คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 เห็นชอบให้เร่งรัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาพลังงานของประเทศ และมอบหมายให้นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ รับไปดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วนั้น บัดนี้ความ คืบหน้าในการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเอทานอลและไบโอดีเซลสรุปได้ดังนี้
1. การส่งเสริมการผลิตและการใช้เอทานอล
ขณะนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง สร้างเสร็จเรียบร้อยและทำการผลิตเอทานอลได้แล้วจำนวน 5 ราย โดยสามารถผลิตเอทานอลได้รวมกันประมาณ 570,000 ลิตรต่อวัน และภายในเดือนธันวาคม 2549 จะสามารถผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,008,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งจะทำให้สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไปการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในเดือนพฤษภาคม 2549 อยู่ที่วันละ 3.5 ล้านลิตร และมีความต้องการใช้เอทานอลวันละประมาณ 350,000 ลิตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 214% โดยมีสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์จำนวน 3,103 แห่ง และมีผู้ค้าน้ำมันร่วมจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้วจำนวน 9 ราย ได้แก่ ปตท. 1,202 แห่ง บางจาก 696 แห่ง เชลล์ 552 แห่ง ทีพีไอ 38 แห่ง เอสโซ่ 273 แห่ง คาลเท็กซ์ 229 แห่ง คอนโค 77 แห่ง ปิโตรนาส 27 แห่ง และสยามสหบริการ 9 แห่ง
ปัจจุบันได้มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงไปแล้วจำนวน 25 ราย กำลังการผลิตรวมกัน 4,985,000 ลิตรต่อวัน แต่จากการติดตามความคืบหน้าพบว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจะสามารถผลิตเอทานอลได้รวมกันไม่ถึง 3 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2550 ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวิภาพ จึงได้มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ เอทานอลพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความสนใจและพร้อมที่จะลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในทันทีที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2550 ประเทศไทยจะสามารถผลิตเอทานอลได้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน และสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป เร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนยุทธศาสตร์การใช้แก๊สโซฮอล์ ถึง 4 ปี นอกจากนี้ จะได้ส่งเสริมให้มีการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการผสมเอทานอลในสัดส่วนร้อยละ 20 กับน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 80 (E20) ซึ่งจะเริ่มมีการใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ตามนโยบายที่กำหนดไว้ต่อไป
2. การส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล
2.1 ปัจจุบันมีการจัดตั้งโรงงานไบโอดีเซลชุมชนขึ้นแล้วหลายแห่งโดยส่วนใหญ่จะทำการผลิต ไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว แต่ผลิตได้ในปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ ยังมีโรงงานไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ 1 แห่ง ของบริษัท ราชาไบโอดีเซล จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 20,000 ลิตรต่อวัน ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (บริเวณท่าเรือข้ามเกาะสมุย) ใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบ โดยไบโอดีเซลส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้เชื้อเพลิงสำหรับเรือข้ามฟากของบริษัทในเครือ และมีการจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันบางส่วน นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลของชุมนุม สหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณผู้ว่าซีอีโอ ขนาดกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อวัน คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2549
2.2 บริษัทน้ำมันที่ทำการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซลในขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัท คือ ปตท. และบางจาก โดยมีสถานีบริการ จำนวน 24 แห่ง แยกเป็น ปตท. 12 แห่ง และบางจาก 12 แห่ง (กรุงเทพฯ 10 แห่ง เชียงใหม่ 2 แห่ง) ยอดการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 อยู่ที่เดือนละประมาณ 6-7 แสนลิตรต่อเดือน (คิดเป็นปริมาณไบโอดีเซลที่ใช้ผสม 1,000 ลิตรต่อวัน) ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นรถกระบะและรถบรรทุก โดยราคาจำหน่าย B5 จะต่ำกว่าน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท สำหรับราคาไบโอดีเซลที่รับซื้อจากโรงงานจะอยู่ที่ลิตรละ 25 บาท บวกกับค่าขนส่งอีกลิตรละ 1 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 เห็นชอบให้เร่งรัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาพลังงานของประเทศ และมอบหมายให้นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ รับไปดำเนินการเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็วนั้น บัดนี้ความ คืบหน้าในการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากเอทานอลและไบโอดีเซลสรุปได้ดังนี้
