คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(จนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548) เพิ่มเติมดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548) มีจังหวัดที่ประสบภัย
จำนวน 63 จังหวัด 523 อำเภอ 59 กิ่งอำเภอ 3,420 ตำบล 23,767 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้
- เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่สุดของปี 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งจำนวน 71 จังหวัด 44,519 หมู่บ้าน (ร้อยละ 60.19 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ
73,963 หมู่บ้าน) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548) ลดลงเหลือจำนวน 63 จังหวัด 23,767
หมู่บ้าน ลดลง 20,752 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 32.13 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
- ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 104 หมู่บ้าน (สัปดาห์ที่ผ่านมายอด 23,871 หมู่บ้าน)
พื้นที่ประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ กิ่งฯ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ราษฎร ราษฎร
(ครัวเรือน) (คน)
1 เหนือ 16 100 10 512 2,622 อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ 283,670 1,114,378
แพร่ พะเยา พิษณุโลก
ลำปาง สุโขทัย น่าน
ตาก เชียงราย
อุทัยธานี เพชรบูรณ์
กำแพงเพชร พิจิตร
ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน
2 ตะวันออก 19 264 32 2,041 16,751 นครราชสีมา บุรีรัมย์ 900,946 3,979,689
เฉียงเหนือ สกลนคร ยโสธร
ร้อยเอ็ด อุดรธานี
สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์ เลย หนองคาย
มหาสารคาม มุกดาหาร
ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู
นครพนม อุบลราชธานี
และอำนาจเจริญ
3 กลาง 9 58 4 264 1,492 ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี 125,070 476,233
พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี
สุพรรณบุรี เพชรบุรี
กาญจนบุรี
และประจวบคีรีขันธ์
4 ตะวันออก 7 30 7 168 874 ฉะเชิงเทรา ตราด 48,971 158,333
ระยอง จันทบุรี
ปราจีนบุรี ชลบุรี
และสระแก้ว
5 ใต้ 12 71 6 435 2,028 สุราษฎร์ธานี 190,140 721,003
นครศรีธรรมราช ตรัง
สตูล ระนอง สงขลา
ชุมพร พัทลุง ภูเก็ต
ยะลา นราธิวาส
และกระบี่
รวมทั้งประเทศ 63 523 59 3,420 23,767 1,548,797 6,449,636
หมายเหตุ - จังหวัดที่ไม่มีรายงานสถานการณ์ภัยแล้งจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรสาคร
- จังหวัดที่สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สมุทรปราการ
อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสงคราม นครนายก ปัตตานี และพังงา
1.1 ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 2548 ณ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม
2548) เปรียบเทียบกับยอดสูงสุดของจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในปีนี้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน เปรียบเทียบ คิดเป็นร้อยละ
ทั้งหมด ที่ประสบภัยแล้ง ที่ประสบภัยแล้ง (-ลดลง +เพิ่มขึ้น) (ของหมู่บ้าน
สูงสุด ปัจจุบัน ทั้งประเทศ)
(ณ 21 มี.ค.2548) (ณ 13 พ.ค.2548)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 25,745 16,751 -8,994 51.42
2 ใต้ 8,588 3,702 2,028 -1,674 23.61
3 ตะวันออก 4,816 3,097 874 -2,223 18.15
4 เหนือ 16,306 8,132 2,622 -5,510 16.08
5 กลาง 11,377 3,843 1,492 -2,351 13.11
รวม 73,963 44,519 23,767 -20,752 32.13
1.2 พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
- พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้ว (ก.ย.-ธ.ค. 2547) แบ่งเป็น นาข้าว
10,098,546 ไร่ พืชไร่ 3,017,045 ไร่ พืชสวน 511,423 ไร่ รวม 13,627,014 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 7,544,841,439 บาท
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย ( ณ 21 มี.ค. 2548) แบ่งเป็น
นาข้าว 6,029,059 ไร่ พืชไร่ 3,445,430 ไร่ พืชสวน 2,281,829 ไร่ รวม 11,756,318 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 5,909,796,250 บาท
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย ( ณ 13 พ.ค. 2548) แบ่งเป็น
