ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ครั้งที่ 6/2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 27, 2010 14:59 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ครั้งที่ 6/2552 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ

ข้อเท็จจริง

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งมีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธาน ได้มีการประชุมครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 เวลา 14.00 — 15.30 น. ณ ห้องประชุม เดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สรุปผลการประชุมคณะกรรมการฯ ดังนี้

1. การปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการประกันรายได้เกษตรกร

คณะกรรมการได้พิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรและการปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1 ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้จัดทำสัญญาประกันรายได้ผู้ปลูกข้าว จำนวน 2.99 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.07 หรือ ร้อยละ 88.25 ของจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ และมีเกษตรกรมาขอใช้สิทธิการชดเชยแล้ว 1.06 ล้านราย หรือร้อยละ 31.34 คิดเป็นวงเงินที่จ่ายชดเชย 11,219.4 ล้านบาท นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินการทำสัญญาประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 98.44 และ 95.48 ของจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตามลำดับ โดยมีสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2552 ดังนี้

                                 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์               มันสำปะหลัง                    ข้าว
                              จำนวนราย  ร้อยละของขึ้น      จำนวนราย  ร้อยละของขึ้น       จำนวนราย   ร้อยละของขึ้น
                                            ทะเบียน                    ทะเบียน                      ทะเบียน
1) การขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืช        400,355.00      106.22*   447,306.00      116.30*  3,395,068.00        91.38*
   (เพิ่มขึ้นจาก 11 ธ.ค.52)           0.00        0.00          0.00        0.00    (38,992.00)       (1.16)
2) ผ่านการรับรองโดยประชาคม    398,677.00       99.58    444,168.00       99.30   3,263,402.00        96.12
   (เพิ่มขึ้นจาก 11 ธ.ค.52)           0.00        0.00          0.00        0.00    (30,145.00)       (0.93)
3) ธ.ก.ส. รับทะเบียนเกษตรกร   398,217.00       99.47    443,238.00       99.09   3,238,459.00        95.39
   (เพิ่มขึ้นจาก 11 ธ.ค.52)           0.00        0.00          0.00        0.00    (30,099.00)       (0.94)
4) ธ.ก.ส. ทำสัญญา            394,124.00       98.44    427,087.00       95.48   2,996,098.00        88.25
   (เพิ่มขึ้นจาก 11 ธ.ค.52)     (3,522.00)      (0.90)    (4,440.00)      (1.05)   (322,705.00)      (12.07)
5) การใช้สิทธิของเกษตรกร       348,009.00       86.93    117,939.00       26.37   1,064,156.00        31.34
   (เพิ่มขึ้นจาก 11 ธ.ค.52)    (14,596.00)      (4.38)   (52,728.00)     (80.86)   (519,666.00)      (95.44)
6) จำนวนเงินชดเชย (ล้านบาท)     5,235.30                    853.70                  11,219.40
หมายเหตุ  * หมายถึง ร้อยละของเป้าหมาย

1.2 การปรับปรุงตัวชี้วัดของโครงการ

ฝ่ายเลขานุการได้ดำเนินการปรับปรุงตัวชี้วัดตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2552 โดยได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีข้อสรุปในการจัดทำตัวชี้วัดโครงการประกันรายได้เกษตรกร ดังนี้

1.2.1 เป้าหมายรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเกษตรกร โดยประมาณการรายได้ที่คาดว่าครัวเรือนเกษตรกรจะได้รับจากการดำเนินโครงการ เปรียบเทียบกับรายได้ที่ครัวเรือนเกษตรกรได้รับจริงจากราคาที่จำหน่ายได้จริง

1.2.2 การเข้าถึงโครงการของเกษตรกร โดยใช้สัดส่วนจำนวนครัวเรือนที่ปลูกพืชนั้นๆ ที่ได้ทำสัญญาต่อจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชชนิดนั้นทั้งหมด โดยกำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 100

1.2.3 ผู้ได้รับประโยชน์ ใช้จำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้ใช้สิทธิชดเชยจริง เปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด

