เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวก
ในการขนส่งข้ามพรมแดนภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (THE GMS Agreement)) และร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982)
รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (THE GMS Agreement)) และร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982) รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (THE GMS Agreement))
1.1 กำหนดความหมายของ “ศุลกสถาน” “เขตศุลกากร” “พื้นที่ควบคุมร่วมกัน” และ “เขตพื้นที่ควบคุมร่วมกัน”
1.2 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าใช้เขตอำนาจเหนือความผิดที่ได้กระทำในเขตพื้นที่ควบคุมร่วมกัน
2. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982)
2.1 อำนาจทางศุลกากรในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ กำหนดความหมายของ “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” “นำเข้าสำเร็จ” “ส่งออกสำเร็จ” กำหนดให้ “พระราชอาณาจักรสยาม” “พระราชอาณาเขต” “ราชอาณาจักร” ให้หมายความรวมถึง “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” กำหนดอำนาจของศุลกากรเหนือเกาะเทียมสิ่งติดตั้งและสิ่งก่อสร้าง เพื่อความมุ่งประสงค์ในการสำรวจ
2.2 อำนาจทางศุลกากรในเขตไหล่ทวีป กำหนดความหมายของ “เขตไหล่ทวีป”
2.3 อำนาจทางศุลกากรในเขตทะเลหลวง กำหนดความหมายของ “เขตทะเลหลวง” กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการใช้สิทธิไล่ตามติดพัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 --จบ--