คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้
1. กรณีเพิ่มเงินสงเคราะห์จากเดิม 200 บาท เป็น 350 บาท ในขณะนี้ผู้ประกันตนยังไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 และผู้ประกันตนจะได้รับเงินตกเบิกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
2. กรณีคลอดบุตรได้ปรับเปลี่ยนระบบจากการให้ผู้ประกันตนเบิกค่าคลอดบุตรจากอัตรา 6,000 บาท ต่อการคลอดหนึ่งครั้ง เป็นระบบเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล โดยสถานพยาบาลจะต้องให้บริการแก่ผู้ประกันตนหรือภริยาผู้ประกันตนตั้งแต่รับฝากครรภ์จนถึงการคลอดบุตรรวมถึงค่าบริบาลทารก และค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
ในกรณีนี้ ได้มีกลุ่มลูกจ้างบางกลุ่มเรียกร้องให้กลับไปใช้ระบบเดิม โดยขอเพิ่มจำนวนเงินค่าคลอดบุตร กระทรวงแรงงานจะดำเนินการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกันตน และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงระบบให้ผู้ประกันตนได้รับความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุด
3. กรณีทันตกรรมได้ปรับเปลี่ยนระบบริการทันตกรรมจากระบบเดิมที่กำหนดให้เบิกค่าบริการทันตกรรมกรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้ครั้งละไม่เกิน 200 บาท และปีละไม่เกิน 400 บาท โดยผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายไปก่อนและขอเบิกคืนภายหลัง เป็นระบบเหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาล ซึ่งผู้ประกันตนสามารถไปรับบริการที่สถานพยาบาล ตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่จำกัดจำนวนครั้งการเข้ารับบริการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549
ผลการดำเนินงานในช่วงแรก ปรากฏว่ามีผู้ประกันตนไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้สถานพยาบาลบางแห่งไม่สามารถให้บริการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการให้บริการ กระทรวงแรงงานจึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน ดังนี้
1) กรณีผู้ประกันตนไปรับบริการทันตกรรม ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ และสถานพยาบาลไม่สามารถให้บริการแก่ผู้ประกันตนตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนด ทำให้ผู้ประกันตนต้องเข้ารับบริการทันตกรรมจากสถานพยาบาลอื่น ผู้ประกันตนสามารถนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่ารักษาของสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษา และหลักฐานใบนัดรักษาของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ไปขอเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ในอัตราครั้งละ 200 บาท และปีละไม่เกิน 400 บาท ตามที่ผู้ประกันตนเคยได้รับในระบบเดิมเฉพาะในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2549
2) ได้แต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพทันตกรรม ผู้แทนจากสภาองค์การลูกจ้าง ฯลฯ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและกำหนดแนวทางที่จะทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
3) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกันตนในการใช้สิทธิรับบริการทันตกรรม กระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการแพทย์และการพยาบาลดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการทันตกรมของสถานพยาบาล และให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมไปตรวจเยี่ยมและปฏิบัติงาน ณ สถานพยาบาล เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนที่ไปรับบริการเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
4) สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว กระทรวงแรงงาน จะศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการได้โดยสะดวก เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--
1. กรณีเพิ่มเงินสงเคราะห์จากเดิม 200 บาท เป็น 350 บาท ในขณะนี้ผู้ประกันตนยังไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 และผู้ประกันตนจะได้รับเงินตกเบิกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
2. กรณีคลอดบุตรได้ปรับเปลี่ยนระบบจากการให้ผู้ประกันตนเบิกค่าคลอดบุตรจากอัตรา 6,000 บาท ต่อการคลอดหนึ่งครั้ง เป็นระบบเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล โดยสถานพยาบาลจะต้องให้บริการแก่ผู้ประกันตนหรือภริยาผู้ประกันตนตั้งแต่รับฝากครรภ์จนถึงการคลอดบุตรรวมถึงค่าบริบาลทารก และค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
ในกรณีนี้ ได้มีกลุ่มลูกจ้างบางกลุ่มเรียกร้องให้กลับไปใช้ระบบเดิม โดยขอเพิ่มจำนวนเงินค่าคลอดบุตร กระทรวงแรงงานจะดำเนินการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกันตน และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงระบบให้ผู้ประกันตนได้รับความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุด
3. กรณีทันตกรรมได้ปรับเปลี่ยนระบบริการทันตกรรมจากระบบเดิมที่กำหนดให้เบิกค่าบริการทันตกรรมกรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ได้ครั้งละไม่เกิน 200 บาท และปีละไม่เกิน 400 บาท โดยผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายไปก่อนและขอเบิกคืนภายหลัง เป็นระบบเหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาล ซึ่งผู้ประกันตนสามารถไปรับบริการที่สถานพยาบาล ตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและไม่จำกัดจำนวนครั้งการเข้ารับบริการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549
ผลการดำเนินงานในช่วงแรก ปรากฏว่ามีผู้ประกันตนไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้สถานพยาบาลบางแห่งไม่สามารถให้บริการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการให้บริการ กระทรวงแรงงานจึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน ดังนี้
1) กรณีผู้ประกันตนไปรับบริการทันตกรรม ณ สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ และสถานพยาบาลไม่สามารถให้บริการแก่ผู้ประกันตนตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนด ทำให้ผู้ประกันตนต้องเข้ารับบริการทันตกรรมจากสถานพยาบาลอื่น ผู้ประกันตนสามารถนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่ารักษาของสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษา และหลักฐานใบนัดรักษาของสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ไปขอเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ในอัตราครั้งละ 200 บาท และปีละไม่เกิน 400 บาท ตามที่ผู้ประกันตนเคยได้รับในระบบเดิมเฉพาะในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2549
2) ได้แต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพทันตกรรม ผู้แทนจากสภาองค์การลูกจ้าง ฯลฯ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและกำหนดแนวทางที่จะทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
3) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกันตนในการใช้สิทธิรับบริการทันตกรรม กระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการแพทย์และการพยาบาลดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการทันตกรมของสถานพยาบาล และให้เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมไปตรวจเยี่ยมและปฏิบัติงาน ณ สถานพยาบาล เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนที่ไปรับบริการเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
4) สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว กระทรวงแรงงาน จะศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการได้โดยสะดวก เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--