คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายเวลาให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
เดิม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จำนวน 500,000 คน โดยให้มีการนำเข้าโดยถูกต้องตามกฎหมายตาม Mou จำนวนประมาณ 200,000 คน ที่เหลืออีกประมาณ 300,000 คน ให้นำแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติดังกล่าว ที่ได้หลบหนีเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาเข้าสู่ระบบการจ้างงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยให้มีการประกันตัวแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือ ทร. 38/1 คนละ 10,000 บาท และแรงงานต่างด้าวที่ไม่มี ทร. 38/1 คนละ 50,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ได้มีการประชุมผู้แทนนายจ้าง/สถานประกอบการ ร่วมกับพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่าควรชะลอการเก็บเงินประกันและให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาอัตราเงินประกันที่เหมาะสมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในระยะที่ 1 ซึ่งกำหนดให้มีระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน ระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2549 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้ แรงงานต่างด้าวมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่กรมการปกครองเพื่อขอตรวจสอบเอกสาร ทร.38/1 จำนวน 193,824 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทำประกันตัวแล้วเสร็จจำนวน 39,180 คน ยังเหลือแรงงานต่างด้าวที่รายงานตัวแล้วแต่ยังไม่ได้ทำประกันตัวอีกจำนวน 154,644 คน และแรงงานต่างด้าวที่ได้ผ่านขบวนการการประกันตัวมาขอใบอนุญาตทำงานแล้วจำนวน 31,402 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
เดิม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จำนวน 500,000 คน โดยให้มีการนำเข้าโดยถูกต้องตามกฎหมายตาม Mou จำนวนประมาณ 200,000 คน ที่เหลืออีกประมาณ 300,000 คน ให้นำแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติดังกล่าว ที่ได้หลบหนีเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วก่อนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาเข้าสู่ระบบการจ้างงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยให้มีการประกันตัวแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือ ทร. 38/1 คนละ 10,000 บาท และแรงงานต่างด้าวที่ไม่มี ทร. 38/1 คนละ 50,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ได้มีการประชุมผู้แทนนายจ้าง/สถานประกอบการ ร่วมกับพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่าควรชะลอการเก็บเงินประกันและให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาอัตราเงินประกันที่เหมาะสมให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในระยะที่ 1 ซึ่งกำหนดให้มีระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน ระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2549 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้ แรงงานต่างด้าวมารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่กรมการปกครองเพื่อขอตรวจสอบเอกสาร ทร.38/1 จำนวน 193,824 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทำประกันตัวแล้วเสร็จจำนวน 39,180 คน ยังเหลือแรงงานต่างด้าวที่รายงานตัวแล้วแต่ยังไม่ได้ทำประกันตัวอีกจำนวน 154,644 คน และแรงงานต่างด้าวที่ได้ผ่านขบวนการการประกันตัวมาขอใบอนุญาตทำงานแล้วจำนวน 31,402 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--