คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค” รอบ 9 เดือน ปีงบประมาณ 2549 (1 ตุลาคม 2548 — 30 มิถุนายน 2549) และงานที่สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2549 สรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนมิถุนายน 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 97.23 ของประชากรทั้งประเทศ (62.74 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นจากผลงานในไตรมาส 2 ร้อยละ 0.78 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 1.74 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 21.62
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.51 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 0.37 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.45 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจำนวน 25.06 ล้านคน (ตาราง 1) หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,157 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 962 แห่ง (ร้อยละ 83.15) และคลินิก 195 แห่ง (ร้อยละ 16.85)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 87.10 ล้านครั้ง (30.05 ล้านคน) อัตราการใช้บริการต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 1.83 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 3.36 ล้านคน (12.94 ล้านวัน) อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.07 ครั้ง
จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 863 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.80 ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการบริการสาธารณสุข (Health Practice Guidelines: HPG) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 สภาวะโรค (อุจจาระร่วง, หอบหืด, ภาวะสมองเสื่อมใน เวชปฏิบัติปฐมภูมิ, เบาหวาน และโรคลมชัก) ซึ่งจะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลในระบบหลักประกันฯ ต่อไป ส่วนแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการพิจารณารับรองจากองค์กรวิชาชีพแล้ว จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก
สปสช.ได้ตรวจประเมินหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการด้านรังสีรักษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่รพ.รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ พิษณุโลกเป็นหน่วยบริการภาคเอกชน และศูนย์มหาวิชราลงกรณ์ ธัญบุรี ปทุมธานี ปัจจุบันมีหน่วยบริการตติยภูมิโรคมะเร็งทั้งหมด จำนวน 30 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการตรวจเยี่ยมศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 2 แห่ง และศูนย์อุบัติเหตุ จำนวน 6 แห่ง
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพเพื่อ ให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์ แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน จากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 7 วันทำการ ร้อยละ 100 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 82.63 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 93.55 ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องทุกข์ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ รัอยละ 97.49 ได้ดำเนินการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับข้อมูลผู้ป่วยที่คอยคิวนานจากสถาบัน/โรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 746 ราย (ร้อยละ 52.17)
การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ ทั้งหมด 291 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 25.96 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย จากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 47 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 316,000 บาท
ประชาชน และผู้มีสิทธิ สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ในสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ Website นิทรรศการ เพื่อรับทราบข้อมูลในเรื่องสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้รับบริการและ ผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการบริหารจัดการโรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูงนั้น โรคที่ได้ดำเนินการแล้ว คือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นผู้ป่วยรายใหม่สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ลงทะเบียน ณ หน่วยบริการในโครงการ ผลการดำเนินงานในรอบ 5 เดือน (1 มี.ค.-30 ก.ค.49) มีผู้ป่วยที่ลงทะเบียนจำนวน 515 ราย คาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2549 จะมีจำนวนผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,736 ราย ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงและได้รับบริการที่มีคุณภาพได้
มาตรฐานแบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของผู้ป่วย สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรค และมีกระบวนการจัดการโรค ที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีประสิทธิภาพ
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯไปทั้งสิ้น 37,412.18 ล้านบาท (ร้อยละ 94.32) จากงบประมาณ ที่ได้รับตาม พรบ.หลักประกันฯ(39,666.80 ล้านบาท) ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวจำแนกเป็นสังกัดพบว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับมากที่สุด 22,942.76 ล้านบาท (ร้อยละ 84.76) รองลงมาคือสำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร 2.454.25 ล้านบาท (ร้อยละ 9.07) และภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค 574.72 ล้านบาท (ร้อยละ 2.12) ตามลำดับ
