คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ประธานกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ รายงานผลการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ณ จังหวัด พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ซึ่งคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ได้ดำเนินการตามแผนงานและวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 และวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 โดยได้จัดกิจกรรมในการจัดงาน 3 กิจกรรม คือ งานรำลึก 1 ปี (One Year in Memory of Tsunami) พิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ และกิจกรรมฟื้นฟูอันดามัน ณ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549 ซึ่งการดำเนินงานได้สิ้นสุดแล้ว สรุปได้ดังนี้
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วยจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทยเหตุการณ์ในครั้งนั้นก่อให้เกิดความสูญเสียครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด 24 อำเภอ 78 ตำบล 292 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 54,672 คน ทรัพย์สินเสียหายประมาณ 17,438.15 ล้านบาท และยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในครั้งนั้น ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ต้องสูญเสียพระโอรส คุณพุ่ม เจนเซ่น ในเหตุการณ์นี้ด้วย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตรวม 5,395 คน เป็นคนไทย 1,953 คน ต่างประเทศ 1,953 คน และไม่สามารถระบุได้จำนวน 1,517 คน มีผู้บาดเจ็บ รวม 8,457 คน เป็นคนไทย 6,065 คน ต่างประเทศ 2,392 คน และผู้สูญหายจำนวน 2,940 คน เป็นคนไทย 2,023 คน ต่างประเทศ 917 คน
ดังนั้นในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการเกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิ รัฐบาลได้จัดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ แสดงถึงความห่วงใยอย่างจริงใจที่มีต่อผู้ประสบภัย และต้องการฟื้นฟูทางด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการจัดงานครบรอบ 1 ปี สึนามิ โดย นายกรัฐมนตรีได้ลงนามใน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ คำสั่งที่ 318/2548 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2548 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการและได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ 10 คณะคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ได้กำหนดวัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์และไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สึนามิ เป็นการสร้างความมั่นใจและเผยแพร่ภาพพจน์ที่ดีงาม สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวงเงิน 300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 ผลการจัดงานมีดังนี้
1. จำนวนผู้เข้าร่วมงาน
บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมงานประกอบด้วยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี คณะรัฐมนตรี อาทิ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ การกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางเอสเตอร์ คูเปอร์สมิท (พระสหายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) Minister of Interior and Kingdom Relations ของเนเธอร์แลนด์ Minister of State for Education and Manpower ของสิงคโปร์ Former Minister of Foreign Affairs ของนอร์เวย์ และ Miss Tilly Smith (Special Envoy of UN/ISDR)
(1) ผู้เข้าร่วมงานชาวต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,347 คน
- ผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิต 1,200 คน
- คณะทูตและผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ 140 คน
- บุคคลสำคัญที่มาร่วมงาน 7 คน
(2) ผู้เข้าร่วมงานชาวไทย จำนวนทั้งสิ้น 5,200 คน
- ผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิต 5,000 คน
- บุคคลสำคัญ อาทิ คณะรัฐมนตรี สส. สว. 200 คน
2. กิจกรรมรำลึก 1 ปี สึนามิ
(1) พิธีไว้อาลัยผู้ประสบภัยสึนามิ
พิธีไว้อาลัยผู้ประสบภัย จัดให้มีขึ้น 7 แห่งพร้อมกันใน 4 จังหวัด ซึ่งจัดให้มีพิธีการเหมือนกันทุกที่ โดยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นประธานในพิธีทั้ง 7 หาด ในพิธีประกอบด้วยการไว้อาลัยและวางดอกไม้เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ประสบภัย โดยมีผู้ร่วมงานในหาดต่าง ๆ ดังนี้
