คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการติดตามสถานการณ์อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่น “ทุเรียน”สถานการณ์อุทกภัย (วันที่ 27 สิงหาคม—8 ธันวาคม 2549) และสถานการณ์ภัยหนาวที่เกิดขึ้น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. สถานการณ์พายุดีเปรสชัน “ทุเรียน” (ระหว่างวันที่ 5 — 7 ธันวาคม 2549)
1.1 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2549 พายุดีเปรสชั่น ‘‘ทุเรียน”บริเวณอ่าวไทย มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กม./ชม. ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพร (อำเภอละแม) เคลื่อนผ่านจังหวัดระนอง (อำเภอเมืองฯ อำเภอละอุ่น) และลงสู่ทะเลอันดามันตามลำดับ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง ตั้งแต่วันที่วันที่ 6-7 ธันวาคม 2549
1.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุง เตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2549 โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไว้ให้พร้อมในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้น
1.3 ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น. วันที่ 6 ธ.ค.49 ถึง 07.00 น.วันที่ 7 ธ.ค.2549 โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่จังหวัดชุมพร (อ.ท่าแซะ) 160.4 มม. (อ.สวี) 158.2 มม. (อ.เมืองฯ) 116.9 มม. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพานน้อย) 128.0 มม. (อ.บางสะพาน) 90.0 มม. และที่จังหวัดสงขลา (อ.รัตนภูมิ) 106.5 มม.
1.4 สถานการณ์อุทกภัย
ได้รับรายงานสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพานน้อย 5 ตำบล 1 เทศบาลได้แก่ ตำบลช้างแรก ไชยราช บางสะพาน ทรายทอง ปากแพรก และในเขตเทศบาลตำบลบางสะพานน้อย ถนนหลังสถานีรถไฟ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. และอำเภอบางสะพาน มี น้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลธงชัย บ้านตะเคียน โรงเรียนธงชัยวิทยา ทางอำเภอได้อพยพประชาชนประมาณ 20 ครอบครัวขึ้นมายังที่สูงบริเวณถนนเพชรเกษม สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายและยุติลงไปแล้วเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 7 ธันวาคม 2549
สำหรับจังหวัดชุมพรและระนองที่พายุเคลื่อนตัวผ่านไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างใด
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม - 8 ธันวาคม 2549)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 442 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 16 เขต 3,054 ตำบล 20,625 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,198,814 คน 1,430,085 ครัวเรือน
2.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 316 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 72 คน อ่างทอง 31 คน พิจิตร 31 คน นครสวรรค์ 27 คน สิงห์บุรี 21 คน สุพรรณบุรี 18 คน สุโขทัย 14 คน พิษณุโลก 12 คน ปราจีนบุรี 12 คน ชัยภูมิ 10 คน ชัยนาท 11 คน ยโสธร 9 คน เชียงใหม่ 7 คน อุทัยธานี 7 คน ปทุมธานี 6 คน ลพบุรี 6 คน แม่ฮ่องสอน 3 คน ลำปาง 3 คน จันทบุรี 3 คน ร้อยเอ็ด 3 คน กรุงเทพมหานคร 2 คน ศรีสะเกษ 2 คน เพชรบูรณ์ 1 คน พังงา 1 คน นครปฐม 1 คน นครราชสีมา 1 คน อุตรดิตถ์ 1 คน และอุดรธานี 1 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 649 หลัง เสียหายบางส่วน 36,735 หลัง ถนน 10,391 สาย สะพาน 671 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1,085 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 778 แห่ง พื้นที่การเกษตรที่เสียหาย 5,605,559 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 113,260 บ่อ จำนวนกระชัง 12,433 กระชัง ปศุสัตว์ 142,211 ตัว วัด 743 แห่ง โรงเรียน 682 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 7,636,574,897 บาท
2.3 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน ( ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 )
1) พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 43 จังหวัด
2) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี ในจำนวน 15 อำเภอ
ปัจจุบัน (วันที่ 8 ธันวาคม 2549) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้อยู่ต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว ส่วนจังหวัดปทุมธานีลงไปถึงสมุทรปราการยังมีผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไปอีกจนถึงกลางเดือนธันวาคม 2549 สำหรับพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออกระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร ได้แก่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบรรลือ และทุ่งพระพิมล กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากทุ่งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน คาดว่าระดับน้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549
2.4 การสนับสนุนช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) เครื่องจักรกล 153 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 142 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 555 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง พระนครศรีอยุธยา 88 หลัง สุโขทัย 20 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 124 หลัง น่าน 39 หลัง ชัยนาท 35 หลัง และสิงห์บุรี 22 หลัง) เต็นท์อำนวยการ 15 หลัง บ้านน็อคดาวน์ 10 หลัง สะพานเบลี่ย์ 57 เมตร พร้อมเจ้าหน้าที่ 642 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 80,359 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 263 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 6,845,000 บาท (คงเหลือ 53 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ)
3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
4) จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 719.28 ล้านบาท
2.5 การตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชา
