ร่างประกาศกระทรวงการคลัง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 23, 2009 13:41 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนด

พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่ม

ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย และร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งร่างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ข้อเท็จจริง

กระทรวงการคลังเสนอว่า

1. ได้มีนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย และแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยกระทรวงการคลังได้มีการกำหนดโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร 3 อัตรา ตามขั้นตอนการผลิต คือ ร้อยละ 1 สำหรับ วัตถุดิบ ร้อยละ 5 สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และร้อยละ 10 สำหรับสินค้าสำเร็จรูป ส่วนวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ กระทรวงการคลังมีนโยบายยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการ

2. เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตบางรายการที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศหรือมี การผลิตได้แต่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศและยังคงมีอัตราอากรขาเข้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด ทำให้เกิดปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีนำเข้าและเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย

3. เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยแล้ว เห็นควรปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ดังนี้

3.1 ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย จำนวน 9 ประเภทย่อย

3.2 ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติประเภทถังเหล็ก จำนวน 4 ประเภทย่อย

3.3 ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำรายการสินค้าที่มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าไปแล้ว จำนวน 3 ประเภทย่อย

สาระสำคัญของร่างประกาศ

1. ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 9 ประเภทย่อย ดังนี้

          ประเภทย่อย     รายการ                               อัตราอากร
                                                        ปัจจุบัน        ใหม่

1801.00.00 เมล็ดโกโก้เปลือกนอก

          0802.00.00    เปลือกใน เยื่อและส่วนอื่นที่            ร้อยละ 30     ร้อยละ 5

ใช้ไม่ได้ของเมล็ดโกโก้

          0901.90.20    สิ่งสกัดจากมอลต์                    ร้อยละ 35     ยกเว้นอากร
          2603.00.00    สินแร่ และหัวแร่ทองแดง              ร้อยละ 10     ยกเว้นอากร
          4421.90.20    ก้านไม้ขีด                         ร้อยละ 40     ยกเว้นอากร
          7311.00.11                                                 ยกเว้นอากร
          7311.00.19    เฉพาะถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ          ร้อยละ 17      (ตั้งแต่ 1 มกราคม
          7311.00.91    จัดทำด้วยเหล็กกล้า                               2552 ถึง 31 ธันวาคม
          7311.00.99                                                 2553)

2. ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติประเภทถังเหล็กจำนวน 4 ประเภทย่อย ได้แก่ 7311.00.11 ประเภทย่อย 7311.00.19 ประเภทย่อย 7311.00.91 และประเภทย่อย 7311.00.99 ซึ่ง การยกเว้นอากรขาเข้าจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ออกไปอีกหนึ่งปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

3. แก้ไขถ้อยคำรายการสินค้าที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าไปแล้ว จำนวน 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภทย่อย 7226.92.10 ประเภทย่อย 7226.92.90 และประเภทย่อย 8523.59.40

4. ให้ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