1. การส่งเสริมการผลิตและการใช้เอทานอล
ขณะนี้มีโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง สร้างเสร็จเรียบร้อยและทำการผลิตเอทานอลได้แล้วจำนวน 5 ราย โดยสามารถผลิตเอทานอลได้รวมกันประมาณ 570,000 ลิตรต่อวัน และภายในเดือนธันวาคม 2549 จะสามารถผลิตเอทานอลได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,008,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งจะทำให้สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไปการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในเดือนพฤษภาคม 2549 อยู่ที่วันละ 3.5 ล้านลิตร และมีความต้องการใช้เอทานอลวันละประมาณ 350,000 ลิตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 214% โดยมีสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์จำนวน 3,103 แห่ง และมีผู้ค้าน้ำมันร่วมจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้วจำนวน 9 ราย ได้แก่ ปตท. 1,202 แห่ง บางจาก 696 แห่ง เชลล์ 552 แห่ง ทีพีไอ 38 แห่ง เอสโซ่ 273 แห่ง คาลเท็กซ์ 229 แห่ง คอนโค 77 แห่ง ปิโตรนาส 27 แห่ง และสยามสหบริการ 9 แห่ง
ปัจจุบันได้มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงไปแล้วจำนวน 25 ราย กำลังการผลิตรวมกัน 4,985,000 ลิตรต่อวัน แต่จากการติดตามความคืบหน้าพบว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจะสามารถผลิตเอทานอลได้รวมกันไม่ถึง 3 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2550 ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวิภาพ จึงได้มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ เอทานอลพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความสนใจและพร้อมที่จะลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในทันทีที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2550 ประเทศไทยจะสามารถผลิตเอทานอลได้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน และสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป เร็วกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนยุทธศาสตร์การใช้แก๊สโซฮอล์ ถึง 4 ปี นอกจากนี้ จะได้ส่งเสริมให้มีการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการผสมเอทานอลในสัดส่วนร้อยละ 20 กับน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 80 (E20) ซึ่งจะเริ่มมีการใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ตามนโยบายที่กำหนดไว้ต่อไป
2. การส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล
2.1 ปัจจุบันมีการจัดตั้งโรงงานไบโอดีเซลชุมชนขึ้นแล้วหลายแห่งโดยส่วนใหญ่จะทำการผลิต ไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว แต่ผลิตได้ในปริมาณไม่มากนัก นอกจากนี้ ยังมีโรงงานไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ 1 แห่ง ของบริษัท ราชาไบโอดีเซล จำกัด ขนาดกำลังการผลิต 20,000 ลิตรต่อวัน ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (บริเวณท่าเรือข้ามเกาะสมุย) ใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบ โดยไบโอดีเซลส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้เชื้อเพลิงสำหรับเรือข้ามฟากของบริษัทในเครือ และมีการจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันบางส่วน นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลของชุมนุม สหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณผู้ว่าซีอีโอ ขนาดกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อวัน คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2549
2.2 บริษัทน้ำมันที่ทำการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซลในขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัท คือ ปตท. และบางจาก โดยมีสถานีบริการ จำนวน 24 แห่ง แยกเป็น ปตท. 12 แห่ง และบางจาก 12 แห่ง (กรุงเทพฯ 10 แห่ง เชียงใหม่ 2 แห่ง) ยอดการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 อยู่ที่เดือนละประมาณ 6-7 แสนลิตรต่อเดือน (คิดเป็นปริมาณไบโอดีเซลที่ใช้ผสม 1,000 ลิตรต่อวัน) ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นรถกระบะและรถบรรทุก โดยราคาจำหน่าย B5 จะต่ำกว่าน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท สำหรับราคาไบโอดีเซลที่รับซื้อจากโรงงานจะอยู่ที่ลิตรละ 25 บาท บวกกับค่าขนส่งอีกลิตรละ 1 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--