นาข้าว 182,493 ไร่ พืชไร่ 270,853 ไร่ พืชสวน 602,836 ไร่ รวม 1,056,182 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 461,153,097 บาท
1.3 การดำเนินการแจกจ่ายน้ำของจังหวัด/อำเภอ
(1) การช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 421 คัน 21,670 เที่ยว
- ปริมาณน้ำ 939,471,940 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 264,000 ลิตร)
- ใช้เครื่องสูบน้ำ รวม 33,686 เครื่อง
- สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 14,163 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,273 แห่ง
(2) การช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค/บริโภค
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 3,343 คัน 275,129 เที่ยว
- ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายจำนวน 2,607,691,389 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 219,231,154 ลิตร)
- การเป่าล้างบ่อบาดาล 11,967 บ่อ
- ซ่อมถังน้ำกลาง คสล. 942 ถัง
- ซ่อมประปาหมู่บ้าน 1,639 แห่ง
(3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,663,775,759 บาท
- งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด(งบ 50 ล้านบาท)
1,196,427,415 บาท
- งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 208,324,479 บาท
- งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 259,023,865 บาท
2. มาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคระยะยาว
2.1 โครงการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค (ประปาเอื้ออาทร)
1) จากข้อมูลที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสำรวจไว้ ในขณะนี้มีหมู่บ้านที่มีระบบประปา
หมู่บ้านแล้ว 36,365 แห่ง และมีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ที่จะต้องสร้างระบบประปาหมู่บ้านอีก
14,580 หมู่บ้าน โดยจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นเงิน 33,922.78 ล้านบาท
2) การประปาส่วนภูมิภาคได้ประมาณการราคาค่าก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ขยายเขต
บริการประปาและก่อสร้างภาชนะบรรจุน้ำในหมู่บ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำสำหรับระบบประปาในหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค
บริโภค จำนวน 14,580 หมู่บ้าน เป็นเงิน 33,922.78 ล้านบาท ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้
กำหนดแผนงาน/โครงการดำเนินการ ดังนี้
(1) ปี 2547 ได้รับงบประมาณ จำนวน 1,034.25 ล้านบาท จากงบประมาณ
ถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ สามารถจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อสร้างระบบประปา
และภาชนะบรรจุน้ำได้ จำนวน 512 โครงการ ในพื้นที่ 561 หมู่บ้าน
(2) ปี 2548 ได้รับงบประมาณ จำนวน 988 ล้านบาท จากเงินอุดหนุนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพื่อก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน สามารถจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อสร้างระบบประปาและ
ภาชนะบรรจุน้ำได้ จำนวน 648 โครงการ ในพื้นที่ 695 หมู่บ้าน
(3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะได้เสนอขอตั้งงบประมาณผ่านคณะกรรมการ
กระจายอำนาจฯ เพื่อจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านใน
หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ในพื้นที่ 13,324 หมู่บ้าน เป็นเงิน 31,900 ล้านบาท
โดยดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 8,050 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2550-2552
รวม 3 ปี ๆ ละ 7,950 ล้านบาท
2.2 แผนงานพัฒนาระบบประปาในเขตเทศบาลปัจจุบันทั่วประเทศมีเขตเทศบาลซึ่งประกอบ
ด้วยเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล รวม 1,129 แห่ง เป็นเทศบาลที่มีระบบประปาแล้ว
1,009 แห่ง อยู่ในความดูแลของการประปาส่วนภูมิภาค 675 แห่ง การประปานครหลวง 23 แห่ง เป็นการ
ประปาของเทศบาลที่มีหรือไม่มีสัมปทาน รวม 311 แห่ง โดยมีเทศบาลที่ยังไม่มีระบบประปาอีก 120 แห่ง
