คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือ
1.1 ด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
(1) กรณีสมาชิกเสียชีวิตให้จำหน่ายหนี้ออกจากบัญชีของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นสูญรัฐบาลรับภาระชำระหนี้ให้แทน
(2) กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้สำหรับหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
- ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549-2551 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
1.2 ด้านทรัพย์สินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย รัฐบาลจ่ายชดเชยให้ตามมูลค่าจริง
2. งบประมาณที่จะต้องจ่ายชดเชยให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
2.1 กรณีทรัพย์สินเสียหายจากอุทกภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 18,725,220.60 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่อยู่ภายในกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยของคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวนรวม 2,407,382,843 บาท เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อขออนุมัติตามขั้นตอน ต่อไป
2.2 กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้ นั้น เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดจำนวนเกษตรกรและวงเงินให้ถูกต้องชัดเจนก่อน และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน ต่อไป ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบว่าไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น
2.3 เพื่อเป็นการวางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติในภาคการเกษตรในอนาคต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
2.3.1 ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำระบบประกันคุ้มครองความเสียหายของผลผลิตของเกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่จะต้องใช้จ่ายเมื่อเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติถึงระดับที่รัฐบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือ
2.3.2 ประเมินผลแผนฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อหารูปแบบการฟื้นฟูที่ครบวงจร สามารถทำให้เกษตรกรที่ประสบภัยมีอาชีพ มีรายได้ มีขีดความสามารถในการชำระหนี้ และดำรงสภาพชีวิตในระดับพอเพียง อย่างยั่งยืน และนำรูปแบบนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ตรวจสอบความเดือดร้อนที่แท้จริงของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อให้การชดเชยของภาครัฐสอดคล้องกับความเป็นจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐอื่นไปประกอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือ
1.1 ด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
(1) กรณีสมาชิกเสียชีวิตให้จำหน่ายหนี้ออกจากบัญชีของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นสูญรัฐบาลรับภาระชำระหนี้ให้แทน
(2) กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้สำหรับหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
- ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
- งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549-2551 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
1.2 ด้านทรัพย์สินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย รัฐบาลจ่ายชดเชยให้ตามมูลค่าจริง
2. งบประมาณที่จะต้องจ่ายชดเชยให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
2.1 กรณีทรัพย์สินเสียหายจากอุทกภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 18,725,220.60 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่อยู่ภายในกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยของคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวนรวม 2,407,382,843 บาท เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อขออนุมัติตามขั้นตอน ต่อไป
2.2 กรณีสมาชิกรายที่ประสบภัยอย่างร้ายแรงจนทำให้พื้นที่ทำกินและผลผลิตเสียหายขาดรายได้ที่จะนำส่งชำระหนี้ได้ นั้น เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดจำนวนเกษตรกรและวงเงินให้ถูกต้องชัดเจนก่อน และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน ต่อไป ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบว่าไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น
2.3 เพื่อเป็นการวางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติในภาคการเกษตรในอนาคต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
2.3.1 ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำระบบประกันคุ้มครองความเสียหายของผลผลิตของเกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่จะต้องใช้จ่ายเมื่อเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติถึงระดับที่รัฐบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือ
2.3.2 ประเมินผลแผนฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อหารูปแบบการฟื้นฟูที่ครบวงจร สามารถทำให้เกษตรกรที่ประสบภัยมีอาชีพ มีรายได้ มีขีดความสามารถในการชำระหนี้ และดำรงสภาพชีวิตในระดับพอเพียง อย่างยั่งยืน และนำรูปแบบนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ตรวจสอบความเดือดร้อนที่แท้จริงของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อให้การชดเชยของภาครัฐสอดคล้องกับความเป็นจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐอื่นไปประกอบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--