คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผนการการดำเนินงานในการฟื้นฟูสภาพงานก่อสร้าง และมาตรการการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2549 เวลาประมาณ 16.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่กิจกรรมครัวการบิน อาคารผลิตและปฏิบัติการ ชั้น 1 บริเวณห้องเย็นของ Receiving Area ขนาดพื้นที่เกิดเหตุประมาณ 36 X 24 เมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ 864 ตารางเมตร โดยความเสียหายจากควันไฟมีผลกระทบต่อ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 90,000 ตารางเมตร
1.2 การปฏิบัติการดับเพลิง และให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จัดรถดับเพลิงอาคาร และรถช่วยเหลือจำนวน 17 คัน เข้าปฏิบัติการ โดยมีหน่วยดับเพลิงจาก อบต. ต่าง ๆ ในพื้นที่ และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยดับเพลิงของมูลนิธิ และเอกชนให้การสนับสนุนร่วมปฏิบัติงาน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้เวลา 16.20 น. โดยหน่วยปฏิบัติการเข้าถึงพื้นที่ได้เวลา 16.22 น. และปฏิบัติหน้าที่จนถึงเวลา 08.00 น. ของวันถัดไป
1.3 ผลการสอบสวนเบื้องต้น จากคำให้การของผู้เกี่ยวข้องและหลักฐานภาพถ่ายต่าง ๆ ในที่เกิดเหตุ พบว่าบริเวณเกิดเหตุมีคนงานกำลังดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ครัวร้อน คือ UDD (Utility Distribution Duct ซึ่งเป็นชุดรวมท่อระบบต่าง ๆ เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ในห้องครัวร้อน) และระบบรองรับอุปกรณ์ครัวดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด ขึ้นอยู่กับการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน และการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งขณะนี้ได้สอบปากคำพยานผู้เกี่ยวข้องไปแล้วประมาณกว่า 130 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ วันที่ 25 มกราคม 2549
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้มอบหมายให้บริษัท การบินไทยฯ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 เพื่อสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงและสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว
ชอีกทางหนึ่งด้วย โดยให้รายงานผลให้ทราบภายใน 7 วัน
1.4 ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.4.1 ความเสียหายต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิต 1 คน สาเหตุจากขาดอากาศหายใจ และ มีผู้บาดเจ็บ 3 คน เนื่องจากกระโดดตึกลงมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรักษาตัว (ทั้ง 4 ราย เป็นลูกจ้าง Subcontractor บมจ. โคเน่ ไทยลิฟท์)
1.4.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และประเมิน ความเสียหาย ซึ่งที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ออกแบบ และผู้รับจ้าง พร้อมด้วยผู้แทนบริษัทประกันภัย (บมจ. ทิพยประกันภัย) ได้เข้าสำรวจพื้นที่และอุปกรณ์ความเสียหาย รวมทั้งมูลค่าความเสียหาย โดยได้เชิญนายวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) และคณะ มาสำรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย เพื่อให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะต่อที่ปรึกษางานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างในการวิเคราะห์สภาพโครงสร้างอาคาร พร้อมเสนอความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการดังกล่าว
2. แผนการดำเนินงานในการฟื้นฟูสภาพงานก่อสร้าง แม้ว่าพื้นที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นเป็น บริเวณกว้าง แต่บริษัท การบินไทยฯ ได้พิจารณาและวางแผนการฟื้นฟูสภาพงานก่อสร้างร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้สรุปว่าการฟื้นฟูจะแล้วเสร็จทันกำหนดการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเดือนมิถุนายน 2549 อย่างไรก็ดี หากผลการตรวจสอบความเสียหายของอาคารพบว่า มีบางส่วนที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข บริษัท การบินไทย ฯ ได้เตรียมแผนรองรับการให้บริการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไว้ด้วย โดยขั้นตอนการประกอบอาหารจะดำเนินการที่อาคารครัวการบิน ท่าอากาศยานกรุงเทพ ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ เช่น การบรรจุอาหารขึ้นเครื่องจะดำเนินการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อสายการบินซึ่งเป็นลูกค้าของครัวการบินไทย
3. มาตรการการป้องกันอุบัติภัย เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น นอกเหนือจากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่แล้ว กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่อมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการก่อสร้างและติดตั้งระบบต่าง ๆ ในอาคาร โดยกำหนด มาตรการไว้ ดังนี้
3.1 ให้ผู้ควบคุมงานควบคุมให้ผู้รับเหมาปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรม และความปลอดภัยตามสัญญา
3.2 ให้ผู้รับเหมาของทุกสัญญาการก่อสร้าง ส่งแบบแปลนรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้าง พร้อมรายละเอียดให้หน่วยดับเพลิง และหน่วยรักษาความปลอดภัยของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทราบเป็นการล่วงหน้า
3.3 ให้ทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการการลงโทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านวิศวกรรมและความปลอดภัยอย่างเด็ดขาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--
