คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูเพาะปลูก ปี 2549 ด้านการเกษตร ดังนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย และได้รับรายงานจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ว่ามีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุดรธานี จันทบุรี ตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง และสตูล เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 7,422 ราย พื้นที่ 56,923 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 8,911 ตัว และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 1,600 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 2,210 ไร่ และ 398 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 4,624 ตารางเมตร ประกอบกับบางพื้นที่ในจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ประสบสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 136,478 ไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ ได้สรุป สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549
1.1 สถานการณ์น้ำท่วม เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จำนวน 11 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุดรธานี จันทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงมีสถานการณ์ 1 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
- อ.ประจันตคาม มีน้ำท่วมขังใน ต.บุฝ้าย (หมู่ที่ 2,4,13) ต.หนองแก้ว (หมู่ที่ 1,2,8) ต.โพธิ์งาม (หมู่ที่ 7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร
- อ.กบินทร์บุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ต.กบินทร์บุรี บริเวณถนนเทศบาล 1 (ตลาดเก่า) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร
- อ.เมือง มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ต.โคกไม้ลาย ระดับน้ำสูง.ประมาณ 0.60-0.80 เมตร
1.2 สภาพน้ำท่า
แม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับน้ำหน้าเขื่อน +16.00 ม.(รทก.) โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 727 ลบ.ม./วินาที
แม่น้ำโขง สภาพน้ำท่าในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำชี สภาพน้ำท่าในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย ที่สถานีบ้านค่าย (E.23) อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.70 เมตร มีแนวโน้มลดลง
แม่น้ำมูล สภาพน้ำท่าในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย ที่สะพานเสรีประชาธิปไตย (M.7) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.57 เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเพชรบุรี ที่สถานีบ้านสองพี่น้อง(B.3A) บริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน มีระดับน้ำ 3.07 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.33 เมตร ที่เขื่อนเพชร มีระดับน้ำเหนือเขื่อน +18.89 ม.รนท. ปัจจุบันมีการระบาย 138.4 ลบ.ม./วินาที (หากปริมาณน้ำเกิน 140 ลบ.ม./วินาที จะล้นตลิ่งฝั่งซ้ายบริเวณห้วยตาแกละ บ้านบ่อตะกั่ว อ.ท่ายาง) ที่ตัวเมืองเพชรบุรี ระดับน้ำบริเวณเทศบาลเมืองเพชรบุรี +5.61 ม. ต่ำว่าตลิ่ง 0.17 เมตร ระดับน้ำทรงตัว ประกอบกับในระยะนี้เป็นช่วงที่มีน้ำทะเลหนุน
แม่น้ำปราจีนบุรี ที่สถานี Kgt.3 บ้านกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ระดับน้ำอยู่ที่ +9.68 ม.(รทก.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.10 เมตร แนวโน้มระดับน้ำสูงขึ้น กรมชลประทานได้ประสานกับทางจังหวัดแจ้งเตือนประชาชนริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรีแล้ว
แม่น้ำตาปี ที่สถานี X.37A บ้านย่านดินแดง อ.พระแสง ระดับน้ำอยู่ที่ +10.39 ม.(รทก.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.37 ม. แนวโน้มสถานการณ์ระดับน้ำลดลง
1.3 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 46,907 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2548 (34,614 ล้านลบ.ม.) ร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน
จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2549 เป็นต้นมา ทำให้ปัจจุบัน (24 ก.ค.49) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นมาก เต็มความจุอ่างได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน 724.04 ล้าน ลบ.ม.(101%) ได้มีการระบายน้ำรวมทั้งหมด จำนวน 121.86 ลบ.ม./วินาที (ปริมาณน้ำล้น spillway สูง 0.31 เมตร จำนวน 17.86 ลบ.ม./วินาที) เขื่อนปราณบุรี 413 ล้าน ลบ.ม.(93%) เขื่อนหนองปลาไหล 149 ล้าน ลบ.ม.(91%) เขื่อนดอกกราย 64 ล้าน ลบ.ม.(90%) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้พร่องน้ำในอ่างฯ เพื่อรองรับปริมาณฝน จำนวน 3 แห่ง คือ เขื่อนแม่งัด เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนลำนางรอง
2. ผลกระทบด้านการเกษตร ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2549
2.1 อุทกภัย ช่วงภัยระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึง 17 กรกฎาคม 2549
ด้านพืช ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เกษตรกร 7,422 ราย พื้นที่การเกษตร 56,923 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 37,270 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 9,365 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,827 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 26,078 ไร่
ด้านประมง ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุดรธานี ตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เกษตรกร 1,466 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,600 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 2,201 ไร่ และ 398 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 4,624 ตารางเมตร
ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตราด ประจวบคีรีขันธ์ และสตูล เกษตรกร 931 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 8,911 ตัว สัตว์ตาย/สูญหาย 561 ตัว
2.2 ฝนทิ้งช่วง ช่วงภัยระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 4 กรกฎาคม 2549
ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 4 จังหวัด คือ จังหวัดพะเยา พิษณุโลก อุบลราชธานี และสระแก้ว เกษตรกร 9,527 ราย พื้นที่ประสบภัย 136,478 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 65,679 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 62,458 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,697 ไร่ มันสำปะหลัง 524 ไร่
3. การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
3.1 กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1200 เครื่อง แยกเป็น สำหรับแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จำนวน 657 เครื่อง สำหรับช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝน จำนวน 543 เครื่อง และ รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน
โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือไว้ช่วยเหลือ ดังนี้ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 657 เครื่อง รถนาค 28 คัน เรือนาค 12 ลำ เครื่องผลักดันน้ำ 110 เครื่อง รถขุด 102 คัน เรือขุด 9 ลำ รถแทรกเตอร์ 28 คัน และ รถบรรทุก 70 คัน
ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศรวม 164 เครื่อง แยกเป็นในพื้นที่เขตชลประทาน 51 เครื่อง และ พื้นที่นอกเขตชลประทาน 113 เครื่อง
3.2 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 หน่วย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ระยอง สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์(อ.หัวหิน) และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก นครสวรรค์ และอุดรธานี เพื่อบรรเทาพื้นที่การเกษตรที่ประสบสภาวะฝนทิ้งช่วง โดยช่วงวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2549 ขึ้นปฏิบัติการรวม 112 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่จังหวัด จำนวน 42 จังหวัด และมีปริมาณน้ำไหลงลงอ่างเป้าหมาย 11 อ่าง จำนวน 78.84 ล้านลบ.ม. โดยมีแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงวันที่ 21 -27 กรกฎาคม 2549 ดังนี้
หน่วยปฏิบัติจังหวัด แผนปฏิบัติงาน
เชียงใหม่ 1. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน
ลำปาง ตาก และน่าน(ตอนบน)
2. เพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่เป้าหมาย
ลพบุรี 1. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท
นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี
2. เพิ่มปริมาณให้น้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี
อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง อ่างเก็บน้ำห้วยสีดา
อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อ่างเก็บน้ำห้วยซับประดู่ อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่
อ่างเก็บน้ำกุดตาเพชร จังหวัดลพบุรี
ขอนแก่น เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ(ตอนบน)
ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ อุดรธานี และเลย
นครราชสีมา เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
อุบลราชธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ
ระยอง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง
สระแก้ว เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบริเวณพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
หัวหิน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี
ประจวบคีรีขันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549
1.1 สถานการณ์น้ำท่วม เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จำนวน 11 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุดรธานี จันทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงมีสถานการณ์ 1 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
- อ.ประจันตคาม มีน้ำท่วมขังใน ต.บุฝ้าย (หมู่ที่ 2,4,13) ต.หนองแก้ว (หมู่ที่ 1,2,8) ต.โพธิ์งาม (หมู่ที่ 7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร
- อ.กบินทร์บุรี ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ต.กบินทร์บุรี บริเวณถนนเทศบาล 1 (ตลาดเก่า) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 เมตร
- อ.เมือง มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร ต.โคกไม้ลาย ระดับน้ำสูง.ประมาณ 0.60-0.80 เมตร
1.2 สภาพน้ำท่า
แม่น้ำเจ้าพระยา มีระดับน้ำหน้าเขื่อน +16.00 ม.(รทก.) โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 727 ลบ.ม./วินาที
แม่น้ำโขง สภาพน้ำท่าในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำชี สภาพน้ำท่าในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย ที่สถานีบ้านค่าย (E.23) อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.70 เมตร มีแนวโน้มลดลง
แม่น้ำมูล สภาพน้ำท่าในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้อย ที่สะพานเสรีประชาธิปไตย (M.7) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.57 เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเพชรบุรี ที่สถานีบ้านสองพี่น้อง(B.3A) บริเวณท้ายเขื่อนแก่งกระจาน มีระดับน้ำ 3.07 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.33 เมตร ที่เขื่อนเพชร มีระดับน้ำเหนือเขื่อน +18.89 ม.รนท. ปัจจุบันมีการระบาย 138.4 ลบ.ม./วินาที (หากปริมาณน้ำเกิน 140 ลบ.ม./วินาที จะล้นตลิ่งฝั่งซ้ายบริเวณห้วยตาแกละ บ้านบ่อตะกั่ว อ.ท่ายาง) ที่ตัวเมืองเพชรบุรี ระดับน้ำบริเวณเทศบาลเมืองเพชรบุรี +5.61 ม. ต่ำว่าตลิ่ง 0.17 เมตร ระดับน้ำทรงตัว ประกอบกับในระยะนี้เป็นช่วงที่มีน้ำทะเลหนุน
แม่น้ำปราจีนบุรี ที่สถานี Kgt.3 บ้านกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ระดับน้ำอยู่ที่ +9.68 ม.(รทก.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.10 เมตร แนวโน้มระดับน้ำสูงขึ้น กรมชลประทานได้ประสานกับทางจังหวัดแจ้งเตือนประชาชนริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรีแล้ว
แม่น้ำตาปี ที่สถานี X.37A บ้านย่านดินแดง อ.พระแสง ระดับน้ำอยู่ที่ +10.39 ม.(รทก.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.37 ม. แนวโน้มสถานการณ์ระดับน้ำลดลง
