คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานโครงการจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ดังนี้
ความเป็นมา
กระทรวงแรงงานกำหนดให้มีโครงการจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ตั้งแต่ปี 2543 โดยว่าจ้างคณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทำการศึกษาและ จัดทำรายละเอียดข้อตกลงและเงื่อนไข (TERM OF REFERENCE) เพื่อใช้ประกอบการดำเนินการตามกรรมวิธี โดยผลการศึกษาพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงแรงงานทั้งหมดมีความหลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมช่วยพัฒนาระบบ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ส่งผลให้การปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานขาดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน อันนำไปสู่ประสิทธิภาพการปฏิบัติที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงานให้เป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องเชื่อมโยงประสานข้อมูลร่วมกันได้ แต่เนื่องจากความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพื่อปฏิบัติราชการด้านอื่น ๆ ตามนโยบายรัฐบาลทำให้ต้องชะลอการดำเนินการไว้ก่อน
โครงการจัดหาและดำเนินการระบบงานคอมพิวเตอร์สารสนเทศแรงงาน ได้กำหนดประมาณการงบประมาณที่ใช้จำนวน 3 ประเภท ประกอบด้วยค่าเช่าระบบเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ระบบและอุปกรณ์ประกอบค่าพัฒนาและดูแลรักษาระบบงานสารสนเทศ ค่าบริหารจัดการและดูแลรักษาศูนย์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,894,669,702 บาท (สองพันแปดร้อยเก้าสิบสี่ล้านหกแสนหกหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสองบาทถ้วน)
ต่อมารัฐบาลมีนโยบายการปฏิรูประบบราชการในปี 2545 ถึงปัจจุบัน กระทรวงแรงงานจึงได้เน้นการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายในการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการประชาชนในลักษณะการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP SERVICES) ลดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความสะดวกของประชาชนในการใช้บริการ รวมทั้งเสริมช่องทางการให้และรับบริการด้วยตนเอง (E-SERVICE) เช่น ศูนย์ E-JOB ศูนย์บริการ CALL CENTER 1506 เป็นต้น โดยส่วนราชการในสังกัดเจียดจ่ายงบประมาณดำเนินการไปพลางก่อน เพราะกระทรวงแรงงานยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการตามโครงการข้างต้นได้ ซึ่งสามารถให้บริการได้ดีขึ้นในระดับหนึ่งแต่ยังคงขาดระบบเทคโนโลยีที่จะช่วยบูรณาการข้อมูลให้เป็นระบบ E-LABOUR MANAGEMENT - OFFICE SYSTEMS ที่สมบูรณ์อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคด้านงบประมาณ กระทรวงแรงานก็ยังคงมีการปรับปรุงโครงการฯ ให้ทันสมัยต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ ภายใต้กรอบงบประมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลงด้วยความมุ่งหวังที่จะดำเนินการให้ดีและมีประสิทธิภาพ ทันทีที่สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านงบประมาณได้
สถานะการดำเนินการโครงการในปัจจุบัน
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีความมั่นคงในการทำงาน และมีหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำโครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเดิมผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคมมีประมาณ 8 ล้านคน เมื่อรวมกับแรงงานนอกระบบที่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมอีกประมาณ 7 ล้านคน ทำให้ระบบประกันสังคมต้องรับผิดชอบ การให้บริการประชาชนถึง 15 ล้านคน โดยประมาณ ซึ่งแผนการดำเนินการที่วางไว้ การขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 นี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระทรวงแรงงานต้องดำเนินการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ให้สามารถรองรับการปฏิบัติตามแผนดำเนินการโครงการข้างต้นได้อย่างทันท่วงทีด้วยความมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงแรงงาน จึงได้นำโครงการจัดหาและดำเนินการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน เข้าพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการนี้ต่อไป ส่วนอุปสรรคด้านงบประมาณนั้น ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมได้เห็นชอบหลักการของโครงการเรียบร้อยแล้ว
แนวทางการดำเนินการโครงการ
เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจัดหาและดำเนินการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับทุกส่วนราชการในสังกัด กระทรวงแรงงานจึงมีนโยบายให้กองทุนประกันสังคมเป็นหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณโครงการไปก่อน จากนั้นให้ทุกส่วนราชการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปีมาชดเชยให้กับกองทุนประกันสังคม โดยได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2549--จบ--
