ขอความเห็นชอบหลักการส่งเสริมโครงการสืบชะตาแม่น้ำโขงเป็นนโยบายระดับชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 20, 2010 14:19 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการส่งเสริมโครงการสืบชะตาแม่น้ำโขงเป็นนโยบายระดับชาติ ตามที่กระทรวง วัฒนธรรมเสนอ ดังนี้

1. ให้โครงการสืบชะตาแม่น้ำโขงเป็นโครงการความร่วมมือทางวัฒนธรรมระดับชาติระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

2. ให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จัดกิจกรรมเข้าร่วมในโครงการสืบชะตาแม่น้ำโขงร่วมกับ สปป.ลาว ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรมประชาสัมพันธ์ โดยร่วมมือกับ สปป.ลาว

3. ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับ สปป.ลาว ในการเข้าร่วมโครงการสืบชะตาแม่น้ำโขงในระดับทวิภาคี โดยพิจารณามอบหมายเขตพื้นที่ของ สปป.ลาว ที่อยู่ตรงข้ามกับแม่น้ำโขงของจังหวัดทั้ง 7 ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี จัดกิจกรรมร่วมกับประเทศไทยสาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า

1. สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทยและรัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมแห่ง สปป.ลาว ได้ประชุมเจรจากัน ณ หอวัฒนธรรม นครเวียงจันทน์ มีการตกลงร่วมกันว่าจะนำวัฒนธรรมประเพณี (ฮีตสิบสอง) ในการขับเคลื่อนนโยบายที่ได้เจรจาตกลงกันเริ่มแรกจะดำเนินการทำพิธีสืบชะตา แม่น้ำโขง โดยเริ่มที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเป็นโครงการที่ไทยเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกันของทั้งสองประเทศ

2. วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังนี้

2.1 เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สาระ คุณค่า ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม พิธีกรรม พิธีการ ที่ดีงามที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสายน้ำ ตลอดจนระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมและนิเวศวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงและต้นปลายสายน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

2.2 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนสองฝั่งโขงร่วมมือในการอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อม ของแม่น้ำโขงให้มีความสะอาด เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

2.3 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว

2.4 เพื่อให้ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางวัฒนธรรมและสืบชะตาแม่น้ำโขงร่วมกัน

2.5 เพื่อเสริมสร้างวิถีชีวิต จิตสำนึก จิตศรัทธา จิตสาธารณะ การตระหนักและเห็นคุณค่าของน้ำ สร้างกระแสแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ หรือการทดแทนพระคุณของน้ำหรือกตัญญูต่อน้ำของประชาชนทั้งสองฝั่งโขงและผู้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อการอุปโภคบริโภค

3. การดำเนินงานโครงการสืบชะตาแม่น้ำโขง กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ ได้ดำเนินการประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดและประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดทั้ง 7 จังหวัดที่มีพื้นที่ทางน้ำติดกับแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี สรุปได้ดังนี้

จังหวัด      วัตถุประสงค์                กิจกรรม                  วันที่/สถานที่             ผู้รับผิดชอบ
เชียงราย    เพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน        - พิธีสืบชะตาแม่น้ำโขง       13-14 กุมภาพันธ์         จังหวัดเชียงราย
           คุณค่าประเพณีท้องถิ่น           (พิธีทางศาสนาพุทธ         2553 ณ ท่าเรือน้ำลึก      สำนักงานวัฒนธรรม
           และใช้มิติทางวัฒนธรรม          พิธีกรรมกลุ่มชาติพันธุ์       ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการครู   จังหวัด
           ในการสร้างความสัมพันธ์         และพิธีศาสนาคริสต์)       และ สนามฟุตบอล         กลุ่มรักษ์เชียงของ
           ระหว่างประเทศ             - การแสดงศิลปวัฒนธรรม     โรงเรียนบ้านหัวเวียง      อำเภอเชียงของ
                                      พื้นบ้านท้องถิ่น            ต.เวียง อ.เชียงของ      สภาวัฒนธรรม
                                    - การเสวนา                                    จังหวัดฯ
  • การปล่อยปลา
  • ฉายภาพสารคดี
  • การเดินแฟชั่นโชว์
เลย        เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน       - ตักบาตรข้าวเหนียว        วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม       จังหวัดเลย
           คุณค่า สาระ ประเพณีที่ดี       - พิธีกรรมบวงสรวงสืบ       2553 ณ บริเวณวัด        สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย
           งามที่มีความสำคัญและ           ชะตาแม่น้ำโขง           ท่าคก ตำบลเชียงคาน      สภาวัฒนธรรมจังหวัด
           เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์        (เครื่องบวงสรวง         อำเภอเชียงคาน          สภาวัฒนธรรม
           ของประชาชนในแถบลุ่ม          พิธีกรรมทางศาสนา        จังหวัดเลย              อำเภอเชียงคาน
           แม่น้ำโขง                    ปัจจัยไทยธรรม)                                เทศบาลตำบล
                                    - การแสดงรำเบิ่งโขง                             เชียงคาน
                                    - การเสวนาวิถีชีวิตชุมชน                           โรงเรียนเชียงคาน
                                      ลุ่มแม่น้ำโขงฟากฝั่ง                              องค์การบริหารส่วนตำบล
                                      เชียงคาน — สานะคาม                           เชียงคาน
  • การแสดงดนตรีพื้นเมือง

(โปงลาง)

  • การแสดงรำวงสามัคคี

ไทย — ลาว

  • ตลาดตาเว็นรอน

(ตลาดค่ำ)