จังหวัดภูเก็ต
หาดป่าตอง มีผู้ร่วมงาน 220 คน
หาดกมลา มีผู้ร่วมงาน 55 คน
สุสานไม้ขาว มีผู้ร่วมงาน 465 คน
รวม 740 คน
จังหวัดพังงา
หาดบ้านน้ำเค็ม มีผู้ร่วมงาน 2,027 คน
หาดบางเนียง มีผู้ร่วมงาน 1,573 คน
รวม 3,600 คน
จังหวัดกระบี่
หาดพีพี มีผู้ร่วมงาน 431 คน
จังหวัดตรัง
หาดเจ้าไหม มีผู้ร่วมงาน 1,500 คน
(2) พิธีรำลึก 1 ปี สึนามิและพิธีทางศาสนา
พิธีรำลึก 1 ปี สึนามิ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์และให้คลายความเศร้าโศก ในพิธีประกอบด้วยพิธีทางศาสนา 6 ศาสนา พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกซ์ และยิว หลังพิธีทางศาสนา ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประทานพระดำรัสแด่ผู้ร่วมงาน นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์ และมีพิธีปิดงานด้วยการปล่อยโคมลอย จำนวน 5,000 โคม ขึ้นสู่ท้องฟ้า ภาพดังกล่าวได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในงาน ทำให้มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ประมาณ 10,000 คน
3. พิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ
อนุสรณ์สถานสึนามิ เป็นถาวรวัตถุที่แสดงให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้น เป็นมหันตภัยที่ร้ายแรง ยังความเสียหายให้แก่มนุษย์ชาติเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการกำหนดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ณ หาดเล็กอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-รำลู่ จังหวัดพังงา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีกรในงานคือ มิสนาตาลี เกลโบลวา (นางงามจักรวาลปีปัจจุบัน) และนายสัญญา คุณากร พิธีวางศิลาฤกษ์เป็นพิธีทางพุทธ-พราหมณ์ มีการเชิญแผ่นโลหะจารึกดวงฤกษ์และชื่อประเทศผู้ถึงแก่กรรมในเหตุการณ์ 38 ประเทศ โดยทหารเรือ 4 นาย มีผู้ร่วมงานจำนวน 3,400 คน
4. กิจกรรมฟื้นฟูอันดามัน
ประกอบด้วยกิจกรรมท่องเที่ยว กิจกรรมบันเทิง กิจกรรมกีฬา ซึ่งจัด ณ 6 จังหวัดที่ประสบภัย ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549 การแสดงที่จัดขึ้น เช่น การจัดแสดงละครเรื่อง Backpacker Orpheus โดยเชื่อมโยงเหตุการณ์ในละครกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย Rhythm of The Island เป็นการแสดง แสง สี เสียง เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอันดามัน การนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น การประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 15 การแข่งขันเรือใบนานาชาติ วอลเลย์บอลชายหาด ฟุตบอลชายหาด การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพประจำปี 2548-2549 เป็นต้น ผลการจัดกิจกรรมมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและชาวไทยได้เข้าร่วมงานจำนวนมาก เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนในพื้นที่และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ ได้สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่นักท่องเที่ยว
5. การจัดงานประมูลภาพเขียนและขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานครบรอบ 1 ปีสึนามิ
จากการจัดงานรำลึก 1 ปีสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ณ จังหวัดพังงา คณะกรรมการได้มอบหมายให้กลุ่มศิลปินจำนวน 60 คน วาดภาพที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สึนามิจำนวน 120 ภาพ เพื่อนำไปแสดงในงานดังกล่าว และเมื่อสิ้นสุดงานคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่สวยงามและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก จึงเห็นควรที่จะนำมาแสดงและเปิดประมูลแก่สาธารณชนโดยทั่วไป คณะกรรมการจึงได้มีมติให้จัดงานกาลาดินเนอร์เพื่อเปิดการประมูลภาพเขียน และในโอกาสเดียวกันก็เป็นการแสดงความขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2549 เวลา 18.00 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอล โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รวมทั้งจัดให้มีการแสดงนิทรรศการภาพวาด ในระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2549
