คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์และความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนก ( ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 )
1.1 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ไม่มีรายงานพบโรค ไข้หวัดนกในประเทศไทย จำนวน 226 วัน นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกป่วย/ตายรายสุดท้าย (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 )
1.2 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 มิถุนายน 2549 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก จำนวน 51 ประเทศ ได้แก่
ทวีปเอเชีย : มี 17 ประเทศ คือ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน พม่า อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน จอร์แดน เวียดนาม กัมพูชา ปาเลสไตน์ อินโดนีเซีย และลาว
ทวีปยุโรป : มี 25 ประเทศ คือ สโลวาเนีย บัลกาเรีย เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส ออสเตรีย บอสเนียเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย ยูเครน อิตาลี โรมาเนีย สโลวาเกีย กรีซ ฮังการี เซอร์เบียและมอนเตเนโกร อัลบาเนีย ตุรกี จอร์เจีย โปแลนด์ อาเซอร์ไบจัน สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน สาธารณรัฐเชค และ สก็อตแลนด์
ทวีปแอฟริกา : มี 9 ประเทศ คือ ไนจีเรีย ไนเจอร์ อียิปต์ แคเมอรูน ซิมบับเว เบอร์กีนา ฟาโซ ซูดาน ไอวอรี่ โคสท์ และจิบูตี
1.3 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ตั้งแต่ พ.ศ.2546 — 20 มิถุนายน 2549 องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้รายงานพบ คนป่วย/คนตาย ด้วยโรคไข้หวัดนกทั่วโลกทั้งสิ้น 228/130 คน ใน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศ เวียดนาม 93/42 อินโดนีเซีย 51/39 ไทย 22/14 จีน 19/12 อียิปต์ 14/6 กัมพูชา 6/6 อาเซอร์ไบจัน 8/5 ตุรกี 12/4 อิรัก 2/2 และจิบูตี 1/0 คน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
2.1 การขึ้นทะเบียนไก่ชน สนามชนไก่/ซ้อมชนไก่ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549)
1) มีการขึ้นทะเบียนไก่ชน 120,791 ราย จำนวน 900,758 ตัว
2) จัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน (Passport) 110,048 ราย จำนวน 257,144 ตัว
3) จำนวนสนามชนไก่ที่ได้รับอนุญาต 498 แห่ง
4) จำนวนสนามชนไก่ที่อยู่ระหว่างขออนุญาต 449 แห่ง
5) จำนวนสนามซ้อมชนไก่ 1,767 แห่ง
2.2 โครงการวันกรมปศุสัตว์พบชาวไก่ชน
กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์ไก่ชนไทยจัดทำโครงการฯ นี้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการสังกัดกรมปศุสัตว์ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและผู้เลี้ยงไก่ชน ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่ชนให้มีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโครงการฯ แล้วทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสุพรรณบุรี นนทบุรี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น พิษณุโลก นครสวรรค์ และปทุมธานี เกษตรกรเข้าร่วมงาน 2,845 ราย
2.3 การปรับระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเข้าสู่ระบบฟาร์มหรือโรงเรือนและการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
1) จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดที่จดทะเบียนเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549) มีการจดทะเบียนสหกรณ์ 24 สหกรณ์ ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่ม มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,949 ราย โดยเลี้ยงเป็ดรวม 7,299,964 ตัว แบ่งเป็น เป็ดไข่ 6,885,684 ตัว และเป็ดเนื้อ 414,280 ตัว ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อุทัยธานี นนทบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ชัยนาท พิษณุโลก อ่างทอง นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร กาญจนบุรี นครปฐม อุตรดิตถ์ กรุงเทพฯ และกาฬสินธุ์
2) เกษตรกรที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 386 ราย ในพื้นที่ 19 จังหวัด โดยมีจำนวนเป็ดประมาณ 807,422 ตัว แบ่งเป็นเป็ดไข่ 756,622 ตัว และเป็ดเนื้อ 50,800 ตัว
3) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549) มีการยื่นรายชื่อขออนุมัติสินเชื่อ 1,589 ราย อนุมัติแล้ว 464 ราย เป็นเงิน 63,719,500 บาท และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,125 ราย
2.4 โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) ครั้งที่ 2/2549 โดยกรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการดำเนินงานพร้อมกันทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2549
2.5 กิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2549 โดยกรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการดำเนินงานพร้อมกันทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 — 7 พฤษภาคม 2549 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก (เกษตรกรรายย่อย) มีเป้าหมาย 2,108,217 แห่ง ดำเนินการแล้ว 1,598,150 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.80
- ฟาร์มสัตว์ปีก มีเป้าหมาย 12,557 แห่ง ดำเนินการแล้ว 11,937 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.06
- สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก มีเป้าหมาย 2,464 แห่ง ดำเนินการแล้ว 2,270 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 92.13
- มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 73,298 ลิตร
2.6 การจัดทำหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์ปีกตามระบบ Compartmentalisation
กรมปศุสัตว์ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการจัดทำ Compartmentalisation ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกตามคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 399/2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และจะดำเนินการตรวจรับรองระบบ Compartment ระหว่างเดือนกรกฎาคม —ธันวาคม 2549
มีผู้ประกอบการที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ(ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2549) จำนวน 21 บริษัท มีจำนวนฟาร์มไก่เนื้อ/เป็ดเนื้อ 1,800 ฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ปีก 127,101,481 ตัว ซึ่งมีการเลี้ยงในพื้นที่ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ สระบุรี ชลบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา นครนายก นครปฐม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สิงห์บุรี กำแพงเพชร พิจิตร จันทบุรี มหาสารคาม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด อ่างทอง ชัยนาท อุทัยธานี สระแก้ว
2.7 ผลการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกเพื่อตรวจชันสูตรโรคไข้หวัดนก ก่อนออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าโรงฆ่า ในปี พ.ศ. 2548 จำนวน ทั้งสิ้น 359,528 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างไม่พบเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดนก แบ่งเป็น
- สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตรวจ 59,409 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนบน) จังหวัดลำปาง จำนวนที่ตรวจ 26,712 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก จำนวนที่ตรวจ 33,920 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น จำนวนที่ตรวจ 16,156 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ จำนวนที่ตรวจ 124,217 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนที่ตรวจ 16,078 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จำนวนที่ตรวจ 53,890 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรี จำนวนที่ตรวจ 29,146 ตัวอย่าง
2.8 การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกที่ผ่านการตรวจสอบก่อนเข้าโรงฆ่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2549 จำนวน 24,851 ฉบับ สัตว์ปีกที่ได้รับอนุญาตเคลื่อนย้ายจำนวน 178.44 ล้านตัว ไม่พบเชื้อไข้หวัดนก
3. แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (ถึงสิ้นปี 2549 )
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนที่จะต้องดำเนินงานแก้ไข้ปัญหาโรคไข้หวัดนกจนถึงสิ้นปี 2549 ดังนี้
กิจกรรม ระยะเวลา
1. การเฝ้าระวังโรค
1.1 โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกแบบบูรณาการ
(X-Ray) ประกอบด้วย ครั้งที่ 2/49 เดือนมิถุนายน — กรกฎาคม 2549
1.2 การเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการในระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 1/50 เดือนตุลาคม 2549
1.3 การค้นหาโรคไข้หวัดนกทางซีรั่มวิทยา ดำเนินการต่อเนื่อง
เดือนมิถุนายน — กรกฎาคม 2549
2. การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ดำเนินการต่อเนื่อง
3. การจัดทำทะเบียนประวัติไก่ชนและฟาร์มเป็ด ดำเนินการต่อเนื่อง
4.การรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค เดือนสิงหาคม , เดือนพฤศจิกายน 2549
5. ตรวจรับรองระบบ Compartmentalisation เดือนกรกฎาคม —ธันวาคม 2549
6. การปรับระบบโครงสร้างการเลี้ยงสัตว์ปีก (Restructure) ดำเนินการต่อเนื่อง
7. การควบคุมโรค (หากมี) ดำเนินการต่อเนื่องและทันที
8. การประชาสัมพันธ์ ดำเนินการต่อเนื่อง
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศ
4.1 ความร่วมมือกับ FAO-OIE โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคและการเฝ้าระวังโรค
4.2 ความร่วมมือทวิภาคีกับลาวและกัมพูชา
4.3 ความร่วมมือในระดับภูมิภาค (ASWGL) โดยไทยเป็นเจ้าภาพทางด้านการวินิจฉัยโรคและการสำรวจโรค
4.4 การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ ACMECS ในการอบรมการสร้างทีมสอบสวนโรคร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
4.5 การซ้อมแผนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนกร่วมกับกลุ่มประเทศ APEC
4.6 ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ด้านการควบคุมโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค โดยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. ด้านงบประมาณ
สำหรับงบประมาณในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวงเงิน 196 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบลงมติอนุมัติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 นั้น บัดนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งจะเป็นปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกต่อไปได้ เนื่องจากนโยบายด้านต่างๆ ไม่สามารถขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ได้โดยเฉพาะด้านการป้องกันและเฝ้าระวังโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนก ( ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 )
