในการปฏิบัติภารกิจภายหลังมีการยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและสามารถขยายผลการปฏิบัติงานได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--