คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติตามแนวทางการผ่อนผันสำหรับรายจ่ายลงทุน กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549 และแนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามคาดการณ์ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาการจัดสรร
งบประมาณให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. สรุปสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จากการติดตามสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และจังหวัด ณ 18 สิงหาคม 2549 สามารถสรุปสถานะและคาดการณ์ การเบิกจ่ายเงินรวมเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.1 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 20 หน่วยงาน มีวงเงินงบประมาณ 232,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 160,375 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 32,522 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 192,897 คิดเป็นร้อยละ 83 ของวงเงินงบประมาณ 232,900 ล้านบาท
1.2 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 260 หน่วยงาน มีวงเงินงบประมาณ 32,254 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 14,256 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 5,919 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 20,175 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของวงเงินงบประมาณ 32,254 ล้านบาท
1.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัด (งบผู้ว่า CEO) จำนวน 75 จังหวัด มีวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,017 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 5,786 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 12,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56 ของวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท
1.4 งบกลางและรายการอื่นๆ มีวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 42,073 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 7,090 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 49,163 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75 ของวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท
ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ข้างต้น คาดว่าจะมียอดเบิกจ่ายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2549 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 275,038 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.75 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีกำหนดเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 73 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน)
2. แนวทางการผ่อนผันสำหรับรายจ่ายลงทุน กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549
จากรายงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 ตามข้อ 1 คาดว่าจะก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายใน 31 สิงหาคม 2549 จำนวน 52,099 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมายและไม่หยุดชะงัก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้ และเพื่อให้มีปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ไม่ทันตามกำหนด จึงเห็นควรผ่อนผันให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันภายหลังสิ้นเดือนสิงหาคม 2549 ได้จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2549 ดังนี้
2.1 รายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
2.2 รายการที่ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และการเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ปรับแผน) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549
2.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง (17,200 ล้านบาท) เนื่องจากบางรายการต้องรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจึงจะดำเนินการได้
ทั้งนี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ และจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณที่เหลือนั้นต่อไป โดยขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน กระทรวงการคลังจะพิจารณาอนุมัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในกรณีดังกล่าวอย่างระมัดระวังและเข้มงวด
3. แนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามคาดการณ์
หน่วยงานที่รายงานว่าคาดว่าจะเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ให้เร่งดำเนินการเบิกจ่ายให้ถึงเป้าหมาย และหน่วยงานที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ถึงเป้าหมาย หรือเกินกว่าเป้าหมาย ให้รักษาระดับการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ สำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัด ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้คลังจังหวัดดำเนินการเร่งเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในภาพรวมของประเทศบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
4. การจัดสรรงบประมาณในกรณีที่มีผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ที่มียอดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำ ทำให้มีเงินงบประมาณคงเหลือค้างในแต่ละหน่วยงานเป็นจำนวนมาก และต้องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีทุกปี ซึ่งงบประมาณดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในส่วนที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนได้ ดังนั้น เพื่อให้การตั้งงบประมาณสะท้อนถึงประสิทธิภาพ
ในการบริหารเงินงบประมาณ จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับความสามารถในการเบิกจ่าย ในกรณีที่หน่วยงานไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมิได้มีสาเหตุเกิดจากปัญหาภายนอก โดยให้นำอัตราการเบิกจ่ายในปีก่อนๆ เป็นฐานในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
งบประมาณให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. สรุปสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จากการติดตามสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่ได้รับรายงานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และจังหวัด ณ 18 สิงหาคม 2549 สามารถสรุปสถานะและคาดการณ์ การเบิกจ่ายเงินรวมเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.1 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 20 หน่วยงาน มีวงเงินงบประมาณ 232,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 160,375 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 32,522 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 192,897 คิดเป็นร้อยละ 83 ของวงเงินงบประมาณ 232,900 ล้านบาท
1.2 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 260 หน่วยงาน มีวงเงินงบประมาณ 32,254 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 14,256 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 5,919 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 20,175 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของวงเงินงบประมาณ 32,254 ล้านบาท
1.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัด (งบผู้ว่า CEO) จำนวน 75 จังหวัด มีวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,017 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 5,786 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 12,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56 ของวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท
1.4 งบกลางและรายการอื่นๆ มีวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 42,073 ล้านบาท คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 7,090 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 49,163 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75 ของวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท
ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ข้างต้น คาดว่าจะมียอดเบิกจ่ายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2549 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 275,038 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.75 ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีกำหนดเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 73 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน)
2. แนวทางการผ่อนผันสำหรับรายจ่ายลงทุน กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549
จากรายงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 ตามข้อ 1 คาดว่าจะก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายใน 31 สิงหาคม 2549 จำนวน 52,099 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมายและไม่หยุดชะงัก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการได้ และเพื่อให้มีปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ไม่ทันตามกำหนด จึงเห็นควรผ่อนผันให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันภายหลังสิ้นเดือนสิงหาคม 2549 ได้จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2549 ดังนี้
2.1 รายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
2.2 รายการที่ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และการเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ปรับแผน) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549
2.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง (17,200 ล้านบาท) เนื่องจากบางรายการต้องรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจึงจะดำเนินการได้
ทั้งนี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ และจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณที่เหลือนั้นต่อไป โดยขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน กระทรวงการคลังจะพิจารณาอนุมัติการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในกรณีดังกล่าวอย่างระมัดระวังและเข้มงวด
3. แนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามคาดการณ์
หน่วยงานที่รายงานว่าคาดว่าจะเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ให้เร่งดำเนินการเบิกจ่ายให้ถึงเป้าหมาย และหน่วยงานที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ถึงเป้าหมาย หรือเกินกว่าเป้าหมาย ให้รักษาระดับการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ สำหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัด ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้คลังจังหวัดดำเนินการเร่งเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนในภาพรวมของประเทศบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
4. การจัดสรรงบประมาณในกรณีที่มีผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ที่มียอดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำ ทำให้มีเงินงบประมาณคงเหลือค้างในแต่ละหน่วยงานเป็นจำนวนมาก และต้องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีทุกปี ซึ่งงบประมาณดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในส่วนที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนได้ ดังนั้น เพื่อให้การตั้งงบประมาณสะท้อนถึงประสิทธิภาพ
ในการบริหารเงินงบประมาณ จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับความสามารถในการเบิกจ่าย ในกรณีที่หน่วยงานไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมิได้มีสาเหตุเกิดจากปัญหาภายนอก โดยให้นำอัตราการเบิกจ่ายในปีก่อนๆ เป็นฐานในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--