งบลงทุนใช้ไปทั้งสิ้น 5,434.35 ล้านบาท (ร้อยละ 88.28) ของงบที่ได้รับจัดสรร และในรอบ 7 เดือน ณ เมษายน 2549 ผลการดำเนินงานบริหารกองทุนผู้ประสบภัยจากรถมีโรงพยาบาลในโครงการ 68 แห่ง จำนวนเบิกทั้งสิ้น 1,272 ราย เป็นเงิน 14,334,657 บาท เฉลี่ย 11,269 บาทต่อราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนมิถุนายน 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 97.23 ของประชากรทั้งประเทศ (62.74 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นจากผลงานในไตรมาส 2 ร้อยละ 0.78 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 1.74 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 21.62
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.51 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 0.37 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.45 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียมจำนวน 25.06 ล้านคน (ตาราง 1) หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,157 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 962 แห่ง (ร้อยละ 83.15) และคลินิก 195 แห่ง (ร้อยละ 16.85)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 87.10 ล้านครั้ง (30.05 ล้านคน) อัตราการใช้บริการต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 1.83 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 3.36 ล้านคน (12.94 ล้านวัน) อัตราการใช้บริการ (ต่อประชากรผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เท่ากับ 0.07 ครั้ง
จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 863 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.80 ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการบริการสาธารณสุข (Health Practice Guidelines: HPG) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 5 สภาวะโรค (อุจจาระร่วง, หอบหืด, ภาวะสมองเสื่อมใน เวชปฏิบัติปฐมภูมิ, เบาหวาน และโรคลมชัก) ซึ่งจะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลในระบบหลักประกันฯ ต่อไป ส่วนแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านการพิจารณารับรองจากองค์กรวิชาชีพแล้ว จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก
สปสช.ได้ตรวจประเมินหน่วยบริการที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการด้านรังสีรักษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่รพ.รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ พิษณุโลกเป็นหน่วยบริการภาคเอกชน และศูนย์มหาวิชราลงกรณ์ ธัญบุรี ปทุมธานี ปัจจุบันมีหน่วยบริการตติยภูมิโรคมะเร็งทั้งหมด จำนวน 30 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการตรวจเยี่ยมศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 2 แห่ง และศูนย์อุบัติเหตุ จำนวน 6 แห่ง
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพเพื่อ ให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์ แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน จากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง ภายใน 7 วันทำการ ร้อยละ 100 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 82.63 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 93.55 ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องทุกข์ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ รัอยละ 97.49 ได้ดำเนินการประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับข้อมูลผู้ป่วยที่คอยคิวนานจากสถาบัน/โรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 746 ราย (ร้อยละ 52.17)
การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ ทั้งหมด 291 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 25.96 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหาย จากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 47 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 316,000 บาท
ประชาชน และผู้มีสิทธิ สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ในสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ Website นิทรรศการ เพื่อรับทราบข้อมูลในเรื่องสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้รับบริการและ ผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
โครงการบริหารจัดการโรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูงนั้น โรคที่ได้ดำเนินการแล้ว คือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นผู้ป่วยรายใหม่สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ลงทะเบียน ณ หน่วยบริการในโครงการ ผลการดำเนินงานในรอบ 5 เดือน (1 มี.ค.-30 ก.ค.49) มีผู้ป่วยที่ลงทะเบียนจำนวน 515 ราย คาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2549 จะมีจำนวนผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,736 ราย ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงและได้รับบริการที่มีคุณภาพได้
มาตรฐานแบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของผู้ป่วย สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรค และมีกระบวนการจัดการโรค ที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่มีประสิทธิภาพ
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯไปทั้งสิ้น 37,412.18 ล้านบาท (ร้อยละ 94.32) จากงบประมาณ ที่ได้รับตาม พรบ.หลักประกันฯ(39,666.80 ล้านบาท) ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวจำแนกเป็นสังกัดพบว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับมากที่สุด 22,942.76 ล้านบาท (ร้อยละ 84.76) รองลงมาคือสำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร 2.454.25 ล้านบาท (ร้อยละ 9.07) และภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค 574.72 ล้านบาท (ร้อยละ 2.12) ตามลำดับ
งบลงทุนใช้ไปทั้งสิ้น 5,434.35 ล้านบาท (ร้อยละ 88.28) ของงบที่ได้รับจัดสรร และในรอบ 7 เดือน ณ เมษายน 2549 ผลการดำเนินงานบริหารกองทุนผู้ประสบภัยจากรถมีโรงพยาบาลในโครงการ 68 แห่ง จำนวนเบิกทั้งสิ้น 1,272 ราย เป็นเงิน 14,334,657 บาท เฉลี่ย 11,269 บาทต่อราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--