ภาพวาดจำนวน 120 ภาพ จะเป็นภาพที่จะนำไปประมูล จำนวน 20 ภาพ นำไปแสดง ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ จ.พังงา จำนวน 10 ภาพ สำหรับภาพที่เหลือ จำนวน 90 ภาพ จะเปิดจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจทั่วไปในวันจัดนิทรรศการ คณะกรรมการได้กราบทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธาน โดยรายได้จากการประมูลภาพดังกล่าว จะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิ คุณพุ่ม เจนเซ่น โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ผลการประมูลและจำหน่ายภาพ มีดังนี้
- มูลค่าจากการประมูลภาพ จำนวน 20 ภาพ 5,090,000.- บาท
- มูลค่าจากการจำหน่ายภาพ จำนวน 17 ภาพ 520,000.- บาท
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,610,000.- บาท
6. งบประมาณ
สรุปงบประมาณเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 งบกลางดังนี้
- วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 299,500,000 ล้านบาท
- รวมวงเงินที่คณะกรรมการอนุมัติทั้งสิ้น 275,529,789 ล้านบาท
- รวมค่าใช้จ่ายจริง 208,930,110 ล้านบาท
- คงเหลือวงเงินต่ำกว่าที่คณะกรรมการอนุมัติ 66,599,679 ล้านบาท
- และต่ำกว่าที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 90,569,889 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการจักได้นำเงินที่เหลือจ่ายส่งคืนคลังต่อไป
7. ผลสำเร็จที่ได้จากจัดงาน
การจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิในครั้งนี้ ได้รับความสำเร็จและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) ด้านจิตใจ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยมีความหวังในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความรู้สึกว่ามิได้อยู่และต่อสู้เพียงลำพัง รัฐบาลได้มีความตั้งใจและช่วยเหลือในการฟื้นฟูอย่างจริงจัง
(2) ด้านเผยแพร่ภาพพจน์ที่ดีงาม การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวนสื่อต่างประเทศที่เข้าร่วมงาน จำนวน 432 คน และสำนักข่าวที่เข้ามาทำข่าว จำนวน 211 แห่ง ทำให้มีการเผยแพร่ภาพไปยังต่างประเทศในหลายประเทศ
(3) ด้านเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สรุปภาวะเศรษฐกิจด้านภาวะการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีการปรับตัว/ขยายตัวดีขึ้น การลงทุนมีสัญญาณที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 233,788 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.3
นอกจากนี้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพังงา ได้รายงานว่าในช่วงเดือน มกราคม — มีนาคม 2549 ได้รับการอนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 7 โครงการ เป็นโครงการด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว วงเงินลงทุน 769.4 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วยจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทยเหตุการณ์ในครั้งนั้นก่อให้เกิดความสูญเสียครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด 24 อำเภอ 78 ตำบล 292 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 54,672 คน ทรัพย์สินเสียหายประมาณ 17,438.15 ล้านบาท และยังส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในครั้งนั้น ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ต้องสูญเสียพระโอรส คุณพุ่ม เจนเซ่น ในเหตุการณ์นี้ด้วย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิตรวม 5,395 คน เป็นคนไทย 1,953 คน ต่างประเทศ 1,953 คน และไม่สามารถระบุได้จำนวน 1,517 คน มีผู้บาดเจ็บ รวม 8,457 คน เป็นคนไทย 6,065 คน ต่างประเทศ 2,392 คน และผู้สูญหายจำนวน 2,940 คน เป็นคนไทย 2,023 คน ต่างประเทศ 917 คน
ดังนั้นในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการเกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิ รัฐบาลได้จัดให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ แสดงถึงความห่วงใยอย่างจริงใจที่มีต่อผู้ประสบภัย และต้องการฟื้นฟูทางด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการจัดงานครบรอบ 1 ปี สึนามิ โดย นายกรัฐมนตรีได้ลงนามใน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ คำสั่งที่ 318/2548 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2548 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการและได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ 10 คณะคณะกรรมการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ได้กำหนดวัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์และไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สึนามิ เป็นการสร้างความมั่นใจและเผยแพร่ภาพพจน์ที่ดีงาม สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ประสบภัยให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวงเงิน 300 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 ผลการจัดงานมีดังนี้
