ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ....

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 27, 2010 11:07 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ

พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง

กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 4 ฉบับ (ร่างกฎหมายตามแผนพัฒนากฎหมายของสำนักงานอัยการ

สูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2551)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ รวม 4 ฉบับ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.1 กำหนดนิยามคำว่า “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “พนักงานอัยการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 4)

1.2 กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วยคณะกรรมการข้าราชการอัยการ (ก.อ.) อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ มีฐานะเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การดำเนินการอื่น และเป็นนิติบุคคลโดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายใน (ร่างมาตรา 7)

1.3 กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม และกำหนดชื่อผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 8 และร่างมาตรา 9)

1.4 กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งอัยการสูงสุด โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.อ. และดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว จึงให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวมทั้งการพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุด และการแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานอัยการอื่น (ร่างมาตรา 10)

1.5 กำหนดให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลทุกศาล และกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 11 และร่างมาตรา 14)

1.6 กำหนดให้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการได้รับความคุ้มครอง และหากผู้เสียหายประสงค์จะกล่าวหา หรือฟ้องร้องว่าพนักงานอัยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ให้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการตรวจสอบความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ (ก.ต.อ.) กรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่าพนักงานอัยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบให้มีการฟ้องพนักงานอัยการผู้ถูกกล่าวหาในศาลที่มีเขตอำนาจ (ร่างมาตรา 22 — ร่างมาตรา 23 และร่างมาตรา 34 (4))

1.7 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.อ.” และอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของผู้เสียหายอันเนื่องจากการ “ใช้ดุลพินิจ” ในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 24 และร่างมาตรา 30)

1.8 กำหนดคุณสมบัติของประธานและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ (ร่างมาตรา 25 และร่างมาตรา 28 — ร่างมาตรา 29)

1.9 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยรับตรวจตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 41 และร่างมาตรา 43)

2. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

2.1 ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)

2.2 กำหนดนิยามคำว่า “ข้าราชการฝ่ายอัยการ” หมายความว่าข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด และ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ (ร่างมาตรา 4)

2.3 กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ มี 2 ประเภท คือ ข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการ และกำหนดในเรื่องอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง บำเหน็จบำนาญเครื่องแบบและการแต่งกาย รวมทั้งวันเวลาทำงาน วันหยุดราชการ และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ร่างมาตรา 6 — ร่างมาตรา 13)

2.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.” และอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. (ร่างมาตรา 18 และร่างมาตรา 30)

2.5 กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และวิธีการประชุม (ร่างมาตรา 19 ร่างมาตรา 23 และร่างมาตรา 25 — ร่างมาตรา 27)

2.6 กำหนดตำแหน่งและชั้นของข้าราชการอัยการ และการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ร่างมาตรา 32 — ร่างมาตรา 34)

2.7 กำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งการพ้นจากตำแหน่ง วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 32 — ร่างมาตรา 47 และร่างมาตรา 56 — ร่างมาตรา 84)

2.8 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 49 — ร่างมาตรา 55)

2.9 กำหนดคุณสมบัติของข้าราชการธุรการ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการรักษาจริยธรรมและจรรยาของข้าราชการธุรการ (ร่างมาตรา 92 — ร่างมาตรา 101 และร่างมาตรา 103 — ร่างมาตรา 104)

3. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 31 และมาตรา 34 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ร่างมาตรา 3 — ร่างมาตรา 4) ดังนี้

          พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน                ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
          พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม                        (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          มาตรา 31 กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนัก                 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 31 แห่ง
          นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่ง               พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
          ส่วนราชการดังนี้                                    ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
         (1) สำนักงานเลขานุการกรม                           แผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่
บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการ
ตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น  จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วน
ราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้
         สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงาน                สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะแบ่งส่วน
         อัยการสูงสุด จะแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมกับ              ราชการให้เหมาะสมกับราชการของตำรวจก็ได้
ราชการของตำรวจหรือราชการของอัยการก็ได้
มาตรา 34 กระทรวง ทบวง กรมใด มีเหตุพิเศษ จะตรา       มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 34
         พระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้า          แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
         ส่วนราชการประจำเขตแล้วแต่จะเรียกชื่อเพื่อปฏิบัติงาน         และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ทางวิชาการก็ได้ ฯลฯ
         ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การแบ่งเขตและ               ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การแบ่งเขตและ
         การปกครองบังคับบัญชาของตำรวจและอัยการซึ่งได้            การปกครองบังคับบัญชาของตำรวจซึ่งได้กำหนดโดย
         กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา                             พระราชกฤษฎีกา

4. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 46 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ร่างมาตรา 3 — ร่างมาตรา 4 ) ดังนี้

          พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม                    ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
          พ.ศ. 2545                                           (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          มาตรา 46 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี              มาตรา 3 ให้ยกเลิก (9) ของมาตรา 46 แห่ง
          กระทรวงหรือทบวง มีดังต่อไปนี้                             พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

ฯลฯ

(9) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ

การดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้

คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของ

รัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ฯลฯ

ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) (5) (6) และ

(7) มีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (8) และ (9) มีฐานะเป็นกรม

อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

          มาตรา 46 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี              มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 46 แห่ง
          กระทรวงหรือทบวง มีดังต่อไปนี้                             พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
                     ฯลฯ                                      และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
          ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (8) และ (9) มีฐานะ               ส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง (8) มีฐานะเป็นกรม อยู่
          เป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการ                   ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มกราคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