คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการเพื่อให้โครงการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้แก้ไขวิกฤตน้ำขาดแคลนในภาค อุตสาหกรรมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกดำเนินการได้ทันตามกำหนดเวลา ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอดังนี้
1. การดำเนินการพัฒนาบ่อน้ำบาดาล ในระยะที่ 2 และ 3 ให้ได้ปริมาณน้ำตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน วันละ 180,000 ลูกบาศก์เมตร ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเปลี่ยนแผนงานการดำเนินการจากการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอน เป็นการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวตั้งเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามแผนงานดังกล่าว และทันตามระยะเวลาที่กำหนด โดยการปรับลดจำนวนการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนลง
2. การดำเนินการตามข้อ 1. ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว จำนวน 428 ล้านบาท (สี่ร้อยยี่สิบแปดล้านบาทถ้วน) ในโครงการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้แก้ไขวิกฤตน้ำขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
3. สำหรับบ่อน้ำบาดาลที่ได้ดำเนินการเสร็จแล้วและสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ โดยให้ทางจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรีเป็นเจ้าของเรื่องประสานกับบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการประสานท่อประปา เพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้
4. ให้จังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรีประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนทราบด้วย
สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ทำการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอน ซึ่งมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน คือ การเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนใช้เวลานาน และจากการสำรวจข้อมูลทางธรณีวิทยาบริเวณชายทะเลจังหวัดระยอง พบว่า ศักยภาพของน้ำบาดาลในระดับตื้นสูบน้ำได้น้อย และการหาพื้นที่ที่จะดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนหายาก เนื่องมาจากสาเหตุการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลในแนวนอน จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากพอสมควรและที่ดินบริเวณชายทะเลมีราคาแพง ทำให้เจ้าของที่ดินไม่ยอมให้ใช้พื้นที่ ส่วนการเจาะบ่อน้ำบาดาลในแนวตั้ง เมื่อได้สำรวจศักยภาพน้ำบาดาลแล้ว พบว่าในชั้นใต้ดินที่ความลึกประมาณ 300 เมตร พบแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่มีศักยภาพการให้น้ำปริมาณมาก สามารถสูบน้ำได้มากถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
1. การดำเนินการพัฒนาบ่อน้ำบาดาล ในระยะที่ 2 และ 3 ให้ได้ปริมาณน้ำตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน วันละ 180,000 ลูกบาศก์เมตร ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเปลี่ยนแผนงานการดำเนินการจากการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอน เป็นการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวตั้งเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามแผนงานดังกล่าว และทันตามระยะเวลาที่กำหนด โดยการปรับลดจำนวนการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนลง
2. การดำเนินการตามข้อ 1. ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว จำนวน 428 ล้านบาท (สี่ร้อยยี่สิบแปดล้านบาทถ้วน) ในโครงการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้แก้ไขวิกฤตน้ำขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
3. สำหรับบ่อน้ำบาดาลที่ได้ดำเนินการเสร็จแล้วและสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ โดยให้ทางจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรีเป็นเจ้าของเรื่องประสานกับบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค การนิคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการประสานท่อประปา เพื่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้
4. ให้จังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรีประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนทราบด้วย
สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ทำการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอน ซึ่งมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน คือ การเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนใช้เวลานาน และจากการสำรวจข้อมูลทางธรณีวิทยาบริเวณชายทะเลจังหวัดระยอง พบว่า ศักยภาพของน้ำบาดาลในระดับตื้นสูบน้ำได้น้อย และการหาพื้นที่ที่จะดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลแนวนอนหายาก เนื่องมาจากสาเหตุการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลในแนวนอน จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากพอสมควรและที่ดินบริเวณชายทะเลมีราคาแพง ทำให้เจ้าของที่ดินไม่ยอมให้ใช้พื้นที่ ส่วนการเจาะบ่อน้ำบาดาลในแนวตั้ง เมื่อได้สำรวจศักยภาพน้ำบาดาลแล้ว พบว่าในชั้นใต้ดินที่ความลึกประมาณ 300 เมตร พบแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่มีศักยภาพการให้น้ำปริมาณมาก สามารถสูบน้ำได้มากถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--