  • การจำหน่ายอาหาร

พื้นเมือง/ผลิตภัณฑ์

พื้นเมือง

  • นั่งรถรางชมเชียงคาน

เมืองโบราณริมฝั่งโขง

หนองคาย    เพื่อสร้างจิตสำนึก ฟื้นฟู        - จัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำโขง     วันที่ 19 -21            จังหวัดหนองคาย
           อนุรักษ์ ประเพณีที่ดีงาม        - การเสวนาทางวิชาการ     กุมภาพันธ์ 2553          สำนักงานวัฒนธรรม
           และเชื่อมความสัมพันธ์         - จัดการแสดงทาง                                จังหวัด
           อันดีของประชาชน              วัฒนธรรม

สองฝั่งโขงไทย — ลาว

นครพนม     เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน       - บวงสรวงพญานาคและ      วันที่ 2 เมษายน 2553     จังหวัดนครพนม
           คุณค่า ขนบธรรมเนียม           เทพเจ้าลุ่มแม่น้ำโขง       ณ วัดป่าแก่งเมือง         สำนักงานวัฒนธรรม
           ประเพณีที่ดีงามที่มีความสำคัญ    - การเจริญพระพุทธมนต์      ต.บ้านกลาง อ.เมือง      จังหวัด
           และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์     ทำบุญถวายภัตตาหาร       จ.นครพนม              สภาวัฒนธรรมจังหวัด
           ของประชาชนชาวไทย - ลาว     พระสงฆ์                                      องค์การบริหาร
                                    - การแสดงศิลปวัฒนธรรม                           ส่วนจังหวัด

ชนเผ่า

  • การบายศรีสู่ขวัญ

สืบชะตาแม่น้ำโขง

  • เชิญแขวงคำม่วน สปป.

ลาว ร่วมงาน

  • การแสดงดนตรีโบราณ
มุกดาหาร    เพื่อเป็นการอนุรักษ์           - พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์     กุมภาพันธ์ — มีนาคม       จังหวัดมุกดาหาร
           สืบสานคุณค่าประเพณี            และสืบชะตาแม่น้ำโขง      2553 ณ ศาลาเรารัก      สำนักงานวัฒนธรรม
           ท้องถิ่นและใช้มิติทาง          - ทำบุญเลี้ยงพระ           มุกดาหารและบริเวณ       จังหวัด
           วัฒนธรรมในการสร้าง         - การแสดงศิลปวัฒนธรรม     เขื่อนริมโขง ถนนสำราญ
           ความสัมพันธ์ระหว่าง            พื้นบ้านสองฝั่งโขง         ชายโขง อ.เมือง
           ประเทศ                   - การจัดนิทรรศการ         จ.มุกดาหาร

วิถีชีวิตฯ

  • การเสวนาเชิงวิชาการ
อำนาจเจริญ  เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบ         - พิธีรวมน้ำจาก            15 — 20 กุมภาพันธ์       จังหวัดอำนาจเจริญ
           นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม        แหล่งน้ำต่าง ๆ           2553 (พิธีตักน้ำ 7        สำนักงานวัฒนธรรม
           และนิเวศวัฒนธรรมลุ่ม         - พิธีบวงสรวงเทพาอารักษ์    อำเภอ)                จังหวัด
           แม่น้ำโขงและต้นปลาย           ผู้รักษาต้นปลายสายน้ำ      20 — 21 กุมภาพันธ์       สภาวัฒนธรรมจังหวัด
           สายน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง        และแม่น้ำโขง            2553  ณ บริเวณ
  • พิธีบายศรีสู่ขวัญและสืบ ศาลาจัตุรมุขริมฝั่ง
                                      ต่อชะตา                แม่น้ำโขง เทศบาล
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตำบลชานุมาน
                                      สวดสืบชะตาแม่น้ำ         อำเภอชานุมาน
  • กิจกรรมตุ้มโฮมน้องอ้าย

สายสัมพันธ์ไทยลาว

  • กิจกรรมตุ้มโฮมพาแลง

ฮักแพงแม่น้ำ

  • กิจกรรมหลอมรวมภูมิ

ปัญญาเสวนาเรื่องน้ำ

  • นิทรรศการเกี่ยวกับน้ำ

และแหล่งน้ำ

  • นิทรรศการในหลวงกับ

การจัดการทรัพยากรน้ำ

  • นิทรรศการและกิจกรรม

เสริมสร้างความรู้และ

สร้างความตระหนักและ

เห็นคุณค่าของน้ำและ

สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน

อุบลราชธานี  เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน       - พิธีสืบชะตาแม่น้ำโขง       วันที่ 24 — 30           จังหวัดอุบลราชธานี
           ประเพณีที่ดีงามและเป็น        - การจัดนิทรรศการ         มกราคม 2553           สำนักงานวัฒนธรรม
           การเชื่อมความสัมพันธ์ของ      - การจัดเวทีแลกเปลี่ยน      ณ บริเวณวัดพระโต        จังหวัด
           ประชาชนทั้งสองประเทศ         เรียนรู้ของผู้นำท้องที่/      บ้านปากแซง ตำบล

ท้องถิ่นทั้งสองประเทศ พะลาน อำเภอนาตาล

ในหัวข้อ “พัฒนาการ จังหวัดอุบลราชธานี

แม่น้ำโขง การอนุรักษ์

พัฒนา ประเพณีวัฒนธรรม

ลุ่มแม่น้ำโขง”

  • การออกร้านสินค้า

ผลิตภัณฑ์สองฝั่งโขง

  • การแสดงวัฒนธรรม

สองฝั่งโขง หมายเหตุ - วธ. รับผิดชอบสำหรับงบประมาณในการดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านพิธีการ พิธีกรรมและนิทรรศการ

  • สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ให้ใช้งบประมาณจากจังหวัดและภาคประชาชน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 มกราคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