คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการตามรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป โดยให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ได้มีคำสั่ง และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้สรุปเรื่องให้คณะรัฐมนตรีทราบ
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. การดำเนินการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และพัมพูชา เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งการจัดระบบแรงงานต่างด้าวทั้งระบบครั้งนี้ เป็นการทำงานแบบบูรณาการของ 5 หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน โดยกำหนดแนวทางดำเนินการให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทุกรายทุกพื้นที่ทั่วประเทศที่มีความประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ดำเนินการขอจดทะเบียนแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (โควตา) ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-10 เพื่อทราบความต้องการจ้างแรงงานทั่วประเทศและให้นายจ้างหรือเจ้าบ้านนำคนต่างด้าวทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 1 ขวบ ไปขึ้นทะเบียนราษฎร ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาล เพื่อถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และจัดทะเบียนประวัติ เพื่อใช้ในการควบคุมตรวจสอบคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
2. การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) ซึ่งเป็นการดำเนินการหลังจากได้มีการจัดระเบียบคนต่างด้าวแล้วได้มีการเจรจากับ 3 ประเทศเพื่อให้เข้ามาพิสูจน์สัญชาติ โดยกระทรวงแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและช่วยเหลือ ด้านงบประมาณบางส่วน รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชาได้เข้ามาดำเนินการแล้ว ส่วนประเทศพม่าอยู่ระหว่างการเจรจา สำหรับข้อเสนอแนะที่ให้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาพิสูจน์สัญชาติลาว และกัมพูชาในการออกหนังสือรับรองสถานะบุคคลได้รับการชี้แจงจากฝ่ายลาวและกัมพูชา บุคลากรที่ส่งมาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมแล้ว
3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่อนุญาตให้สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I) จ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ทำงานเนื่องจากสถานประกอบการได้รับสิทธิพิเศษ ด้านภาษีแล้ว ประกอบกับเป็นงานที่มีลักษณะงานไม่ยาก และคนไทยประสงค์จะทำ แต่ในการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงกระทรวงแรงงานแจ้งให้ผ่อนผันให้กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองได้เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ
4. กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว ดังนี้
4.1 แก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 เพื่อยกเว้นให้คนต่างด้าวทำงานในอาชีพกรรมกรได้
4.2 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อยกเว้นให้แรงงานสัญชาติลาวและกัมพูชาสามารถขอวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. การดำเนินการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และพัมพูชา เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งการจัดระบบแรงงานต่างด้าวทั้งระบบครั้งนี้ เป็นการทำงานแบบบูรณาการของ 5 หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงแรงงาน โดยกำหนดแนวทางดำเนินการให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทุกรายทุกพื้นที่ทั่วประเทศที่มีความประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าว ดำเนินการขอจดทะเบียนแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (โควตา) ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-10 เพื่อทราบความต้องการจ้างแรงงานทั่วประเทศและให้นายจ้างหรือเจ้าบ้านนำคนต่างด้าวทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 1 ขวบ ไปขึ้นทะเบียนราษฎร ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาล เพื่อถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ และจัดทะเบียนประวัติ เพื่อใช้ในการควบคุมตรวจสอบคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
2. การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (MOU) ซึ่งเป็นการดำเนินการหลังจากได้มีการจัดระเบียบคนต่างด้าวแล้วได้มีการเจรจากับ 3 ประเทศเพื่อให้เข้ามาพิสูจน์สัญชาติ โดยกระทรวงแรงงานได้อำนวยความสะดวกแก่คณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและช่วยเหลือ ด้านงบประมาณบางส่วน รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชาได้เข้ามาดำเนินการแล้ว ส่วนประเทศพม่าอยู่ระหว่างการเจรจา สำหรับข้อเสนอแนะที่ให้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาพิสูจน์สัญชาติลาว และกัมพูชาในการออกหนังสือรับรองสถานะบุคคลได้รับการชี้แจงจากฝ่ายลาวและกัมพูชา บุคลากรที่ส่งมาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมแล้ว
3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่อนุญาตให้สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I) จ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ทำงานเนื่องจากสถานประกอบการได้รับสิทธิพิเศษ ด้านภาษีแล้ว ประกอบกับเป็นงานที่มีลักษณะงานไม่ยาก และคนไทยประสงค์จะทำ แต่ในการจัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวปี 2547 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงกระทรวงแรงงานแจ้งให้ผ่อนผันให้กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองได้เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ
4. กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว ดังนี้
4.1 แก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 เพื่อยกเว้นให้คนต่างด้าวทำงานในอาชีพกรรมกรได้
4.2 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อยกเว้นให้แรงงานสัญชาติลาวและกัมพูชาสามารถขอวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงานเป็นกรรมกรได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--