1. จำนวนผู้เข้าร่วมงาน
บุคคลสำคัญที่เข้าร่วมงานประกอบด้วยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี คณะรัฐมนตรี อาทิ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและ การกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางเอสเตอร์ คูเปอร์สมิท (พระสหายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) Minister of Interior and Kingdom Relations ของเนเธอร์แลนด์ Minister of State for Education and Manpower ของสิงคโปร์ Former Minister of Foreign Affairs ของนอร์เวย์ และ Miss Tilly Smith (Special Envoy of UN/ISDR)
(1) ผู้เข้าร่วมงานชาวต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,347 คน
- ผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิต 1,200 คน
- คณะทูตและผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ 140 คน
- บุคคลสำคัญที่มาร่วมงาน 7 คน
(2) ผู้เข้าร่วมงานชาวไทย จำนวนทั้งสิ้น 5,200 คน
- ผู้บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิต 5,000 คน
- บุคคลสำคัญ อาทิ คณะรัฐมนตรี สส. สว. 200 คน
2. กิจกรรมรำลึก 1 ปี สึนามิ
(1) พิธีไว้อาลัยผู้ประสบภัยสึนามิ
พิธีไว้อาลัยผู้ประสบภัย จัดให้มีขึ้น 7 แห่งพร้อมกันใน 4 จังหวัด ซึ่งจัดให้มีพิธีการเหมือนกันทุกที่ โดยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นประธานในพิธีทั้ง 7 หาด ในพิธีประกอบด้วยการไว้อาลัยและวางดอกไม้เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ประสบภัย โดยมีผู้ร่วมงานในหาดต่าง ๆ ดังนี้
จังหวัดภูเก็ต
หาดป่าตอง มีผู้ร่วมงาน 220 คน
หาดกมลา มีผู้ร่วมงาน 55 คน
สุสานไม้ขาว มีผู้ร่วมงาน 465 คน
รวม 740 คน
จังหวัดพังงา
หาดบ้านน้ำเค็ม มีผู้ร่วมงาน 2,027 คน
หาดบางเนียง มีผู้ร่วมงาน 1,573 คน
รวม 3,600 คน
จังหวัดกระบี่
หาดพีพี มีผู้ร่วมงาน 431 คน
จังหวัดตรัง
หาดเจ้าไหม มีผู้ร่วมงาน 1,500 คน
(2) พิธีรำลึก 1 ปี สึนามิและพิธีทางศาสนา
พิธีรำลึก 1 ปี สึนามิ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์และให้คลายความเศร้าโศก ในพิธีประกอบด้วยพิธีทางศาสนา 6 ศาสนา พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู ซิกซ์ และยิว หลังพิธีทางศาสนา ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงประทานพระดำรัสแด่ผู้ร่วมงาน นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์ และมีพิธีปิดงานด้วยการปล่อยโคมลอย จำนวน 5,000 โคม ขึ้นสู่ท้องฟ้า ภาพดังกล่าวได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่เปิดประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในงาน ทำให้มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ประมาณ 10,000 คน
3. พิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ
อนุสรณ์สถานสึนามิ เป็นถาวรวัตถุที่แสดงให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้น เป็นมหันตภัยที่ร้ายแรง ยังความเสียหายให้แก่มนุษย์ชาติเป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการกำหนดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ณ หาดเล็กอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-รำลู่ จังหวัดพังงา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีกรในงานคือ มิสนาตาลี เกลโบลวา (นางงามจักรวาลปีปัจจุบัน) และนายสัญญา คุณากร พิธีวางศิลาฤกษ์เป็นพิธีทางพุทธ-พราหมณ์ มีการเชิญแผ่นโลหะจารึกดวงฤกษ์และชื่อประเทศผู้ถึงแก่กรรมในเหตุการณ์ 38 ประเทศ โดยทหารเรือ 4 นาย มีผู้ร่วมงานจำนวน 3,400 คน
4. กิจกรรมฟื้นฟูอันดามัน
ประกอบด้วยกิจกรรมท่องเที่ยว กิจกรรมบันเทิง กิจกรรมกีฬา ซึ่งจัด ณ 6 จังหวัดที่ประสบภัย ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2548 — 4 มกราคม 2549 การแสดงที่จัดขึ้น เช่น การจัดแสดงละครเรื่อง Backpacker Orpheus โดยเชื่อมโยงเหตุการณ์ในละครกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย Rhythm of The Island เป็นการแสดง แสง สี เสียง เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอันดามัน การนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น การประกาศผลรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 15 การแข่งขันเรือใบนานาชาติ วอลเลย์บอลชายหาด ฟุตบอลชายหาด การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพประจำปี 2548-2549 เป็นต้น ผลการจัดกิจกรรมมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและชาวไทยได้เข้าร่วมงานจำนวนมาก เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนในพื้นที่และฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ ได้สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่นักท่องเที่ยว
