คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ระยะที่ 2 (Fix IT Center Phase 2) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ระยะที่ 2
2. อนุมัติในหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กายในวงเงิน จำนวน 581,033,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ปรับแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่ได้รับหรือใช้งบประมาณเหลือจ่ายของหน่วยงานนั้น ๆ มาดำเนินการและให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง
3. เห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2548 ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยขอปรับปรุงองค์ประกอบฯ ดังนี้
1. ให้นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน แทนนายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ เนื่องจากเกษียณอายุราชการ
2. ให้นางสาวภารณี วัฒนา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาสังคาและคุณภาพชีวิต สศช. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ แทนนางสุวรรณี คำมั่น เนื่องจากโยกย้ายไปรับตำแหน่งอื่น
3. ให้เพิ่มนายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ประธานที่ปรึกษานโยบายของรัฐมนตรี รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณและสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 สิ้นสุดวันที่ 14 ตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อให้เกิดการลดรายจ่ายแก่ประชาชนทั้งในและนอกภาคเกษตร โดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร เครื่องยนต์และเครื่องมือในการประกอบอาชีพและอุปกรณ์เครื่องใช้ครัวเรือน และจากการประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าวโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ทั้งจากประชาชน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงหน่วยงานราชการในพื้นที่ต่าง ๆ และเพื่อให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างทั่วถึง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบหลักและหน่วยงานรับผิดชอบร่วมอีก 5 หน่วยงาน ข้างต้น จึงได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียดโครงการฯ ในระยะที่ 2 โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549 ขยายจำนวนศูนย์เพิ่มอีก 8,000 ศูนย์ให้เป็น 10,000 ศูนย์ ตามหลักการของมาตรการโครงการฯ และได้ปรับกิจกรรมของโครงการ ฯ ให้ครอบคลุมกิจกรรมตามมาตรการโครงการ ฯ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการติดตามประเมินผล (สศช.) ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ ประสานงานกับหน่วยงานภาคีร่วม จัดทำโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--
1. อนุมัติโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ระยะที่ 2
2. อนุมัติในหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กายในวงเงิน จำนวน 581,033,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ปรับแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่ได้รับหรือใช้งบประมาณเหลือจ่ายของหน่วยงานนั้น ๆ มาดำเนินการและให้ขอทำความตกลงในรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง
3. เห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 289/2548 ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยขอปรับปรุงองค์ประกอบฯ ดังนี้
1. ให้นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน แทนนายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ เนื่องจากเกษียณอายุราชการ
2. ให้นางสาวภารณี วัฒนา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาสังคาและคุณภาพชีวิต สศช. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ แทนนางสุวรรณี คำมั่น เนื่องจากโยกย้ายไปรับตำแหน่งอื่น
3. ให้เพิ่มนายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ประธานที่ปรึกษานโยบายของรัฐมนตรี รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณและสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2548 สิ้นสุดวันที่ 14 ตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อให้เกิดการลดรายจ่ายแก่ประชาชนทั้งในและนอกภาคเกษตร โดยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร เครื่องยนต์และเครื่องมือในการประกอบอาชีพและอุปกรณ์เครื่องใช้ครัวเรือน และจากการประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าวโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ทั้งจากประชาชน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงหน่วยงานราชการในพื้นที่ต่าง ๆ และเพื่อให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างทั่วถึง และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบหลักและหน่วยงานรับผิดชอบร่วมอีก 5 หน่วยงาน ข้างต้น จึงได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียดโครงการฯ ในระยะที่ 2 โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549 ขยายจำนวนศูนย์เพิ่มอีก 8,000 ศูนย์ให้เป็น 10,000 ศูนย์ ตามหลักการของมาตรการโครงการฯ และได้ปรับกิจกรรมของโครงการ ฯ ให้ครอบคลุมกิจกรรมตามมาตรการโครงการ ฯ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการติดตามประเมินผล (สศช.) ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ ประสานงานกับหน่วยงานภาคีร่วม จัดทำโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มกราคม 2549--จบ--