ความเป็นมา
กระทรวงแรงงานกำหนดให้มีโครงการจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ตั้งแต่ปี 2543 โดยว่าจ้างคณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทำการศึกษาและ จัดทำรายละเอียดข้อตกลงและเงื่อนไข (TERM OF REFERENCE) เพื่อใช้ประกอบการดำเนินการตามกรรมวิธี โดยผลการศึกษาพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงแรงงานทั้งหมดมีความหลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมช่วยพัฒนาระบบ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ส่งผลให้การปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานขาดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน อันนำไปสู่ประสิทธิภาพการปฏิบัติที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงานให้เป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องเชื่อมโยงประสานข้อมูลร่วมกันได้ แต่เนื่องจากความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพื่อปฏิบัติราชการด้านอื่น ๆ ตามนโยบายรัฐบาลทำให้ต้องชะลอการดำเนินการไว้ก่อน
โครงการจัดหาและดำเนินการระบบงานคอมพิวเตอร์สารสนเทศแรงงาน ได้กำหนดประมาณการงบประมาณที่ใช้จำนวน 3 ประเภท ประกอบด้วยค่าเช่าระบบเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ระบบและอุปกรณ์ประกอบค่าพัฒนาและดูแลรักษาระบบงานสารสนเทศ ค่าบริหารจัดการและดูแลรักษาศูนย์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,894,669,702 บาท (สองพันแปดร้อยเก้าสิบสี่ล้านหกแสนหกหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยสองบาทถ้วน)
ต่อมารัฐบาลมีนโยบายการปฏิรูประบบราชการในปี 2545 ถึงปัจจุบัน กระทรวงแรงงานจึงได้เน้นการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายในการบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้บริการประชาชนในลักษณะการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP SERVICES) ลดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความสะดวกของประชาชนในการใช้บริการ รวมทั้งเสริมช่องทางการให้และรับบริการด้วยตนเอง (E-SERVICE) เช่น ศูนย์ E-JOB ศูนย์บริการ CALL CENTER 1506 เป็นต้น โดยส่วนราชการในสังกัดเจียดจ่ายงบประมาณดำเนินการไปพลางก่อน เพราะกระทรวงแรงงานยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการตามโครงการข้างต้นได้ ซึ่งสามารถให้บริการได้ดีขึ้นในระดับหนึ่งแต่ยังคงขาดระบบเทคโนโลยีที่จะช่วยบูรณาการข้อมูลให้เป็นระบบ E-LABOUR MANAGEMENT - OFFICE SYSTEMS ที่สมบูรณ์อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคด้านงบประมาณ กระทรวงแรงานก็ยังคงมีการปรับปรุงโครงการฯ ให้ทันสมัยต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ ภายใต้กรอบงบประมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลงด้วยความมุ่งหวังที่จะดำเนินการให้ดีและมีประสิทธิภาพ ทันทีที่สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านงบประมาณได้
สถานะการดำเนินการโครงการในปัจจุบัน
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีความมั่นคงในการทำงาน และมีหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำโครงการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเดิมผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคมมีประมาณ 8 ล้านคน เมื่อรวมกับแรงงานนอกระบบที่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมอีกประมาณ 7 ล้านคน ทำให้ระบบประกันสังคมต้องรับผิดชอบ การให้บริการประชาชนถึง 15 ล้านคน โดยประมาณ ซึ่งแผนการดำเนินการที่วางไว้ การขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 นี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระทรวงแรงงานต้องดำเนินการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน ให้สามารถรองรับการปฏิบัติตามแผนดำเนินการโครงการข้างต้นได้อย่างทันท่วงทีด้วยความมีประสิทธิภาพ
คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงแรงงาน จึงได้นำโครงการจัดหาและดำเนินการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงาน เข้าพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการนี้ต่อไป ส่วนอุปสรรคด้านงบประมาณนั้น ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมได้เห็นชอบหลักการของโครงการเรียบร้อยแล้ว
แนวทางการดำเนินการโครงการ
เนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการจัดหาและดำเนินการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแรงงานมีความเกี่ยวข้องกับทุกส่วนราชการในสังกัด กระทรวงแรงงานจึงมีนโยบายให้กองทุนประกันสังคมเป็นหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณโครงการไปก่อน จากนั้นให้ทุกส่วนราชการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปีมาชดเชยให้กับกองทุนประกันสังคม โดยได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 เมษายน 2549--จบ--