1.3 ความเห็นของคณะกรรมการฯ

คณะกรรมการเห็นควรให้ปรับปรุงตัวชี้วัดของโครงการที่สามารถสะท้อนวัตถุประสงค์ของโครงการมากยิ่งขึ้น โดยควรกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้

1.3.1 ด้านรายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตรกรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการ โครงการประกันรายได้เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มรายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถดำรงอาชีพการเกษตรได้โดยไม่เป็นหนี้สิน จึงควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดด้านรายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตรกรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการ โดยอาจพิจารณาเป็นรายผลผลิตและรายภาคเปรียบเทียบกับเส้นระดับความ ยากจนของประเทศ

1.3.2 ด้านความสำเร็จในการเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรผ่านกลไกการตลาด โครงการประกันรายได้เกษตรกรมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการทำงานของกลไกการตลาด โดยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลทางการตลาดที่แท้จริง นอกเหนือจากการรับรู้ราคาที่เกษตรกรขายให้โรงสี ทั้งนี้ การรับรู้ข้อมูลราคาสินค้าเกษตรจะทำให้เกษตรกรมีข้อมูลในการตัดสินใจที่จะเก็บเกี่ยวและขายผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหากราคาในท้องตลาดปรับตัวต่ำลง เกษตรกรสามารถมีทางเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยไม่จำเป็นต้องขายผลผลิตและรับเงินส่วนต่างชดเชยรายได้ไปก่อน

1.3.3 ด้านการลดภาระของภาครัฐในการอุดหนุนงบประมาณแก่เกษตรกรในระยะยาวจากการมีกลไกทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ เนื่องจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรคาดว่าจะใช้งบประมาณน้อยกว่าโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์มากกว่าโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร ดังนั้น จึงควรกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการลดภาระการอุดหนุนเกษตรกรของรัฐบาลที่ชัดเจนต่อไป

2. โครงการสาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตร

2.1 ภาพรวมของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตร โครงการที่ได้รับอนุมัติในแผนการลงทุนฯ ประกอบด้วยโครงการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำวงเงินลงทุนรวม 212,818 ล้านบาท และโครงการด้านการเกษตร วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 16,503.40 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภาพรวมแผนลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

หน่วย : ล้านบาท

ลำดับ  แผนงาน/โครงการ               2553    2554    2555   2553 —         ผลประโยชน์
                                                            2555       พื้นที่รับ   ครัวเรือน   ความจุ      จ้างงาน
                                                                     ประโยชน์              (ล้าน        (คน)
                                                                        (ไร่)            ลบ.ม.)
1     การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ        7,507   7,950   2,703   18,160   2,206,422   361,523     847     14,372
(กรมทรัพยากรน้ำ)
2     การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่       22,024  31,693  33,878   87,595  28,384,472                    1,084,408
ชลประทานเดิม
(กรมชลประทาน)
3     การจัดหาแหล่งน้ำและ           20,131  29,764  31,546  821,441   2,213,594   262,426     687    254,232
เพิ่มพื้นที่ชลประทาน
(กรมชลประทาน  และ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล)
4     การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย     10,727   6,687   8,206   25,621   4,951,760   378,627     277    135,362
(กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ
กรมพัฒนาที่ดิน และกรมโยธา
ธิการและผังเมือง)
      รวมด้านการบริหารจัดการ        60,389  76,095  76,333  212,818  37,756,248 1,002,576   1,812  1,488,374
ทรัพยากรน้ำ
ภาพรวมแผนการลงทุนด้านการเกษตร

แผนการลงทุนเพื่อการพัฒนา             รวม      2553      2554      2555  ผลประโยชน์
ประเทศในระยะปานกลาง
1. ปรับปรุงพันธุ์และกระจายพันธุ์    3,469.15    875.21  1,353.13  1,240.80  - กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้
  • พื้นที่ได้รับประโยชน์ 1,600 ไร่
  • เพิ่มผลิตภาพการผลิต เช่น มันสำปะหลังจาก 3.8

