คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการลงนามภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
ด้วยนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปร่วมลงนามภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 13 สรุปผลการเดินทาง ดังนี้
1. การลงนามภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมลงนามในภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ภาคผนวก 1 การขนส่งสินค้าอันตราย
ภาคผนวก 9 หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งสำหรับการประกอบการขนส่ง
ข้ามพรมแดน
ภาคผนวก 13 บี หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับการ
ประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน
ภาคผนวก 16 หลักเกณฑ์เรื่องใบอนุญาตขับขี่
ภาคผนวกทั้งสี่ฉบับดังกล่าว จะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของสินค้าอันตราย คุณสมบัติของ
ผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ คุณสมบัติของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศ และการยอมรับใบอนุญาตขับขี่ภายในประเทศที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศภาคีคู่สัญญา การจัดทำภาคผนวก
ข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างไทย-ลาว/พม่า-จีน แนวตะวันออก-ตะวันตก ระหว่างพม่า-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม
2. การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง (ท่านสมมาด พลเสนา) ของ สปป.ลาว
2.1 การเปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสัก
ฝ่ายลาวเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีและสนับสนุนให้เปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง ระหว่างอุบลราชธานี - จำปาสัก เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพที่ต้องการเดินทางในเส้นทางดังกล่าวประมาณวันละ 500 คน ทั้งนี้ ฝ่ายลาวจะมอบให้รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ให้บริการเดินรถโดยสารร่วมกับบริษัท ขนส่ง จำกัด ของไทย
2.2 การยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว
ภายหลังบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เริ่มให้บริการเดินรถโดยสารเส้นทางหนองคาย-เวียงจันทน์ และอุดรธานี-เวียงจันทน์ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาผลการดำเนินการแล้ว พบว่ามีค่าใช้จ่ายคงที่สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราค่าโดยสาร เนื่องจาก บขส. และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยที่การกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้สะพานฯ เป็นอำนาจของคณะกรรมาธิการร่วมกำหนดนโยบายบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งถึงคราวที่ฝ่ายลาวจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการฯ กระทรวงคมนาคมจึงได้มีหนังสือถึงฝ่ายลาวขอให้จัดการประชุมเพื่อพิจารณา ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แต่ไม่ได้รับแจ้งด้วย
ในการหารือครั้งนี้ ฝ่ายลาวแจ้งว่าได้นำประเด็นดังกล่าวเสนอรองนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว พิจารณา ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว มีความเห็นว่า หากมีการลด/ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพจะมีผลกระทบต่อการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สะพานอื่นๆ จึงไม่เห็นด้วยที่จะลด/ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายลาวได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาวพิจารณาศึกษาแนวทางในการอำนวยความสะดวกให้แก่รถโดยสารประจำทางไทย - ลาว โดยอาจจัดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอำนวยความสะดวกในการตรวจผู้โดยสารที่ตลาดเช้ากรุงเวียงจันทน์ เพื่อที่จะผู้โดยสารไม่ต้องลงจากรถเพื่อดำเนินการพิธีการผ่านแดนที่ด่านชายแดน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
ด้วยนายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปร่วมลงนามภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 13 สรุปผลการเดินทาง ดังนี้
1. การลงนามภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมลงนามในภาคผนวกแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ภาคผนวก 1 การขนส่งสินค้าอันตราย
ภาคผนวก 9 หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งสำหรับการประกอบการขนส่ง
ข้ามพรมแดน
ภาคผนวก 13 บี หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับการ
ประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน
ภาคผนวก 16 หลักเกณฑ์เรื่องใบอนุญาตขับขี่
ภาคผนวกทั้งสี่ฉบับดังกล่าว จะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของสินค้าอันตราย คุณสมบัติของ
ผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ คุณสมบัติของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศ และการยอมรับใบอนุญาตขับขี่ภายในประเทศที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศภาคีคู่สัญญา การจัดทำภาคผนวก
ข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างไทย-ลาว/พม่า-จีน แนวตะวันออก-ตะวันตก ระหว่างพม่า-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม
2. การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง (ท่านสมมาด พลเสนา) ของ สปป.ลาว
2.1 การเปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสัก
ฝ่ายลาวเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีและสนับสนุนให้เปิดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง ระหว่างอุบลราชธานี - จำปาสัก เนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพที่ต้องการเดินทางในเส้นทางดังกล่าวประมาณวันละ 500 คน ทั้งนี้ ฝ่ายลาวจะมอบให้รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ให้บริการเดินรถโดยสารร่วมกับบริษัท ขนส่ง จำกัด ของไทย
2.2 การยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว
ภายหลังบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เริ่มให้บริการเดินรถโดยสารเส้นทางหนองคาย-เวียงจันทน์ และอุดรธานี-เวียงจันทน์ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาผลการดำเนินการแล้ว พบว่ามีค่าใช้จ่ายคงที่สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราค่าโดยสาร เนื่องจาก บขส. และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยที่การกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้สะพานฯ เป็นอำนาจของคณะกรรมาธิการร่วมกำหนดนโยบายบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งถึงคราวที่ฝ่ายลาวจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการฯ กระทรวงคมนาคมจึงได้มีหนังสือถึงฝ่ายลาวขอให้จัดการประชุมเพื่อพิจารณา ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แต่ไม่ได้รับแจ้งด้วย
ในการหารือครั้งนี้ ฝ่ายลาวแจ้งว่าได้นำประเด็นดังกล่าวเสนอรองนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว พิจารณา ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว มีความเห็นว่า หากมีการลด/ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพจะมีผลกระทบต่อการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สะพานอื่นๆ จึงไม่เห็นด้วยที่จะลด/ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สะพานมิตรภาพ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายลาวได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาวพิจารณาศึกษาแนวทางในการอำนวยความสะดวกให้แก่รถโดยสารประจำทางไทย - ลาว โดยอาจจัดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอำนวยความสะดวกในการตรวจผู้โดยสารที่ตลาดเช้ากรุงเวียงจันทน์ เพื่อที่จะผู้โดยสารไม่ต้องลงจากรถเพื่อดำเนินการพิธีการผ่านแดนที่ด่านชายแดน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--