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2549 นายกรัฐมนตรี (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) พร้อมคณะประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายอารีย์ วงศ์อารยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระ สูตะบุตร) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนวัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัย
2.6 การติดตามเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) ในฐานะประธานอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้แจ้งให้จังหวัดเร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามกรอบหลักเกณฑ์ การช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ทั้งนี้หากจังหวัดใดที่วงเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดมีเหลือไม่เพียงพอให้จังหวัดขอขยายวงเงินจากกระทรวงการคลังโดยด่วน ซึ่งปัจจุบันได้รับการขยายวงเงินจาก 50 ล้านบาทเป็น 100 ล้านบาท จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี และชัยนาท สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทองได้ขอขยายวงเงินเพิ่มเติมอีกจังหวัดละ 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง
3. สรุปสถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549)
3.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว 19 จังหวัด 155 อำเภอ 22 กิ่งอำเภอ 1,117 ตำบล 12,023 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 578,319 คน 230,540 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย และหนองบัวลำภู
3.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่ม อาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัดตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 เรื่องการปรับปรุงแก้ไขและทบทวนการให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ตำบล และจากแหล่งผลิตอื่นๆ ที่สามารถจัดส่งเครื่องกันหนาวให้ทันการแจกจ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 - 10 และจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
3) มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัทคิงเพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาวแจกจ่ายประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่น ๆ เป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท
4) บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด โดยร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแจกจ่ายไปแล้ว 14 จังหวัด จำนวน 167,780 ผืน นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด,องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มูลนิธิ องค์กรการกุศล ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่ได้แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวไปแล้ว 11,410 ผืน เสื้อกันหนาว 5,500 ตัว ผ้าห่มไหมพรม และอื่นๆ 4,498 ชิ้น รวมแจกจ่ายเครื่องกันหนาวทั้งสิ้น 189,188 ชิ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์พายุดีเปรสชัน “ทุเรียน” (ระหว่างวันที่ 5 — 7 ธันวาคม 2549)
1.1 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2549 พายุดีเปรสชั่น ‘‘ทุเรียน”บริเวณอ่าวไทย มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กม./ชม. ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพร (อำเภอละแม) เคลื่อนผ่านจังหวัดระนอง (อำเภอเมืองฯ อำเภอละอุ่น) และลงสู่ทะเลอันดามันตามลำดับ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง ตั้งแต่วันที่วันที่ 6-7 ธันวาคม 2549
1.2 สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุง เตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2549 โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไว้ให้พร้อมในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้น
1.3 ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น. วันที่ 6 ธ.ค.49 ถึง 07.00 น.วันที่ 7 ธ.ค.2549 โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่จังหวัดชุมพร (อ.ท่าแซะ) 160.4 มม. (อ.สวี) 158.2 มม. (อ.เมืองฯ) 116.9 มม. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพานน้อย) 128.0 มม. (อ.บางสะพาน) 90.0 มม. และที่จังหวัดสงขลา (อ.รัตนภูมิ) 106.5 มม.
1.4 สถานการณ์อุทกภัย
ได้รับรายงานสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพานน้อย 5 ตำบล 1 เทศบาลได้แก่ ตำบลช้างแรก ไชยราช บางสะพาน ทรายทอง ปากแพรก และในเขตเทศบาลตำบลบางสะพานน้อย ถนนหลังสถานีรถไฟ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. และอำเภอบางสะพาน มี น้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลธงชัย บ้านตะเคียน โรงเรียนธงชัยวิทยา ทางอำเภอได้อพยพประชาชนประมาณ 20 ครอบครัวขึ้นมายังที่สูงบริเวณถนนเพชรเกษม สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายและยุติลงไปแล้วเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 7 ธันวาคม 2549
สำหรับจังหวัดชุมพรและระนองที่พายุเคลื่อนตัวผ่านไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นแต่อย่างใด
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม - 8 ธันวาคม 2549)
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 442 อำเภอ 40 กิ่งอำเภอ 16 เขต 3,054 ตำบล 20,625 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 5,198,814 คน 1,430,085 ครัวเรือน
2.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 316 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 72 คน อ่างทอง 31 คน พิจิตร 31 คน นครสวรรค์ 27 คน สิงห์บุรี 21 คน สุพรรณบุรี 18 คน สุโขทัย 14 คน พิษณุโลก 12 คน ปราจีนบุรี 12 คน ชัยภูมิ 10 คน ชัยนาท 11 คน ยโสธร 9 คน เชียงใหม่ 7 คน อุทัยธานี 7 คน ปทุมธานี 6 คน ลพบุรี 6 คน แม่ฮ่องสอน 3 คน ลำปาง 3 คน จันทบุรี 3 คน ร้อยเอ็ด 3 คน กรุงเทพมหานคร 2 คน ศรีสะเกษ 2 คน เพชรบูรณ์ 1 คน พังงา 1 คน นครปฐม 1 คน นครราชสีมา 1 คน อุตรดิตถ์ 1 คน และอุดรธานี 1 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 649 หลัง เสียหายบางส่วน 36,735 หลัง ถนน 10,391 สาย สะพาน 671 แห่ง ท่อระบายน้ำ 1,085 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 778 แห่ง พื้นที่การเกษตรที่เสียหาย 5,605,559 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 113,260 บ่อ จำนวนกระชัง 12,433 กระชัง ปศุสัตว์ 142,211 ตัว วัด 743 แห่ง โรงเรียน 682 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 7,636,574,897 บาท
