คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่านตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และมอบหมายให้จังหวัดน่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ตามข้อ 4 ต่อไป ดังนี้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานสรุปผลการสนับสนุนจังหวัดแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอุทกภัย และการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
1. มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานนโยบานและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากอุทกภัยภาคเหนือ ติดตามสถานการณ์และเร่งรัดให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด
2. การตรวจสอบความเสียหายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2549) มีรายงานความเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
2.1 ด้านทรัพยากรน้ำ บ่อน้ำบาดาล 222 บ่อ ระบบประปาบาดาล 116 แห่ง เครื่องสูบ น้ำบาดาล 155 เครื่อง แหล่งน้ำผิวดินเสียหาย 33 แห่ง ระบบประปาผิวดินเสียหาย 40 แห่ง บ่อน้ำตื้นเสียหาย 1,500 แห่ง
2.2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีรายงานการเกิดดินถล่ม และเกิดรอยแยกของแผ่นดินประมาณ 208 แห่ง โดยกรมทรัพยากรธรณีได้ออกประกาศเตือนภัยและให้อาสาสมัครเฝ้าระวังดินถล่มเป็นผู้สังเกตการณ์ ส่วนพื้นที่ป่าไม้เสียหายจากอุทกภัยประมาณ 2,500 ไร่
2.3 ด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม พื้นที่เมืองเก่าอำเภอเวียงสาและท่าวังผาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งกรมศิลปากรอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
3. สนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 22-27 สิงหาคม 2549 ดังนี้
รายการ จำนวน
3.1 สนับสนุนด้านบุคลากรและเครื่องจักรกล
1. เจ้าหน้าที่ 725 นาย
2. เรือท้องแบน 2 ลำ
3. เรือหางยาว 1 ลำ
4. รถบรรทุกน้ำ 2 คัน
5. รถบรรทุก 6 ล้อ 2 คัน
6. รถยนต์บรรทุก ขับเคลื่อน 4 ล้อ 30 คัน
7. ชุดเป่าล้างบ่อบาดาล 9 ชุด
8. ชุดผลิตน้ำประปาสนาม 2 ชุด
9. ชุดเครื่องจักรเจาะบ่อบาดาล 5 ชุด
10. ชุดซ่อมระบบประปาบาดาล 4 ชุด
11. ชุดซ่อมเครื่องสูบน้ำบาดาล 4 ชุด
3.2 ผลการให้ความช่วยเหลือประชาชน
1. จ่ายน้ำสะอาด 6,600 ขวด
2. เป่าล้างทำความสะอาดบ่อน้ำบาดาล 86 แห่ง
3. ปรับปรุงฟื้นฟูบ่อน้ำตื้น 50 แห่ง
4. ซ่อมเครื่องสูบน้ำบาดาล 38 เครื่อง
5. ซ่อมระบบประปาบาดาล 3 แห่ง
6. เจาะบ่อบาดาล (เครื่องจักรยังเข้าพื้นที่ไม่ได้) -
4. การแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินถล่ม ระยะแรก เห็นควรประกาศให้อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และให้กระทรวงมหาดไทยอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัยก่อน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้พิจารณาจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชนเป็นการด่วนที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานสรุปผลการสนับสนุนจังหวัดแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอุทกภัย และการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
1. มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานนโยบานและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากอุทกภัยภาคเหนือ ติดตามสถานการณ์และเร่งรัดให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด
2. การตรวจสอบความเสียหายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2549) มีรายงานความเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
2.1 ด้านทรัพยากรน้ำ บ่อน้ำบาดาล 222 บ่อ ระบบประปาบาดาล 116 แห่ง เครื่องสูบ น้ำบาดาล 155 เครื่อง แหล่งน้ำผิวดินเสียหาย 33 แห่ง ระบบประปาผิวดินเสียหาย 40 แห่ง บ่อน้ำตื้นเสียหาย 1,500 แห่ง
2.2 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีรายงานการเกิดดินถล่ม และเกิดรอยแยกของแผ่นดินประมาณ 208 แห่ง โดยกรมทรัพยากรธรณีได้ออกประกาศเตือนภัยและให้อาสาสมัครเฝ้าระวังดินถล่มเป็นผู้สังเกตการณ์ ส่วนพื้นที่ป่าไม้เสียหายจากอุทกภัยประมาณ 2,500 ไร่
2.3 ด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม พื้นที่เมืองเก่าอำเภอเวียงสาและท่าวังผาได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งกรมศิลปากรอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
3. สนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 22-27 สิงหาคม 2549 ดังนี้
รายการ จำนวน
3.1 สนับสนุนด้านบุคลากรและเครื่องจักรกล
1. เจ้าหน้าที่ 725 นาย
2. เรือท้องแบน 2 ลำ
3. เรือหางยาว 1 ลำ
4. รถบรรทุกน้ำ 2 คัน
5. รถบรรทุก 6 ล้อ 2 คัน
6. รถยนต์บรรทุก ขับเคลื่อน 4 ล้อ 30 คัน
7. ชุดเป่าล้างบ่อบาดาล 9 ชุด
8. ชุดผลิตน้ำประปาสนาม 2 ชุด
9. ชุดเครื่องจักรเจาะบ่อบาดาล 5 ชุด
10. ชุดซ่อมระบบประปาบาดาล 4 ชุด
11. ชุดซ่อมเครื่องสูบน้ำบาดาล 4 ชุด
3.2 ผลการให้ความช่วยเหลือประชาชน
1. จ่ายน้ำสะอาด 6,600 ขวด
2. เป่าล้างทำความสะอาดบ่อน้ำบาดาล 86 แห่ง
3. ปรับปรุงฟื้นฟูบ่อน้ำตื้น 50 แห่ง
4. ซ่อมเครื่องสูบน้ำบาดาล 38 เครื่อง
5. ซ่อมระบบประปาบาดาล 3 แห่ง
6. เจาะบ่อบาดาล (เครื่องจักรยังเข้าพื้นที่ไม่ได้) -
4. การแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินถล่ม ระยะแรก เห็นควรประกาศให้อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และให้กระทรวงมหาดไทยอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัยก่อน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้พิจารณาจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ประชาชนเป็นการด่วนที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--