คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) เป็นประธานในการประชุม ครั้งที่ 3/2549 วันพุธที่ 22 มีนาคม 2549 ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาการกำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะที่ 6 ไปประกอบการพิจารณาด้วย
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้กำหนดบทนิยาม
2. ให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
3. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกายอุปกรณ์ กำหนดลักษณะต้องห้าม การเลือกตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่
4. กำหนดคุณสมบัติผู้ขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกายอุปกรณ์
5. ให้บุคคลที่ได้รับประกาศนียบัตรต่ำกว่าปริญญาสาขาการกายอุปกรณ์ มายื่นคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาหนึ่งที่มีการให้บริการผู้ป่วยที่ส่วนของร่างกายได้สูญหายไป หรือสูญเสียหน้าที่อันเนื่องมาจากความพิการแต่กำเนิดจากโรคหรืออุบัติเหตุ โดยการใช้กายอุปกรณ์เทียมเสริมหรือช่วยพยุง หากได้มีการกำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขา การประกอบโรคศิลปะแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะด้าน สมควรกำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอยโรคศิลปะตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้การประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่เพิ่มขึ้นจะต้องกำหนดโดยพระรากฤษฎีกา จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้กำหนดบทนิยาม
2. ให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
3. กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกายอุปกรณ์ กำหนดลักษณะต้องห้าม การเลือกตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่
4. กำหนดคุณสมบัติผู้ขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการกายอุปกรณ์
5. ให้บุคคลที่ได้รับประกาศนียบัตรต่ำกว่าปริญญาสาขาการกายอุปกรณ์ มายื่นคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาหนึ่งที่มีการให้บริการผู้ป่วยที่ส่วนของร่างกายได้สูญหายไป หรือสูญเสียหน้าที่อันเนื่องมาจากความพิการแต่กำเนิดจากโรคหรืออุบัติเหตุ โดยการใช้กายอุปกรณ์เทียมเสริมหรือช่วยพยุง หากได้มีการกำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขา การประกอบโรคศิลปะแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่จะรับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะด้าน สมควรกำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอยโรคศิลปะตามมาตรา 5 (5) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้การประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่เพิ่มขึ้นจะต้องกำหนดโดยพระรากฤษฎีกา จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--