คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ รายงานความคืบหน้าในส่วนของการพัฒนาระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. ภายใต้สัญญาจัดจ้างกับกลุ่มบริษัทอันประกอบด้วยบริษัทจันวาณิชย์จำกัด และบริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นตี้งจำกัด และบริษัท NEC Solutions Asia Pacific Pte.,Ltd. (ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548) ได้แบ่งระยะเวลาในการพัฒนาระบบออกเป็น 4 ช่วง คือ
ช่วงระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2548 เป็นช่วงโครงการนำร่องโดยทดลองใช้งานกับหนังสือเดินทางทูตและราชการ และเปิดบริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2548 เป็นช่วงโครงการนำร่องสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเปิดให้บริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงศุล ถนนแจ้งวัฒนะ ในช่วงโครงการนำร่องนี้ เพื่อมิให้เกิดความขลุกขลักในการมีหนังสือเดินทางของประชาชน กระทรวงการต่างประเทศจะยังผลิตหนังสือเดินทางแบบเดิมคู่ขนานไปด้วย
ช่วงระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยกระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม โดยเปิดให้บริการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ช่วงระยะที่ 4 ช่วงพัฒนาระบบ รวมทั้งเปิดสำนักงานบริการรับคำร้องเพิ่มเติมอีก 10 สาขา และหน่วยสัญจรอีก 5 หน่วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะติดตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization ICAO) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบในกรณีที่ ICAO มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทางเทคนิค
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ใน microchip ที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง โดยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะใช้ข้อมูลรูปใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนั้น ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะต้องไปติดต่อด้วยตนเองที่สำนักงานที่ให้บริการ เพื่อการเก็บข้อมูลใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ
นอกจากนี้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น ทั้งในตัวเล่มเองซึ่งมีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยป้องกันการปลอมแปลงมากถึง 52 จุด ในระบบการออกหนังสือเดินทางที่มีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือเดินทางควบคู่ไปกับผู้ถือหนังสือเดินทาง
สำหรับการประยุกต์ใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดและได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจคนเข้าเมืองผู้โดยสารขาเข้าและขาออกด้วยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ติดตั้งระบบตรวจคนเข้าเมืองโดยอัตโนมัติ (automatic gate) ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ 4 เครื่อง แบ่งเป็นผู้โดยสารขาเข้า 2 เครื่อง และขาออก 2 เครื่อง ทั้งนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แบบธรรมดา (Manual) อีก 4 เครื่อง แบ่งเป็นผู้โดยสารขาเข้า 2 เครื่อง และผู้โดยสารขาออก 2 เครื่อง เป็นการเสริม หากเครื่องอัตโนมัติขัดข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--
1. ภายใต้สัญญาจัดจ้างกับกลุ่มบริษัทอันประกอบด้วยบริษัทจันวาณิชย์จำกัด และบริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นตี้งจำกัด และบริษัท NEC Solutions Asia Pacific Pte.,Ltd. (ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548) ได้แบ่งระยะเวลาในการพัฒนาระบบออกเป็น 4 ช่วง คือ
ช่วงระยะที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2548 เป็นช่วงโครงการนำร่องโดยทดลองใช้งานกับหนังสือเดินทางทูตและราชการ และเปิดบริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2548 เป็นช่วงโครงการนำร่องสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเปิดให้บริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงศุล ถนนแจ้งวัฒนะ ในช่วงโครงการนำร่องนี้ เพื่อมิให้เกิดความขลุกขลักในการมีหนังสือเดินทางของประชาชน กระทรวงการต่างประเทศจะยังผลิตหนังสือเดินทางแบบเดิมคู่ขนานไปด้วย
ช่วงระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยกระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม โดยเปิดให้บริการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ช่วงระยะที่ 4 ช่วงพัฒนาระบบ รวมทั้งเปิดสำนักงานบริการรับคำร้องเพิ่มเติมอีก 10 สาขา และหน่วยสัญจรอีก 5 หน่วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะติดตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization ICAO) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบในกรณีที่ ICAO มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทางเทคนิค
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ใน microchip ที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง โดยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะใช้ข้อมูลรูปใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนั้น ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะต้องไปติดต่อด้วยตนเองที่สำนักงานที่ให้บริการ เพื่อการเก็บข้อมูลใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ
นอกจากนี้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น ทั้งในตัวเล่มเองซึ่งมีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยป้องกันการปลอมแปลงมากถึง 52 จุด ในระบบการออกหนังสือเดินทางที่มีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือเดินทางควบคู่ไปกับผู้ถือหนังสือเดินทาง
สำหรับการประยุกต์ใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดและได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินโครงการนำร่องระบบตรวจคนเข้าเมืองผู้โดยสารขาเข้าและขาออกด้วยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ติดตั้งระบบตรวจคนเข้าเมืองโดยอัตโนมัติ (automatic gate) ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ 4 เครื่อง แบ่งเป็นผู้โดยสารขาเข้า 2 เครื่อง และขาออก 2 เครื่อง ทั้งนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แบบธรรมดา (Manual) อีก 4 เครื่อง แบ่งเป็นผู้โดยสารขาเข้า 2 เครื่อง และผู้โดยสารขาออก 2 เครื่อง เป็นการเสริม หากเครื่องอัตโนมัติขัดข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 มิถุนายน 2548--จบ--