1.3 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 46,907 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2548 (34,614 ล้านลบ.ม.) ร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน
จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2549 เป็นต้นมา ทำให้ปัจจุบัน (24 ก.ค.49) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นมาก เต็มความจุอ่างได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน 724.04 ล้าน ลบ.ม.(101%) ได้มีการระบายน้ำรวมทั้งหมด จำนวน 121.86 ลบ.ม./วินาที (ปริมาณน้ำล้น spillway สูง 0.31 เมตร จำนวน 17.86 ลบ.ม./วินาที) เขื่อนปราณบุรี 413 ล้าน ลบ.ม.(93%) เขื่อนหนองปลาไหล 149 ล้าน ลบ.ม.(91%) เขื่อนดอกกราย 64 ล้าน ลบ.ม.(90%) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้พร่องน้ำในอ่างฯ เพื่อรองรับปริมาณฝน จำนวน 3 แห่ง คือ เขื่อนแม่งัด เขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนลำนางรอง
2. ผลกระทบด้านการเกษตร ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2549
2.1 อุทกภัย ช่วงภัยระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึง 17 กรกฎาคม 2549
ด้านพืช ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี ตราด ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี เกษตรกร 7,422 ราย พื้นที่การเกษตร 56,923 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 37,270 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 9,365 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,827 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 26,078 ไร่
ด้านประมง ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุดรธานี ตราด ชลบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร เกษตรกร 1,466 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,600 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 2,201 ไร่ และ 398 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 4,624 ตารางเมตร
ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตราด ประจวบคีรีขันธ์ และสตูล เกษตรกร 931 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 8,911 ตัว สัตว์ตาย/สูญหาย 561 ตัว
2.2 ฝนทิ้งช่วง ช่วงภัยระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 4 กรกฎาคม 2549
ด้านพืช ได้รับผลกระทบ 4 จังหวัด คือ จังหวัดพะเยา พิษณุโลก อุบลราชธานี และสระแก้ว เกษตรกร 9,527 ราย พื้นที่ประสบภัย 136,478 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 65,679 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 62,458 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,697 ไร่ มันสำปะหลัง 524 ไร่
3. การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
3.1 กรมชลประทานได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือในฤดูฝน 2549 ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ จำนวน 1200 เครื่อง แยกเป็น สำหรับแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จำนวน 657 เครื่อง สำหรับช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูฝน จำนวน 543 เครื่อง และ รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน
โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ได้จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือไว้ช่วยเหลือ ดังนี้ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 657 เครื่อง รถนาค 28 คัน เรือนาค 12 ลำ เครื่องผลักดันน้ำ 110 เครื่อง รถขุด 102 คัน เรือขุด 9 ลำ รถแทรกเตอร์ 28 คัน และ รถบรรทุก 70 คัน
ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศรวม 164 เครื่อง แยกเป็นในพื้นที่เขตชลประทาน 51 เครื่อง และ พื้นที่นอกเขตชลประทาน 113 เครื่อง
3.2 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 8 หน่วย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลพบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ระยอง สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์(อ.หัวหิน) และ 3 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดตาก นครสวรรค์ และอุดรธานี เพื่อบรรเทาพื้นที่การเกษตรที่ประสบสภาวะฝนทิ้งช่วง โดยช่วงวันที่ 14-20 กรกฎาคม 2549 ขึ้นปฏิบัติการรวม 112 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่จังหวัด จำนวน 42 จังหวัด และมีปริมาณน้ำไหลงลงอ่างเป้าหมาย 11 อ่าง จำนวน 78.84 ล้านลบ.ม. โดยมีแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงวันที่ 21 -27 กรกฎาคม 2549 ดังนี้
หน่วยปฏิบัติจังหวัด แผนปฏิบัติงาน
เชียงใหม่ 1. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน
ลำปาง ตาก และน่าน(ตอนบน)
2. เพิ่มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่เป้าหมาย
ลพบุรี 1. เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท
นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี
2. เพิ่มปริมาณให้น้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี
อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง อ่างเก็บน้ำห้วยสีดา
อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อ่างเก็บน้ำห้วยซับประดู่ อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่
อ่างเก็บน้ำกุดตาเพชร จังหวัดลพบุรี
ขอนแก่น เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ(ตอนบน)
ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ อุดรธานี และเลย
นครราชสีมา เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์
อุบลราชธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ
ระยอง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง
สระแก้ว เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร และเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำบริเวณพื้นที่จังหวัดสระแก้ว
ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
หัวหิน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี
ประจวบคีรีขันธ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--