ซึ่งจะได้มีการดำเนินการของบประมาณก่อสร้างระบบประปาให้ครบถ้วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(จนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548) เพิ่มเติมดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548) มีจังหวัดที่ประสบภัย
จำนวน 63 จังหวัด 523 อำเภอ 59 กิ่งอำเภอ 3,420 ตำบล 23,767 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้
- เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่สุดของปี 2548 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งจำนวน 71 จังหวัด 44,519 หมู่บ้าน (ร้อยละ 60.19 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ
73,963 หมู่บ้าน) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548) ลดลงเหลือจำนวน 63 จังหวัด 23,767
หมู่บ้าน ลดลง 20,752 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 32.13 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
- ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 104 หมู่บ้าน (สัปดาห์ที่ผ่านมายอด 23,871 หมู่บ้าน)
พื้นที่ประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ กิ่งฯ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ราษฎร ราษฎร
(ครัวเรือน) (คน)
1 เหนือ 16 100 10 512 2,622 อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ 283,670 1,114,378
แพร่ พะเยา พิษณุโลก
ลำปาง สุโขทัย น่าน
ตาก เชียงราย
อุทัยธานี เพชรบูรณ์
กำแพงเพชร พิจิตร
ลำพูน และ แม่ฮ่องสอน
2 ตะวันออก 19 264 32 2,041 16,751 นครราชสีมา บุรีรัมย์ 900,946 3,979,689
เฉียงเหนือ สกลนคร ยโสธร
ร้อยเอ็ด อุดรธานี
สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์ เลย หนองคาย
มหาสารคาม มุกดาหาร
ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู
นครพนม อุบลราชธานี
และอำนาจเจริญ
3 กลาง 9 58 4 264 1,492 ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี 125,070 476,233
พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี
สุพรรณบุรี เพชรบุรี
กาญจนบุรี
และประจวบคีรีขันธ์
4 ตะวันออก 7 30 7 168 874 ฉะเชิงเทรา ตราด 48,971 158,333
ระยอง จันทบุรี
ปราจีนบุรี ชลบุรี
และสระแก้ว
5 ใต้ 12 71 6 435 2,028 สุราษฎร์ธานี 190,140 721,003
นครศรีธรรมราช ตรัง
สตูล ระนอง สงขลา
ชุมพร พัทลุง ภูเก็ต
ยะลา นราธิวาส
และกระบี่
รวมทั้งประเทศ 63 523 59 3,420 23,767 1,548,797 6,449,636
หมายเหตุ - จังหวัดที่ไม่มีรายงานสถานการณ์ภัยแล้งจำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรสาคร
- จังหวัดที่สถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สมุทรปราการ
อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสงคราม นครนายก ปัตตานี และพังงา
1.1 ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 2548 ณ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม
2548) เปรียบเทียบกับยอดสูงสุดของจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งในปีนี้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2548
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน เปรียบเทียบ คิดเป็นร้อยละ
ทั้งหมด ที่ประสบภัยแล้ง ที่ประสบภัยแล้ง (-ลดลง +เพิ่มขึ้น) (ของหมู่บ้าน
สูงสุด ปัจจุบัน ทั้งประเทศ)
(ณ 21 มี.ค.2548) (ณ 13 พ.ค.2548)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 25,745 16,751 -8,994 51.42
2 ใต้ 8,588 3,702 2,028 -1,674 23.61
3 ตะวันออก 4,816 3,097 874 -2,223 18.15
4 เหนือ 16,306 8,132 2,622 -5,510 16.08
5 กลาง 11,377 3,843 1,492 -2,351 13.11
รวม 73,963 44,519 23,767 -20,752 32.13
1.2 พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง (ภาพรวมทั้งประเทศ)
- พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายแล้ว (ก.ย.-ธ.ค. 2547) แบ่งเป็น นาข้าว
10,098,546 ไร่ พืชไร่ 3,017,045 ไร่ พืชสวน 511,423 ไร่ รวม 13,627,014 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 7,544,841,439 บาท
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย ( ณ 21 มี.ค. 2548) แบ่งเป็น
นาข้าว 6,029,059 ไร่ พืชไร่ 3,445,430 ไร่ พืชสวน 2,281,829 ไร่ รวม 11,756,318 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 5,909,796,250 บาท
- พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบความเสียหาย ( ณ 13 พ.ค. 2548) แบ่งเป็น
นาข้าว 182,493 ไร่ พืชไร่ 270,853 ไร่ พืชสวน 602,836 ไร่ รวม 1,056,182 ไร่
รวมมูลค่าความเสียหาย 461,153,097 บาท
1.3 การดำเนินการแจกจ่ายน้ำของจังหวัด/อำเภอ
(1) การช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
- ใช้รถบรรทุกน้ำ 421 คัน 21,670 เที่ยว
- ปริมาณน้ำ 939,471,940 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 264,000 ลิตร)
- ใช้เครื่องสูบน้ำ รวม 33,686 เครื่อง
- สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ 14,163 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 5,273 แห่ง
(2) การช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค/บริโภค
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 3,343 คัน 275,129 เที่ยว
- ปริมาณน้ำที่แจกจ่ายจำนวน 2,607,691,389 ลิตร (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 219,231,154 ลิตร)
- การเป่าล้างบ่อบาดาล 11,967 บ่อ
- ซ่อมถังน้ำกลาง คสล. 942 ถัง
- ซ่อมประปาหมู่บ้าน 1,639 แห่ง
(3) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,663,775,759 บาท
- งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด(งบ 50 ล้านบาท)
1,196,427,415 บาท
- งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 208,324,479 บาท
- งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO 259,023,865 บาท
2. มาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคระยะยาว
2.1 โครงการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค (ประปาเอื้ออาทร)
1) จากข้อมูลที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสำรวจไว้ ในขณะนี้มีหมู่บ้านที่มีระบบประปา
หมู่บ้านแล้ว 36,365 แห่ง และมีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ที่จะต้องสร้างระบบประปาหมู่บ้านอีก
14,580 หมู่บ้าน โดยจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นเงิน 33,922.78 ล้านบาท
2) การประปาส่วนภูมิภาคได้ประมาณการราคาค่าก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ขยายเขต
บริการประปาและก่อสร้างภาชนะบรรจุน้ำในหมู่บ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำสำหรับระบบประปาในหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค
บริโภค จำนวน 14,580 หมู่บ้าน เป็นเงิน 33,922.78 ล้านบาท ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้
กำหนดแผนงาน/โครงการดำเนินการ ดังนี้
(1) ปี 2547 ได้รับงบประมาณ จำนวน 1,034.25 ล้านบาท จากงบประมาณ
ถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ สามารถจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อสร้างระบบประปา
และภาชนะบรรจุน้ำได้ จำนวน 512 โครงการ ในพื้นที่ 561 หมู่บ้าน
(2) ปี 2548 ได้รับงบประมาณ จำนวน 988 ล้านบาท จากเงินอุดหนุนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพื่อก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน สามารถจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อสร้างระบบประปาและ
ภาชนะบรรจุน้ำได้ จำนวน 648 โครงการ ในพื้นที่ 695 หมู่บ้าน
(3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะได้เสนอขอตั้งงบประมาณผ่านคณะกรรมการ
กระจายอำนาจฯ เพื่อจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านใน
หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ในพื้นที่ 13,324 หมู่บ้าน เป็นเงิน 31,900 ล้านบาท
โดยดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 8,050 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2550-2552
รวม 3 ปี ๆ ละ 7,950 ล้านบาท
2.2 แผนงานพัฒนาระบบประปาในเขตเทศบาลปัจจุบันทั่วประเทศมีเขตเทศบาลซึ่งประกอบ
ด้วยเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล รวม 1,129 แห่ง เป็นเทศบาลที่มีระบบประปาแล้ว
1,009 แห่ง อยู่ในความดูแลของการประปาส่วนภูมิภาค 675 แห่ง การประปานครหลวง 23 แห่ง เป็นการ
ประปาของเทศบาลที่มีหรือไม่มีสัมปทาน รวม 311 แห่ง โดยมีเทศบาลที่ยังไม่มีระบบประปาอีก 120 แห่ง
ซึ่งจะได้มีการดำเนินการของบประมาณก่อสร้างระบบประปาให้ครบถ้วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--