คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค” รอบ 3 เดือน ปีงบประมาณ 2549 (1 ต.ค. — 31 ธ.ค. 48) สรุปได้ดังนี้
การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีงบประมาณ 2549 ด้านความครอบคุลมการมีหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการให้ประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันสามารถครอบคลุมประชาชนกว่า 60.61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.32 ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในปี 2549 (ร้อยละ 97.5) นั้น พบว่าต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.18
หน่วยบริการคู่สัญญาปี 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,114 แห่ง แยกเป็นหน่วยบริการสังกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของภาครัฐ/เอกชนจำนวน 961 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นกว่า 183 แห่ง นอกจากนั้น ยังมีหน่วยบริการรับส่งต่อในระดับตติยภูมิในการบริการรับส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคหัวใจ และอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินกว่า 78 ศูนย์ เข้าร่วมให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยมีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น
ด้านการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการนั้น มีการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2548 โดยได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขโดยให้สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) เร่งการพัฒนาและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลให้ผ่านเกณฑ์ HA เพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินการในกิจกรรมหลักด้านต่างๆ ดังนี้
1) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลในจังหวัด จำนวน 31 จังหวัด
2) เยี่ยมสำรวจและประเมินคุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพในขั้นที่ 1 (การจัดระบบเพื่อป้องกันความเสี่ยง) จำนวน 51 แห่ง
3) เยี่ยมสำรวจและประเมินคุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในขั้นที่ 2 (การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง) จำนวน 22 แห่ง
นอกจากนี้ งานด้านคุณภาพของปี 2549 ยังมีโครงการอื่นๆ ที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการให้ดียิ่งขึ้น อาทิ “โครงการพัฒนาข้อเสนอกลไกการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” โดยสปสช.ได้จัดจ้างมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติเพื่อพัฒนาข้อเสนอกลไกการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งเป็นแผนแม่บทการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพื่อการรับรองเป็นหลัก เน้นการประเมินผลลัพธ์ การประเมินต้องเป็นการประเมินทั้งระบบ โดยแนวทางการพัฒนาต้องคำนึงถึงบริบทและความแตกต่างของพื้นที่ ซึ่งแผนแม่บทการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ใช้เวลา 6 ปี โดยแบ่งช่วงเป็น 3 ระยะในการพัฒนา และ“การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ” มีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านคุณภาพเพื่อการรองรับการดำเนินงานด้านการติดตาม กำกับมาตรฐานหน่วยบริการและการบริการ ได้แก่ ระบบทะเบียนฐานข้อมูลหน่วยบริการ การตรวจหน่วยบริการเพื่อการขึ้นทะเบียน ให้รองรับการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการเฉพาะด้านในโครงการ Disease Management การจัดทำกรอบการวิเคราะห์สารสนเทศ ด้านคุณภาพ และการจัดระบบการจัดการข้อมูล เพื่อสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพบริการ (Clinical Audit) และสรุปเป็นรายงานเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในมาใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพบริการในโรคต่างๆ รวมถึง การจัดทำร่างตัวชี้วัดการวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวังด้านคุณภาพ
ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ที่ผ่านมาในปี 2549 มีความคืบหน้าในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ อาทิ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลบริการผู้ให้บริการ (provider center) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ให้บริการอันเนื่องจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย (Patient Referral Coordinating Center) ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องคอยคิวรับการผ่าตัดเป็นเวลานานให้สามารถรับการผ่าตัดได้เร็วขึ้น และศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินในการช่วยประสานงานหาเตียงให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นอกจากนั้น ในปีงบประมาณ 2549 นี้ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน (excellent center) การจัดทำแผนแม่บทและพัฒนาเครื่องมือในการพัฒนาควบคุมกำกับคุณภาพโรงพยาบาล (Quality Audit Master Plan) การตรวจประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยใน (clinical audit) ที่มุ่งตรวจประเมินคุณภาพบริการ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการตรวจประเมินคุณภาพบริการระดับเขตพื้นที่ 5 ภาวะ/โรค (คือ ภาวะบาดเจ็บที่ศีรษะ ไข้เลือดออก หอบหืด ภาวะตกเลือดหลังคลอด การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) และงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งคือ การดำเนินงานร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ในการร่วมกันพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งมีการร่วมมือเป็นอย่างดี โดยงานสามารถดำเนินก้าวหน้าไปในทิศทางของเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--
การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีงบประมาณ 2549 ด้านความครอบคุลมการมีหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการให้ประชาชนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันสามารถครอบคลุมประชาชนกว่า 60.61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 96.32 ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในปี 2549 (ร้อยละ 97.5) นั้น พบว่าต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.18
หน่วยบริการคู่สัญญาปี 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,114 แห่ง แยกเป็นหน่วยบริการสังกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของภาครัฐ/เอกชนจำนวน 961 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่นกว่า 183 แห่ง นอกจากนั้น ยังมีหน่วยบริการรับส่งต่อในระดับตติยภูมิในการบริการรับส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคหัวใจ และอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินกว่า 78 ศูนย์ เข้าร่วมให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยมีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น
ด้านการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการนั้น มีการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2548 โดยได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขโดยให้สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) เร่งการพัฒนาและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลให้ผ่านเกณฑ์ HA เพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินการในกิจกรรมหลักด้านต่างๆ ดังนี้
1) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลในจังหวัด จำนวน 31 จังหวัด
2) เยี่ยมสำรวจและประเมินคุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพในขั้นที่ 1 (การจัดระบบเพื่อป้องกันความเสี่ยง) จำนวน 51 แห่ง
3) เยี่ยมสำรวจและประเมินคุณภาพหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในขั้นที่ 2 (การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง) จำนวน 22 แห่ง
นอกจากนี้ งานด้านคุณภาพของปี 2549 ยังมีโครงการอื่นๆ ที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการให้ดียิ่งขึ้น อาทิ “โครงการพัฒนาข้อเสนอกลไกการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” โดยสปสช.ได้จัดจ้างมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติเพื่อพัฒนาข้อเสนอกลไกการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งเป็นแผนแม่บทการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาระบบบริการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพื่อการรับรองเป็นหลัก เน้นการประเมินผลลัพธ์ การประเมินต้องเป็นการประเมินทั้งระบบ โดยแนวทางการพัฒนาต้องคำนึงถึงบริบทและความแตกต่างของพื้นที่ ซึ่งแผนแม่บทการพัฒนาและรับรองคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ใช้เวลา 6 ปี โดยแบ่งช่วงเป็น 3 ระยะในการพัฒนา และ“การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพ” มีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านคุณภาพเพื่อการรองรับการดำเนินงานด้านการติดตาม กำกับมาตรฐานหน่วยบริการและการบริการ ได้แก่ ระบบทะเบียนฐานข้อมูลหน่วยบริการ การตรวจหน่วยบริการเพื่อการขึ้นทะเบียน ให้รองรับการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการเฉพาะด้านในโครงการ Disease Management การจัดทำกรอบการวิเคราะห์สารสนเทศ ด้านคุณภาพ และการจัดระบบการจัดการข้อมูล เพื่อสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพบริการ (Clinical Audit) และสรุปเป็นรายงานเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยในมาใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพบริการในโรคต่างๆ รวมถึง การจัดทำร่างตัวชี้วัดการวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวังด้านคุณภาพ
ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ที่ผ่านมาในปี 2549 มีความคืบหน้าในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ อาทิ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลบริการผู้ให้บริการ (provider center) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ให้บริการอันเนื่องจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย (Patient Referral Coordinating Center) ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องคอยคิวรับการผ่าตัดเป็นเวลานานให้สามารถรับการผ่าตัดได้เร็วขึ้น และศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินในการช่วยประสานงานหาเตียงให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
นอกจากนั้น ในปีงบประมาณ 2549 นี้ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิเฉพาะด้าน (excellent center) การจัดทำแผนแม่บทและพัฒนาเครื่องมือในการพัฒนาควบคุมกำกับคุณภาพโรงพยาบาล (Quality Audit Master Plan) การตรวจประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยใน (clinical audit) ที่มุ่งตรวจประเมินคุณภาพบริการ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยการตรวจประเมินคุณภาพบริการระดับเขตพื้นที่ 5 ภาวะ/โรค (คือ ภาวะบาดเจ็บที่ศีรษะ ไข้เลือดออก หอบหืด ภาวะตกเลือดหลังคลอด การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) และงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งคือ การดำเนินงานร่วมกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ในการร่วมกันพัฒนาและบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งมีการร่วมมือเป็นอย่างดี โดยงานสามารถดำเนินก้าวหน้าไปในทิศทางของเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--