คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้และการกำหนดราคาศุลกากร ตามที่กระทรวง
การคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้นำของเข้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าจัดหาคำอธิบายเพิ่มเติม รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานอย่างอื่น เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความ เอกสาร หรือการสำแดงดังกล่าว และในการกำหนดราคาตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้นำของเข้ามีหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือความถูกต้องของข้อความหรือเอกสารใด ๆ ที่ได้สำแดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
กระทรวงการคลังรายงานว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ และการกำหนดราคาศุลกากร เพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรสำหรับของที่นำเข้าให้สอดคล้องกับมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 แต่ยังมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิที่จะทำให้หน่วยงานบริหารทางศุลกากรพอใจถึงความจริงหรือความถูกต้องของข้อความเอกสาร หรือการสำแดงใดๆ ที่ได้ยื่นเพื่อความมุ่งหมายในการกำหนดตราศุลกากรซึ่งมิได้นำมาบัญญัติไว้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและชัดเจน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
การคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้นำของเข้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าจัดหาคำอธิบายเพิ่มเติม รวมทั้งเอกสารหรือหลักฐานอย่างอื่น เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความ เอกสาร หรือการสำแดงดังกล่าว และในการกำหนดราคาตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้นำของเข้ามีหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือความถูกต้องของข้อความหรือเอกสารใด ๆ ที่ได้สำแดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
กระทรวงการคลังรายงานว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 132 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ และการกำหนดราคาศุลกากร เพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรสำหรับของที่นำเข้าให้สอดคล้องกับมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 แต่ยังมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิที่จะทำให้หน่วยงานบริหารทางศุลกากรพอใจถึงความจริงหรือความถูกต้องของข้อความเอกสาร หรือการสำแดงใดๆ ที่ได้ยื่นเพื่อความมุ่งหมายในการกำหนดตราศุลกากรซึ่งมิได้นำมาบัญญัติไว้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและชัดเจน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--