1. ข้อเท็จจริง
1.1 เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2549 เวลาประมาณ 16.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่กิจกรรมครัวการบิน อาคารผลิตและปฏิบัติการ ชั้น 1 บริเวณห้องเย็นของ Receiving Area ขนาดพื้นที่เกิดเหตุประมาณ 36 X 24 เมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ 864 ตารางเมตร โดยความเสียหายจากควันไฟมีผลกระทบต่อ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 90,000 ตารางเมตร
1.2 การปฏิบัติการดับเพลิง และให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดเหตุ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จัดรถดับเพลิงอาคาร และรถช่วยเหลือจำนวน 17 คัน เข้าปฏิบัติการ โดยมีหน่วยดับเพลิงจาก อบต. ต่าง ๆ ในพื้นที่ และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยดับเพลิงของมูลนิธิ และเอกชนให้การสนับสนุนร่วมปฏิบัติงาน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้เวลา 16.20 น. โดยหน่วยปฏิบัติการเข้าถึงพื้นที่ได้เวลา 16.22 น. และปฏิบัติหน้าที่จนถึงเวลา 08.00 น. ของวันถัดไป
1.3 ผลการสอบสวนเบื้องต้น จากคำให้การของผู้เกี่ยวข้องและหลักฐานภาพถ่ายต่าง ๆ ในที่เกิดเหตุ พบว่าบริเวณเกิดเหตุมีคนงานกำลังดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ครัวร้อน คือ UDD (Utility Distribution Duct ซึ่งเป็นชุดรวมท่อระบบต่าง ๆ เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ในห้องครัวร้อน) และระบบรองรับอุปกรณ์ครัวดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด ขึ้นอยู่กับการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน และการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งขณะนี้ได้สอบปากคำพยานผู้เกี่ยวข้องไปแล้วประมาณกว่า 130 คน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ วันที่ 25 มกราคม 2549
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้มอบหมายให้บริษัท การบินไทยฯ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 เพื่อสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงและสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว
ชอีกทางหนึ่งด้วย โดยให้รายงานผลให้ทราบภายใน 7 วัน
1.4 ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.4.1 ความเสียหายต่อชีวิต มีผู้เสียชีวิต 1 คน สาเหตุจากขาดอากาศหายใจ และ มีผู้บาดเจ็บ 3 คน เนื่องจากกระโดดตึกลงมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรักษาตัว (ทั้ง 4 ราย เป็นลูกจ้าง Subcontractor บมจ. โคเน่ ไทยลิฟท์)
1.4.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และประเมิน ความเสียหาย ซึ่งที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ออกแบบ และผู้รับจ้าง พร้อมด้วยผู้แทนบริษัทประกันภัย (บมจ. ทิพยประกันภัย) ได้เข้าสำรวจพื้นที่และอุปกรณ์ความเสียหาย รวมทั้งมูลค่าความเสียหาย โดยได้เชิญนายวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) และคณะ มาสำรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย เพื่อให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะต่อที่ปรึกษางานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างในการวิเคราะห์สภาพโครงสร้างอาคาร พร้อมเสนอความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาการดำเนินการดังกล่าว
2. แผนการดำเนินงานในการฟื้นฟูสภาพงานก่อสร้าง แม้ว่าพื้นที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นเป็น บริเวณกว้าง แต่บริษัท การบินไทยฯ ได้พิจารณาและวางแผนการฟื้นฟูสภาพงานก่อสร้างร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้สรุปว่าการฟื้นฟูจะแล้วเสร็จทันกำหนดการเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเดือนมิถุนายน 2549 อย่างไรก็ดี หากผลการตรวจสอบความเสียหายของอาคารพบว่า มีบางส่วนที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข บริษัท การบินไทย ฯ ได้เตรียมแผนรองรับการให้บริการครัวการบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไว้ด้วย โดยขั้นตอนการประกอบอาหารจะดำเนินการที่อาคารครัวการบิน ท่าอากาศยานกรุงเทพ ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ เช่น การบรรจุอาหารขึ้นเครื่องจะดำเนินการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อสายการบินซึ่งเป็นลูกค้าของครัวการบินไทย
3. มาตรการการป้องกันอุบัติภัย เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น นอกเหนือจากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่แล้ว กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่อมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการก่อสร้างและติดตั้งระบบต่าง ๆ ในอาคาร โดยกำหนด มาตรการไว้ ดังนี้
3.1 ให้ผู้ควบคุมงานควบคุมให้ผู้รับเหมาปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรม และความปลอดภัยตามสัญญา
3.2 ให้ผู้รับเหมาของทุกสัญญาการก่อสร้าง ส่งแบบแปลนรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้าง พร้อมรายละเอียดให้หน่วยดับเพลิง และหน่วยรักษาความปลอดภัยของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทราบเป็นการล่วงหน้า
3.3 ให้ทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการการลงโทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านวิศวกรรมและความปลอดภัยอย่างเด็ดขาด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--