คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการติดตามงานโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก (ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 — 20 มีนาคม 2549) ดังนี้
1. จากการติดตามเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว ของคณะทำงานติดตามงานฯ และคณะอนุกรรมการของคณะทำงานติดตามงานฯ ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 — 20 มีนาคม 2549 (งวดที่ 14) สามารถประมาณผลการดำเนินงานอย่างไม่เป็นทางการได้เท่ากับ 4.278% และสามารถสรุปผลการดำเนินงานสะสมได้ ดังนี้ แผนงานเร่งรัดการดำเนินงานสะสม = 35.164% ผลการดำเนินงานสะสม = 19.266% ล่าช้ากว่าแผนงาน = 15.898%
2. ปัญหาอุปสรรคและการดำเนินการแก้ไข
2.1 งานวัสดุกรอง (Filter) ซึ่งต้องใช้หินย่อยและทรายเป็นส่วนผสม ที่ผ่านมาโรงโม่หินแห่งที่ 2 ติดปัญหาขัดข้องด้านระบบไฟฟ้า เป็นผลให้ปริมาณวัสดุกรอง (Filter) ที่ผลิตได้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในแต่ละวัน จากการติดตามเร่งรัด ปัจจุบันผู้รับจ้างได้ดำเนินการแก้ไขระบบไฟฟ้าให้โรงโม่หินแห่งที่ 2 สามารถเริ่มดำเนินการโม่หินได้แล้ว แต่จากศักยภาพของโรงโม่หินทั้ง 2 แห่ง ก็ยังไม่สามารถผลิตวัสดุกรอง (Filter) ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานสูงสุดของแต่ละวันได้ คณะทำงานฯ จึงได้เสนอแนะให้ผู้รับจ้างพิจารณาติดตั้งโรงโม่หินเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อให้สามารถผลิตวัสดุกรอง (Filter) ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะได้ติดตามเร่งรัดการติดตั้งโรงโม่หินของผู้รับจ้างแห่งที่ 3 ต่อไป
2.2 การบริหารจัดการภายในของผู้รับจ้าง ที่ผ่านมาจำนวนบุคลากรในส่วนของผู้รับจ้างมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน เป็นผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ แต่จากการติดตามเร่งรัดของคณะทำงานฯ พบว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้รับจ้างได้จัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานในภาคสนามเพิ่มขึ้นจำนวน 195 คน แต่ก็ยังมีจำนวนไม่เพียงพอเพื่อที่จะเร่งรัดงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญา ซึ่งคณะทำงานฯ จะได้ติดตามเร่งรัดผู้รับจ้างให้จัดหาบุคลากรเพิ่มมากขึ้นต่อไป
2.3 ปริมาณเครื่องจักร — เครื่องมือ ตามที่คณะทำงานฯ ได้เสนอแนะผู้รับจ้างให้จัดหาเครื่องจักร - เครื่องมือ เพื่อใช้ในการก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น ปัจจุบันผู้รับจ้างได้ทยอยจัดหาเครื่องจักร-เครื่องมือ เข้ามาปฏิบัติงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีปริมาณเครื่องจักร — เครื่องมือ เพิ่มขึ้น 7 รายการ (จำนวน 23 คัน) แต่ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเร่งรัดผลการดำเนินงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญา ผู้รับจ้างจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักร- เครื่องมือเฉพาะด้านที่ใช้ในการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก อาทิเช่น ชุดเครื่องจักรสำหรับงานหินถม รวมถึงการเตรียมการบริหารจัดการซ่อมบำรุงเครื่องจักร-เครื่องมือที่มีอยู่ให้เพียงพอและทันต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งคณะทำงาน ฯ จะได้ติดตามเร่งรัดต่อไป
2.4 การขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง ปัจจุบันผู้รับจ้างมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น จะเห็นได้จากปริมาณการสำรองวัสดุหลักที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน อาทิเช่น เหล็กเสริมคอนกรีตและปริมาณน้ำมัน ประกอบกับทางธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนที่เพียงพอและทันต่อความต้องการใช้งาน ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง จึงเริ่มบรรเทาลงได้ในระดับหนึ่ง
สรุป จากการติดตามเร่งรัดงานก่อสร้างของคณะทำงานฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือน มีนาคม 2549 (ผลการดำเนินงานเดือนมกราคม 2549 เท่ากับ 2.450% เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เท่ากับ 5.329% เดือนมีนาคม 2549 เท่ากับ 4.278%) คณะทำงานฯ ได้นำผลการดำเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์และประเมินแล้ว คาดว่าผู้รับจ้างจะสามารถเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญาได้ ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ คณะทำงานฯ คาดว่าหากผู้รับจ้างสามารถเร่งรัดงานก่อสร้างให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะส่งผลให้เขื่อนแควน้อยสามารถกักเก็บน้ำได้ในปี พ.ศ. 2550 ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
1. จากการติดตามเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว ของคณะทำงานติดตามงานฯ และคณะอนุกรรมการของคณะทำงานติดตามงานฯ ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 — 20 มีนาคม 2549 (งวดที่ 14) สามารถประมาณผลการดำเนินงานอย่างไม่เป็นทางการได้เท่ากับ 4.278% และสามารถสรุปผลการดำเนินงานสะสมได้ ดังนี้ แผนงานเร่งรัดการดำเนินงานสะสม = 35.164% ผลการดำเนินงานสะสม = 19.266% ล่าช้ากว่าแผนงาน = 15.898%
2. ปัญหาอุปสรรคและการดำเนินการแก้ไข
2.1 งานวัสดุกรอง (Filter) ซึ่งต้องใช้หินย่อยและทรายเป็นส่วนผสม ที่ผ่านมาโรงโม่หินแห่งที่ 2 ติดปัญหาขัดข้องด้านระบบไฟฟ้า เป็นผลให้ปริมาณวัสดุกรอง (Filter) ที่ผลิตได้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในแต่ละวัน จากการติดตามเร่งรัด ปัจจุบันผู้รับจ้างได้ดำเนินการแก้ไขระบบไฟฟ้าให้โรงโม่หินแห่งที่ 2 สามารถเริ่มดำเนินการโม่หินได้แล้ว แต่จากศักยภาพของโรงโม่หินทั้ง 2 แห่ง ก็ยังไม่สามารถผลิตวัสดุกรอง (Filter) ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานสูงสุดของแต่ละวันได้ คณะทำงานฯ จึงได้เสนอแนะให้ผู้รับจ้างพิจารณาติดตั้งโรงโม่หินเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อให้สามารถผลิตวัสดุกรอง (Filter) ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะได้ติดตามเร่งรัดการติดตั้งโรงโม่หินของผู้รับจ้างแห่งที่ 3 ต่อไป
2.2 การบริหารจัดการภายในของผู้รับจ้าง ที่ผ่านมาจำนวนบุคลากรในส่วนของผู้รับจ้างมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน เป็นผลให้การดำเนินงานเกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ แต่จากการติดตามเร่งรัดของคณะทำงานฯ พบว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้รับจ้างได้จัดหาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานในภาคสนามเพิ่มขึ้นจำนวน 195 คน แต่ก็ยังมีจำนวนไม่เพียงพอเพื่อที่จะเร่งรัดงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญา ซึ่งคณะทำงานฯ จะได้ติดตามเร่งรัดผู้รับจ้างให้จัดหาบุคลากรเพิ่มมากขึ้นต่อไป
2.3 ปริมาณเครื่องจักร — เครื่องมือ ตามที่คณะทำงานฯ ได้เสนอแนะผู้รับจ้างให้จัดหาเครื่องจักร - เครื่องมือ เพื่อใช้ในการก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น ปัจจุบันผู้รับจ้างได้ทยอยจัดหาเครื่องจักร-เครื่องมือ เข้ามาปฏิบัติงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีปริมาณเครื่องจักร — เครื่องมือ เพิ่มขึ้น 7 รายการ (จำนวน 23 คัน) แต่ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเร่งรัดผลการดำเนินงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญา ผู้รับจ้างจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักร- เครื่องมือเฉพาะด้านที่ใช้ในการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มเติมอีก อาทิเช่น ชุดเครื่องจักรสำหรับงานหินถม รวมถึงการเตรียมการบริหารจัดการซ่อมบำรุงเครื่องจักร-เครื่องมือที่มีอยู่ให้เพียงพอและทันต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งคณะทำงาน ฯ จะได้ติดตามเร่งรัดต่อไป
2.4 การขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง ปัจจุบันผู้รับจ้างมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น จะเห็นได้จากปริมาณการสำรองวัสดุหลักที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน อาทิเช่น เหล็กเสริมคอนกรีตและปริมาณน้ำมัน ประกอบกับทางธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนที่เพียงพอและทันต่อความต้องการใช้งาน ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้รับจ้าง จึงเริ่มบรรเทาลงได้ในระดับหนึ่ง
สรุป จากการติดตามเร่งรัดงานก่อสร้างของคณะทำงานฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือน มีนาคม 2549 (ผลการดำเนินงานเดือนมกราคม 2549 เท่ากับ 2.450% เดือนกุมภาพันธ์ 2549 เท่ากับ 5.329% เดือนมีนาคม 2549 เท่ากับ 4.278%) คณะทำงานฯ ได้นำผลการดำเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์และประเมินแล้ว คาดว่าผู้รับจ้างจะสามารถเร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างให้ทันแผนงานตามสัญญาได้ ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ คณะทำงานฯ คาดว่าหากผู้รับจ้างสามารถเร่งรัดงานก่อสร้างให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะส่งผลให้เขื่อนแควน้อยสามารถกักเก็บน้ำได้ในปี พ.ศ. 2550 ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--