คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการกู้เงินเพื่อ Refinance เงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP Programme) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ได้อนุมัติในหลักการและเงื่อนไขการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRN) วงเงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะไถ่ถอน 3 ปี โดยมี Standard Chartered Bank เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดจำหน่ายตราสาร เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย
2. ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายตราสาร (Subscription Agreement) กับ Standard Chartered Bank ในฐานะหัวหน้าคณะผู้จัดการจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) และลงนามในความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency Agreement) กับ Deutsche Bank AG โดยมี Deutsche Bank AG สาขาฮ่องกง ในฐานะหัวหน้าตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agent) และนายทะเบียน (Register) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับเงินจากการออกตราสาร FRN เป็นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549
3. วัตถุประสงค์หลักของการออกตราสาร FRN ของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ เพื่อเป็นการ Refinance เงินกู้ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดภาระดอกเบี้ยได้ การออกตราสารในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จ โดยสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตราสารได้ที่ระดับ LIBOR ระยะ 6 เดือน ลบด้วยส่วนต่าง 7 Basis Points ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่กระทรวงการคลังเคยระดมเงินกู้จากตลาดทุนต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับการออกตราสาร FRN เมื่อปี 2546 และ 2547 ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่อัตรา LIBOR ระยะ 6 เดือน บวกด้วยส่วนต่างเท่ากับ 29.75 และ 11.50 Basis Points ตามลำดับ และการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจัดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น (Samurai Bond) เมื่อปี 2548 ที่อัตราดอกเบี้ย Yen/Yen Swap ระยะ 3 ปี บวกด้วยส่วนต่าง 2 Basis Points
4. การกู้เงินโดยการออกตราสาร FRN รายนี้ มีต้นทุนการกู้เงินในรูปอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (All-in-Cost) เท่ากับ LIBOR ระยะ 6 เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ 0.04 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 4.92375 ต่อปี ตามภาวะตลาด ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Swap อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว เป็นอัตราลอยตัวสกุลเงินบาทซึ่งเทียบเท่าอัตราร้อยละ 4.11 ต่อปี ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินกู้เดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.10 ต่อปี ดังนั้น การทำ Refinance เงินกู้โดยการออกตราสาร FRN ตามภาวะตลาดปัจจุบันภายใต้เงื่อนไขการทำ Coupon Swap ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยภายหลังจากการหักค่าปรับแล้วเป็นเงินประมาณ 102 ถึง 211 ล้านบาท สำหรับระยะเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--
1. ได้อนุมัติในหลักการและเงื่อนไขการกู้เงินโดยวิธีการออกตราสารอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRN) วงเงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะไถ่ถอน 3 ปี โดยมี Standard Chartered Bank เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดจำหน่ายตราสาร เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP) ที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการทำ Refinance เงินกู้ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย
2. ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการจัดจำหน่ายตราสาร (Subscription Agreement) กับ Standard Chartered Bank ในฐานะหัวหน้าคณะผู้จัดการจำหน่ายตราสาร (Lead Manager) และลงนามในความตกลงว่าด้วยการเป็นตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agency Agreement) กับ Deutsche Bank AG โดยมี Deutsche Bank AG สาขาฮ่องกง ในฐานะหัวหน้าตัวแทนรับจ่ายเงิน (Fiscal Agent) และนายทะเบียน (Register) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รับเงินจากการออกตราสาร FRN เป็นจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนเงินกู้ ECP เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549
3. วัตถุประสงค์หลักของการออกตราสาร FRN ของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ เพื่อเป็นการ Refinance เงินกู้ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดภาระดอกเบี้ยได้ การออกตราสารในครั้งนี้นับว่าประสบผลสำเร็จ โดยสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตราสารได้ที่ระดับ LIBOR ระยะ 6 เดือน ลบด้วยส่วนต่าง 7 Basis Points ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่กระทรวงการคลังเคยระดมเงินกู้จากตลาดทุนต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับการออกตราสาร FRN เมื่อปี 2546 และ 2547 ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่อัตรา LIBOR ระยะ 6 เดือน บวกด้วยส่วนต่างเท่ากับ 29.75 และ 11.50 Basis Points ตามลำดับ และการออกพันธบัตรเงินเยนชนิดจัดจำหน่ายทั่วไปในตลาดทุนญี่ปุ่น (Samurai Bond) เมื่อปี 2548 ที่อัตราดอกเบี้ย Yen/Yen Swap ระยะ 3 ปี บวกด้วยส่วนต่าง 2 Basis Points
4. การกู้เงินโดยการออกตราสาร FRN รายนี้ มีต้นทุนการกู้เงินในรูปอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (All-in-Cost) เท่ากับ LIBOR ระยะ 6 เดือน ลบด้วยส่วนต่างร้อยละ 0.04 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 4.92375 ต่อปี ตามภาวะตลาด ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการ Swap อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว เป็นอัตราลอยตัวสกุลเงินบาทซึ่งเทียบเท่าอัตราร้อยละ 4.11 ต่อปี ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับเงินกู้เดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.10 ต่อปี ดังนั้น การทำ Refinance เงินกู้โดยการออกตราสาร FRN ตามภาวะตลาดปัจจุบันภายใต้เงื่อนไขการทำ Coupon Swap ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้กระทรวงการคลังสามารถประหยัดภาระดอกเบี้ยภายหลังจากการหักค่าปรับแล้วเป็นเงินประมาณ 102 ถึง 211 ล้านบาท สำหรับระยะเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 เมษายน 2549--จบ--