1.1 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ไม่มีรายงานพบโรค ไข้หวัดนกในประเทศไทย จำนวน 226 วัน นับจากวันที่ทำลายสัตว์ปีกป่วย/ตายรายสุดท้าย (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 )
1.2 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 มิถุนายน 2549 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก จำนวน 51 ประเทศ ได้แก่
ทวีปเอเชีย : มี 17 ประเทศ คือ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถาน พม่า อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน จอร์แดน เวียดนาม กัมพูชา ปาเลสไตน์ อินโดนีเซีย และลาว
ทวีปยุโรป : มี 25 ประเทศ คือ สโลวาเนีย บัลกาเรีย เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส ออสเตรีย บอสเนียเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย ยูเครน อิตาลี โรมาเนีย สโลวาเกีย กรีซ ฮังการี เซอร์เบียและมอนเตเนโกร อัลบาเนีย ตุรกี จอร์เจีย โปแลนด์ อาเซอร์ไบจัน สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน สาธารณรัฐเชค และ สก็อตแลนด์
ทวีปแอฟริกา : มี 9 ประเทศ คือ ไนจีเรีย ไนเจอร์ อียิปต์ แคเมอรูน ซิมบับเว เบอร์กีนา ฟาโซ ซูดาน ไอวอรี่ โคสท์ และจิบูตี
1.3 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ตั้งแต่ พ.ศ.2546 — 20 มิถุนายน 2549 องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้รายงานพบ คนป่วย/คนตาย ด้วยโรคไข้หวัดนกทั่วโลกทั้งสิ้น 228/130 คน ใน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศ เวียดนาม 93/42 อินโดนีเซีย 51/39 ไทย 22/14 จีน 19/12 อียิปต์ 14/6 กัมพูชา 6/6 อาเซอร์ไบจัน 8/5 ตุรกี 12/4 อิรัก 2/2 และจิบูตี 1/0 คน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
2.1 การขึ้นทะเบียนไก่ชน สนามชนไก่/ซ้อมชนไก่ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549)
1) มีการขึ้นทะเบียนไก่ชน 120,791 ราย จำนวน 900,758 ตัว
2) จัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน (Passport) 110,048 ราย จำนวน 257,144 ตัว
3) จำนวนสนามชนไก่ที่ได้รับอนุญาต 498 แห่ง
4) จำนวนสนามชนไก่ที่อยู่ระหว่างขออนุญาต 449 แห่ง
5) จำนวนสนามซ้อมชนไก่ 1,767 แห่ง
2.2 โครงการวันกรมปศุสัตว์พบชาวไก่ชน
กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์ไก่ชนไทยจัดทำโครงการฯ นี้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการสังกัดกรมปศุสัตว์ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและผู้เลี้ยงไก่ชน ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในไก่ชนให้มีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโครงการฯ แล้วทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสุพรรณบุรี นนทบุรี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น พิษณุโลก นครสวรรค์ และปทุมธานี เกษตรกรเข้าร่วมงาน 2,845 ราย
2.3 การปรับระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเข้าสู่ระบบฟาร์มหรือโรงเรือนและการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
1) จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดที่จดทะเบียนเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549) มีการจดทะเบียนสหกรณ์ 24 สหกรณ์ ขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่ม มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,949 ราย โดยเลี้ยงเป็ดรวม 7,299,964 ตัว แบ่งเป็น เป็ดไข่ 6,885,684 ตัว และเป็ดเนื้อ 414,280 ตัว ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี อุทัยธานี นนทบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ชัยนาท พิษณุโลก อ่างทอง นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร กาญจนบุรี นครปฐม อุตรดิตถ์ กรุงเทพฯ และกาฬสินธุ์
2) เกษตรกรที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 386 ราย ในพื้นที่ 19 จังหวัด โดยมีจำนวนเป็ดประมาณ 807,422 ตัว แบ่งเป็นเป็ดไข่ 756,622 ตัว และเป็ดเนื้อ 50,800 ตัว
3) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2549) มีการยื่นรายชื่อขออนุมัติสินเชื่อ 1,589 ราย อนุมัติแล้ว 464 ราย เป็นเงิน 63,719,500 บาท และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,125 ราย
2.4 โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-Ray) ครั้งที่ 2/2549 โดยกรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการดำเนินงานพร้อมกันทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2549
2.5 กิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนก ระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม 2549 โดยกรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการดำเนินงานพร้อมกันทั้งประเทศระหว่างวันที่ 1 — 7 พฤษภาคม 2549 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- สถานที่เลี้ยงสัตว์ปีก (เกษตรกรรายย่อย) มีเป้าหมาย 2,108,217 แห่ง ดำเนินการแล้ว 1,598,150 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.80
- ฟาร์มสัตว์ปีก มีเป้าหมาย 12,557 แห่ง ดำเนินการแล้ว 11,937 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.06
- สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก มีเป้าหมาย 2,464 แห่ง ดำเนินการแล้ว 2,270 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 92.13
- มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 73,298 ลิตร
2.6 การจัดทำหลักเกณฑ์การเลี้ยงสัตว์ปีกตามระบบ Compartmentalisation
กรมปศุสัตว์ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการจัดทำ Compartmentalisation ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกตามคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 399/2549 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และจะดำเนินการตรวจรับรองระบบ Compartment ระหว่างเดือนกรกฎาคม —ธันวาคม 2549
มีผู้ประกอบการที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ(ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2549) จำนวน 21 บริษัท มีจำนวนฟาร์มไก่เนื้อ/เป็ดเนื้อ 1,800 ฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ปีก 127,101,481 ตัว ซึ่งมีการเลี้ยงในพื้นที่ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ สระบุรี ชลบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา นครนายก นครปฐม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สิงห์บุรี กำแพงเพชร พิจิตร จันทบุรี มหาสารคาม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด อ่างทอง ชัยนาท อุทัยธานี สระแก้ว
2.7 ผลการเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกเพื่อตรวจชันสูตรโรคไข้หวัดนก ก่อนออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าโรงฆ่า ในปี พ.ศ. 2548 จำนวน ทั้งสิ้น 359,528 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างไม่พบเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดนก แบ่งเป็น
- สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตรวจ 59,409 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนบน) จังหวัดลำปาง จำนวนที่ตรวจ 26,712 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือ (ตอนล่าง) จังหวัดพิษณุโลก จำนวนที่ตรวจ 33,920 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) จังหวัดขอนแก่น จำนวนที่ตรวจ 16,156 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดสุรินทร์ จำนวนที่ตรวจ 124,217 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนที่ตรวจ 16,078 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จำนวนที่ตรวจ 53,890 ตัวอย่าง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรี จำนวนที่ตรวจ 29,146 ตัวอย่าง
2.8 การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกที่ผ่านการตรวจสอบก่อนเข้าโรงฆ่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2549 จำนวน 24,851 ฉบับ สัตว์ปีกที่ได้รับอนุญาตเคลื่อนย้ายจำนวน 178.44 ล้านตัว ไม่พบเชื้อไข้หวัดนก
3. แผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (ถึงสิ้นปี 2549 )
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนที่จะต้องดำเนินงานแก้ไข้ปัญหาโรคไข้หวัดนกจนถึงสิ้นปี 2549 ดังนี้
กิจกรรม ระยะเวลา
1. การเฝ้าระวังโรค
1.1 โครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกแบบบูรณาการ
(X-Ray) ประกอบด้วย ครั้งที่ 2/49 เดือนมิถุนายน — กรกฎาคม 2549
1.2 การเฝ้าระวังเชิงรุกทางอาการในระดับหมู่บ้าน ครั้งที่ 1/50 เดือนตุลาคม 2549
1.3 การค้นหาโรคไข้หวัดนกทางซีรั่มวิทยา ดำเนินการต่อเนื่อง
เดือนมิถุนายน — กรกฎาคม 2549
2. การควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก ดำเนินการต่อเนื่อง
3. การจัดทำทะเบียนประวัติไก่ชนและฟาร์มเป็ด ดำเนินการต่อเนื่อง
4.การรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค เดือนสิงหาคม , เดือนพฤศจิกายน 2549
5. ตรวจรับรองระบบ Compartmentalisation เดือนกรกฎาคม —ธันวาคม 2549
6. การปรับระบบโครงสร้างการเลี้ยงสัตว์ปีก (Restructure) ดำเนินการต่อเนื่อง
7. การควบคุมโรค (หากมี) ดำเนินการต่อเนื่องและทันที
8. การประชาสัมพันธ์ ดำเนินการต่อเนื่อง
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศ
4.1 ความร่วมมือกับ FAO-OIE โดยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ด้านการตรวจวินิจฉัยโรคและการเฝ้าระวังโรค
4.2 ความร่วมมือทวิภาคีกับลาวและกัมพูชา
4.3 ความร่วมมือในระดับภูมิภาค (ASWGL) โดยไทยเป็นเจ้าภาพทางด้านการวินิจฉัยโรคและการสำรวจโรค
4.4 การให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศ ACMECS ในการอบรมการสร้างทีมสอบสวนโรคร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
4.5 การซ้อมแผนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนกร่วมกับกลุ่มประเทศ APEC
4.6 ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ด้านการควบคุมโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค โดยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. ด้านงบประมาณ
สำหรับงบประมาณในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวงเงิน 196 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบลงมติอนุมัติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 นั้น บัดนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งจะเป็นปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกต่อไปได้ เนื่องจากนโยบายด้านต่างๆ ไม่สามารถขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ได้โดยเฉพาะด้านการป้องกันและเฝ้าระวังโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--