2.3 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน ( ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 )
1) พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 43 จังหวัด
2) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี ในจำนวน 15 อำเภอ
ปัจจุบัน (วันที่ 8 ธันวาคม 2549) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้อยู่ต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว ส่วนจังหวัดปทุมธานีลงไปถึงสมุทรปราการยังมีผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไปอีกจนถึงกลางเดือนธันวาคม 2549 สำหรับพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออกระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนในพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร ได้แก่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งพระยาบรรลือ และทุ่งพระพิมล กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากทุ่งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน คาดว่าระดับน้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2549
2.4 การสนับสนุนช่วยเหลือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) เครื่องจักรกล 153 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 142 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 555 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง พระนครศรีอยุธยา 88 หลัง สุโขทัย 20 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 124 หลัง น่าน 39 หลัง ชัยนาท 35 หลัง และสิงห์บุรี 22 หลัง) เต็นท์อำนวยการ 15 หลัง บ้านน็อคดาวน์ 10 หลัง สะพานเบลี่ย์ 57 เมตร พร้อมเจ้าหน้าที่ 642 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 80,359 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 263 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 6,845,000 บาท (คงเหลือ 53 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ)
3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
4) จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 719.28 ล้านบาท
2.5 การตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชา
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2549 นายกรัฐมนตรี (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) พร้อมคณะประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายอารีย์ วงศ์อารยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระ สูตะบุตร) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยที่โรงเรียนวัดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัย
2.6 การติดตามเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายพงศ์โพยม วาศภูติ) ในฐานะประธานอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ได้แจ้งให้จังหวัดเร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามกรอบหลักเกณฑ์ การช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ทั้งนี้หากจังหวัดใดที่วงเงินทดรองราชการ (งบ 50 ล้านบาท) ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดมีเหลือไม่เพียงพอให้จังหวัดขอขยายวงเงินจากกระทรวงการคลังโดยด่วน ซึ่งปัจจุบันได้รับการขยายวงเงินจาก 50 ล้านบาทเป็น 100 ล้านบาท จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี และชัยนาท สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทองได้ขอขยายวงเงินเพิ่มเติมอีกจังหวัดละ 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง
3. สรุปสถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549)
3.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว 19 จังหวัด 155 อำเภอ 22 กิ่งอำเภอ 1,117 ตำบล 12,023 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 578,319 คน 230,540 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของแก่น ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ หนองคาย และหนองบัวลำภู
3.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่ม อาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัดตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 เรื่องการปรับปรุงแก้ไขและทบทวนการให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ตำบล และจากแหล่งผลิตอื่นๆ ที่สามารถจัดส่งเครื่องกันหนาวให้ทันการแจกจ่ายในฤดูหนาวตามความเหมาะสมและจำเป็น รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 - 10 และจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งเก็บสำรองไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อสนับสนุนจังหวัดที่ประสบภัยหนาว ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
3) มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้มอบเงินที่ได้รับบริจาคจากบริษัทคิงเพาเวอร์ แท๊กซ์ฟรี จำกัด ให้แก่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำไปจัดหาเครื่องกันหนาวแจกจ่ายประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่น ๆ เป็นจำนวนเงิน 2,000,000 บาท
4) บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนผ้าห่มกันหนาว จำนวน 200,000 ผืน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว จำนวน 16 จังหวัด โดยร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแจกจ่ายไปแล้ว 14 จังหวัด จำนวน 167,780 ผืน นอกจากนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด,องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มูลนิธิ องค์กรการกุศล ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่ได้แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวไปแล้ว 11,410 ผืน เสื้อกันหนาว 5,500 ตัว ผ้าห่มไหมพรม และอื่นๆ 4,498 ชิ้น รวมแจกจ่ายเครื่องกันหนาวทั้งสิ้น 189,188 ชิ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--