5. การจัดงานประมูลภาพเขียนและขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานครบรอบ 1 ปีสึนามิ
จากการจัดงานรำลึก 1 ปีสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 ณ จังหวัดพังงา คณะกรรมการได้มอบหมายให้กลุ่มศิลปินจำนวน 60 คน วาดภาพที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สึนามิจำนวน 120 ภาพ เพื่อนำไปแสดงในงานดังกล่าว และเมื่อสิ้นสุดงานคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่สวยงามและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก จึงเห็นควรที่จะนำมาแสดงและเปิดประมูลแก่สาธารณชนโดยทั่วไป คณะกรรมการจึงได้มีมติให้จัดงานกาลาดินเนอร์เพื่อเปิดการประมูลภาพเขียน และในโอกาสเดียวกันก็เป็นการแสดงความขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน 2549 เวลา 18.00 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอล โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รวมทั้งจัดให้มีการแสดงนิทรรศการภาพวาด ในระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2549
ภาพวาดจำนวน 120 ภาพ จะเป็นภาพที่จะนำไปประมูล จำนวน 20 ภาพ นำไปแสดง ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ จ.พังงา จำนวน 10 ภาพ สำหรับภาพที่เหลือ จำนวน 90 ภาพ จะเปิดจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจทั่วไปในวันจัดนิทรรศการ คณะกรรมการได้กราบทูลเชิญทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธาน โดยรายได้จากการประมูลภาพดังกล่าว จะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิ คุณพุ่ม เจนเซ่น โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ผลการประมูลและจำหน่ายภาพ มีดังนี้
- มูลค่าจากการประมูลภาพ จำนวน 20 ภาพ 5,090,000.- บาท
- มูลค่าจากการจำหน่ายภาพ จำนวน 17 ภาพ 520,000.- บาท
- รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,610,000.- บาท
6. งบประมาณ
สรุปงบประมาณเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 งบกลางดังนี้
- วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 299,500,000 ล้านบาท
- รวมวงเงินที่คณะกรรมการอนุมัติทั้งสิ้น 275,529,789 ล้านบาท
- รวมค่าใช้จ่ายจริง 208,930,110 ล้านบาท
- คงเหลือวงเงินต่ำกว่าที่คณะกรรมการอนุมัติ 66,599,679 ล้านบาท
- และต่ำกว่าที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 90,569,889 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการจักได้นำเงินที่เหลือจ่ายส่งคืนคลังต่อไป
7. ผลสำเร็จที่ได้จากจัดงาน
การจัดงานครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิในครั้งนี้ ได้รับความสำเร็จและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) ด้านจิตใจ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยมีความหวังในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความรู้สึกว่ามิได้อยู่และต่อสู้เพียงลำพัง รัฐบาลได้มีความตั้งใจและช่วยเหลือในการฟื้นฟูอย่างจริงจัง
(2) ด้านเผยแพร่ภาพพจน์ที่ดีงาม การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวนสื่อต่างประเทศที่เข้าร่วมงาน จำนวน 432 คน และสำนักข่าวที่เข้ามาทำข่าว จำนวน 211 แห่ง ทำให้มีการเผยแพร่ภาพไปยังต่างประเทศในหลายประเทศ
(3) ด้านเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้สรุปภาวะเศรษฐกิจด้านภาวะการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีการปรับตัว/ขยายตัวดีขึ้น การลงทุนมีสัญญาณที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 233,788 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.3
นอกจากนี้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพังงา ได้รายงานว่าในช่วงเดือน มกราคม — มีนาคม 2549 ได้รับการอนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 7 โครงการ เป็นโครงการด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว วงเงินลงทุน 769.4 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--