ตัน/ไร่ เป็น 5 ตัน/ไร่

  • มีการใช้วัสดุในประเทศเป็นส่วนใหญ่
  • จ้างงานรวม 1,004,810 คน
2. การพัฒนารูปแบบและ          9,576.13  7,270.20  1,343.02    962.91  - เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
เทคโนโลยีการผลิตการเกษตรเพื่อ                                           - ลดต้นทุนการผลิตด้านพันธุ์ ปุ๋ยและสารเคมี
สร้างมูลค่าเพิ่ม (Modern                                                 - เพิ่มผลิตภาพการผลิตด้านพืชของเกษตรกร ได้แก่
Agriculture)                                                          อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน

เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

  • มีการใช้วัสดุในประเทศเป็นส่วนใหญ่
  • จ้างงานรวม 21,498 คน
3. การศึกษาและพัฒนา           3,458.12  1,353.47  1,263.64    841.01  -  มีการใช้วัสดุในประเทศเป็นส่วนใหญ่
ประสิทธิภาพการผลิต                                                     -  จ้างงาน 37,200 คน
รวมวงเงินทั้งสิ้น               16,503.40  9,498.88  3,959.79  3,044.73

ทั้งนี้ โครงการสาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตรภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้รับจัดสรรเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 ดังนี้

เงินลงทุนตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู

และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552

หน่วย: ล้านบาท

ประเภทของโครงการ              2553        2554        2555    2553-2555
โครงการตาม พ.ร.ก.        47,963.82    8,604.19    4,788.57    61,356.58
- ทรัพยากรน้ำ              47,903.82    8,604.19    4,788.57    61,296.58
- เกษตร                      60.00           -           -        60.00

2.2 ตัวชี้วัดของการติดตามและประเมินผลแผนการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สาขาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการเกษตร แบ่งได้ใน 2 มิติ ได้แก่

2.2.1 ตัวชี้วัดการติดตามความก้าวหน้า ได้แก่ (1) ความก้าวหน้าในการเบิกจ่าย งบประมาณ ประกอบด้วย ร้อยละของวงเงินที่มีการประกวดราคาแล้วเสร็จต่อวงเงินทั้งหมด ร้อยละของวงเงินที่มีการลงนามในสัญญาจัดจ้างต่อวงเงินทั้งหมด และร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณต่องบประมาณที่ได้รับ (2) ร้อยละของจำนวน โครงการที่ก่อสร้างได้ตามเป้าหมาย (3)ร้อยละของจำนวนการจ้างแรงงานต่อเป้าหมาย (4) ความก้าวหน้าของของโครงการเมื่อเทียบกับแผน

2.2.2 ตัวชี้วัดการประเมินผลความสำเร็จโครงการ เพื่อประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการทั้งในด้านผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) มีรายละเอียดดังนี้

ตัวชี้วัดการประเมินผลความสำเร็จโครงการ

แผนงาน                                                       ตัวชี้วัด

(แบ่งตามวัตถุประสงค์ของแผนการลงทุน)

                            การกระตุ้นเศรษฐกิจ         การเพิ่มการจ้างงาน             กระจายการลงทุนด้านบริการ

สาธารณะขั้นพื้นฐาน

1.การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ      1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.จำนวนพื้นที่รับประโยชน์ที่
(กรมทรัพยากรน้ำ)              งบประมาณเทียบกับวงเงินที่    เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    เพิ่มขึ้นเทียบกับเป้าหมาย
                            ได้รับอนุมัติ                กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       2.จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์
                            2.จำนวนโครงการที่สร้าง     ในแผนการดำเนินงาน            เทียบกับเป้าหมาย
                            แล้วเสร็จ                                             3.ปริมาณน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเทียบ

กับเป้าหมาย

4.จำนวนประชากรที่มีน้ำอุปโภค

บริโภคเพิ่มขึ้นในฤดูแล้ง

2.การบริหารจัดการน้ำใน         1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.พื้นที่ชลประทานที่ได้รับการปรับปรุง
พื้นที่ชลประทานเดิม              งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    2.ประสิทธิภาพในการส่งน้ำของ
(กรมชลประทาน)               ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       ระบบชลประทาน ที่เพิ่มขึ้น
                            2.จำนวนโครงการที่สร้าง     ในแผนการดำเนินงาน            3.ปริมาณน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
                            แล้วเสร็จ                                             เทียบกับเป้าหมาย

4.จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์

เทียบกับเป้าหมาย

5.สัดส่วนของผลผลิตของเกษตรกร

ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

3.การจัดหาแหล่งน้ำและ          1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.พื้นที่ชลประทานที่เพิ่มขึ้นเทียบกับ
เพิ่มพื้นที่ชลประทาน              งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    เป้าหมาย
กรมชลประทาน                 ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       2.พื้นที่รับประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น
และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล)       2.จำนวนโครงการที่สร้าง     ในแผนการดำเนินงาน            เทียบกับเป้าหมาย
                            แล้วเสร็จต่อเป้าหมาย                                    3.ปริมาณน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเทียบกับ

เป้าหมาย

4.สัดส่วนของผลผลิตของเกษตรกร

ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

5.จำนวนประชากรที่มีน้ำอุปโภค

บริโภคเพิ่มขึ้น

4.การป้องกันและบรรเทา         1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.สัดส่วนของความเสียหายจาก
อุทกภัย                       งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    อุทกภัยที่ลดลงจากเดิม
กรมชลประทาน                 ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       2.พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับการฟื้นฟู
กรมทรัพยากรน้ำ                2.จำนวนโครงการที่สร้าง     ในแผนการดำเนินงาน
กรมพัฒนาที่ดินและกรม            แล้วเสร็จต่อเป้าหมาย
โยธาธิการและผังเมือง)
5.การปรับปรุงและ              1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.ประสิทธิภาพการผลิต
กระจายพันธุ์ดี                  งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    การเกษตรเพิ่มขึ้น
(กรมการข้าว กรมส่งเสริม        ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       2.ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
การเกษตร กรมวิชาการเกษตร                             ในแผนการดำเนินงาน            เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรม
ส่งเสริมสหกรณ์)
6.การพัฒนารูปแบบและ           1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.ประสิทธิภาพการผลิต
เทคโนโลยีการผลิตการ           งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    การเกษตรเพิ่มขึ้น
เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม         ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน       2.ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น
(กรมการข้าว กรมวิชา                                   ในแผนการดำเนินงาน            เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
การเกษตร กรมปศุสัตว์                                                               3.จำนวนฟาร์มที่ทำการผลิต
กรมประมง                                                                        เข้าสู่ฟาร์มมาตรฐานเพิ่มขึ้น
กรมส่งเสริมสหกรณ์)
7.การศึกษาและพัฒนา            1.ร้อยละของการเบิกจ่าย     จำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้าง       1.ระบบฐานข้อมูลของเกษตรกร
ประสิทธิภาพการผลิต             งบประมาณเทียบกับวงเงิน     เพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบ    ทั้งพืช และประมง
(กรมส่งเสริมการเกษตร          ที่ได้รับอนุมัติ               กับเป้าหมายการจ้างแรงงาน
กรมประมง สถาบันวิจัยและ                                ในแผนการดำเนินงาน
พัฒนาพื้นที่สูง)

2.3 ความเห็นของคณะกรรมการฯ

2.3.1 โครงการตามแผนการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำในส่วนของการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ประกอบด้วยการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูแหล่งน้ำ มีลักษณะเป็นโครงการขนาดเล็ก ซึ่งน่าจะเป็นงานในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวมีจำนวนมาก และเป็นโครงการขนาดเล็กที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้เร็ว จึงควรให้ความสำคัญในการติดตามและประเมินผลในโครงการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ

