คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการก่อสร้างหอเตือนภัยสึนามิ สรุปได้ดังนี้
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการมาตรการป้องกันและระบบเตือนภัยธรรมชาติ และให้มีการจัดสร้างหอเตือนภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้แถบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งได้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับมอบหมาย ให้ก่อสร้างหอเตือนภัยสึนามิ ทั้งสิ้น รวม 55 แห่ง ใน 5 จังหวัด
จนถึงขณะนี้ปรากฏว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการก่อสร้างหอเตือนภัยสึนามิเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จำนวน 51แห่ง ได้แก่ จังหวัดพังงา 13 แห่ง จังหวัดกระบี่ 12 แห่ง จังหวัดตรัง 9 แห่ง จังหวัดสตูล 13 แห่ง และจังหวัดระนอง 4 แห่ง สำหรับส่วนที่เหลืออีก 4 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพังงา 3 แห่ง และจังหวัดระนอง 1 แห่ง กรมโยธาธิการฯ กำลังเร่งดำเนินการอยู่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการมาตรการป้องกันและระบบเตือนภัยธรรมชาติ และให้มีการจัดสร้างหอเตือนภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้แถบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งได้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับมอบหมาย ให้ก่อสร้างหอเตือนภัยสึนามิ ทั้งสิ้น รวม 55 แห่ง ใน 5 จังหวัด
จนถึงขณะนี้ปรากฏว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการก่อสร้างหอเตือนภัยสึนามิเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จำนวน 51แห่ง ได้แก่ จังหวัดพังงา 13 แห่ง จังหวัดกระบี่ 12 แห่ง จังหวัดตรัง 9 แห่ง จังหวัดสตูล 13 แห่ง และจังหวัดระนอง 4 แห่ง สำหรับส่วนที่เหลืออีก 4 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพังงา 3 แห่ง และจังหวัดระนอง 1 แห่ง กรมโยธาธิการฯ กำลังเร่งดำเนินการอยู่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--