2.3.2 ในการติดตามประเมินผลโครงการตามแผนการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 สาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตร เพื่อให้สามารถประเมินผลความสำเร็จของโครงการได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากตัวชี้วัดในด้านพื้นที่ และผลผลิต/รายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรเพิ่มเติมตัวชี้วัดด้านการลดต้นทุนการผลิตด้วย ประกอบกับการทำการเกษตรมีหลายรูปแบบ ทั้งการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เกษตรผสมผสาน และเกษตรอินทรีย์ หากมีการติดตามประเมินผลที่สามารถประเมินการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับพื้นที่ดำเนินการและแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ดำเนินการในสาขาดังกล่าวได้ ก็จะทำให้การติดตามประเมินผลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

2.3.3 การจ้างแรงงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 นอกจากตัวชี้วัดจำนวนแรงงานที่มีการว่าจ้างเพื่อดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายการจ้างงานในแผนการดำเนินงานโดยมีหน่วยวัดเป็นจำนวนคนแล้ว อาจเพิ่มตัวชี้วัดโดยใช้หน่วยวัดเป็น Man-month ด้วย เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป

2.3.4 การดำเนินการให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้านการเกษตร จะต้องมีการดำเนินการทั้งด้านการชลประทาน และการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตรไปควบคู่กัน ดังนั้น การดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ทั้งในพื้นที่และเวลาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งควรมีการเลือกพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลในระดับพื้นที่ด้วย

2.3.5 ปัจจุบันได้มีการเริ่มดำเนินการในบางโครงการแล้ว ดังนั้น ควรเร่งให้มีการสำรวจภาคสนามและติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อจะได้ทราบความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้การดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

3. การสำรวจพื้นที่ภาคสนามเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการคณะกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับการสำรวจพื้นที่ภาคสนามเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการและมีความเห็นว่า การดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะการพัฒนาระบบถนน ชลประทาน โรงเรียน และสาธารณสุข มีเนื้องาน รูปแบบและขอบเขตงานที่หลากหลาย ในขณะที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีระยะเวลาเสนอแผนงาน/โครงการค่อนข้างจำกัด ทำให้ไม่สามารถจัดทำรายละเอียดของแผนงาน/โครงการได้เช่นเดียวกับการเสนอของบประมาณตามขั้นตอนปกติจึงจำเป็นต้องใช้ปริมาณงานและราคาต่อหน่วยที่เป็นแบบมาตรฐาน ประกอบกับยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถโอนเงินกู้ไปยังโครงการอื่นๆ ได้ จึงอาจทำให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นไม่สะท้อนกับความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้ สศช. ประสานกับสำนักงบประมาณในการติดตามประเมินผลโครงการและสำรวจพื้นที่ภาคสนาม และรายงานให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ซึ่งในการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ควรให้ความสำคัญในการติดตามประเมินผลการพัฒนาระบบถนน ชลประทาน โรงเรียน และสาธารณสุข และควรมุ่งเน้นการประเมินผลในด้านความสอดคล้องของผลผลิตจากการดำเนินโครงการจริงเปรียบเทียบกับผลผลิตที่กำหนดไว้ตามแผนการลงทุนที่เสนอ

สรุปมติคณะกรรมการฯ

1. รับความเห็นของคณะกรรมการฯ ในเรื่องการปรับปรุงตัวชี้วัดการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรและโครงการสาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตรไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

2. ประสานกับสำนักงบประมาณในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งและสำรวจพื้นที่ภาคสนามแล้วเสนอรายงานให้คณะกรรมการฯ พิจารณา โดยให้ความสำคัญในการติดตามผลการพัฒนาระบบถนน ชลประทาน โรงเรียน และสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นการประเมินผลในด้านความสอดคล้องของผลผลิตจากการดำเนินโครงการจริงเปรียบเทียบกับผลผลิตที่กำหนดไว้ตามแผนการลงทุนที่เสนอ

3. มอบหมายให้ สศช. และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประสานงานกับหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำ ชลประทาน และการเกษตร เพื่อให้การดำเนินโครงการในระดับพื้นที่มีความสอดคล้องกันต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มกราคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