คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปรายงานโครงการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สรุปได้ดังนี้
โครงการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองลัด แนวเหนือ-ใต้ ของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่บริเวณ ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีสภาพตื้นเขินมีความกว้างเพียง 12 เมตร เมื่อทำการปรับปรุงแล้วสามารถลดระยะทางการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตรเหลือเพียง 600 เมตร จะช่วยให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลัดลงทะเลได้สะดวกและเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดี ต่อการช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การปรับปรุงคลองวัดโพธิ์ ดำเนินการดังนี้ คือ
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือกว้าง 14.00 เมตร จำนวน 4 บาน
- ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ำกว้าง 65 เมตร ท้ายประตูระบายน้ำกว้าง 66 เมตร
- ความยาวคลอง 600 เมตร
- ระดับก้นคลองอยู่ที่ —7.0 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- ระดับหลังคันคลอง +2.65 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
การปิด — เปิด บานระบาย
- ช่วงฤดูแล้งจะปิดบานเพื่อป้องกันน้ำทะเลไหลกลับเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา
- ช่วงฤดูน้ำหลาก เมื่อน้ำทะเลกำลังขึ้นจะปิดบาน และเมื่อน้ำทะเลกำลังลงจะเปิดบาน
ผลประโยชน์ของโครงการ
ผลประโยชน์ทางตรง
- สามารถระบายน้ำได้โดยควบคุมอัตราการไหล ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- จะลดระดับน้ำท่วมสูงสุดในแม่น้ำเจ้าพระยา 5-6 เซนติเมตร
- จะลดระยะน้ำท่วมได้ 1-2 วัน
- พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ ตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ได้ 161.4 ล้านบาท/ปี (จากรายงานการศึกษา)
ผลประโยชน์ทางอ้อม
- ลดภาระการป้องกันน้ำท่วม
- ลดการสูญเสียทรัพย์สินและเวลาในการเดินทาง
- ประหยัดค่ากระแสไฟฟ้าสูบน้ำของระบบป้องกันน้ำท่วมเดิม
- การเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินที่เคยถูกน้ำท่วม
- ลดภาระการบริหารงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเฉพาะหน้าของภาครัฐ
- สภาพจิตใจของประชาชนดีขึ้น
- ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ผลการดำเนินงาน
- ปัจจุบันผลการดำเนินงานปรับปรุงคลองลัดโพธิ์เสร็จแล้ว จะสามารถระบายน้ำได้ตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--
โครงการปรับปรุงคลองลัดโพธิ์ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองลัด แนวเหนือ-ใต้ ของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่บริเวณ ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีสภาพตื้นเขินมีความกว้างเพียง 12 เมตร เมื่อทำการปรับปรุงแล้วสามารถลดระยะทางการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตรเหลือเพียง 600 เมตร จะช่วยให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลัดลงทะเลได้สะดวกและเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดี ต่อการช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การปรับปรุงคลองวัดโพธิ์ ดำเนินการดังนี้ คือ
- ก่อสร้างประตูระบายน้ำบริเวณต้นคลองด้านทิศเหนือกว้าง 14.00 เมตร จำนวน 4 บาน
- ขุดคลองด้านเหนือประตูระบายน้ำกว้าง 65 เมตร ท้ายประตูระบายน้ำกว้าง 66 เมตร
- ความยาวคลอง 600 เมตร
- ระดับก้นคลองอยู่ที่ —7.0 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- ระดับหลังคันคลอง +2.65 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
การปิด — เปิด บานระบาย
- ช่วงฤดูแล้งจะปิดบานเพื่อป้องกันน้ำทะเลไหลกลับเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา
- ช่วงฤดูน้ำหลาก เมื่อน้ำทะเลกำลังขึ้นจะปิดบาน และเมื่อน้ำทะเลกำลังลงจะเปิดบาน
ผลประโยชน์ของโครงการ
ผลประโยชน์ทางตรง
- สามารถระบายน้ำได้โดยควบคุมอัตราการไหล ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
- จะลดระดับน้ำท่วมสูงสุดในแม่น้ำเจ้าพระยา 5-6 เซนติเมตร
- จะลดระยะน้ำท่วมได้ 1-2 วัน
- พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ ตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ได้ 161.4 ล้านบาท/ปี (จากรายงานการศึกษา)
ผลประโยชน์ทางอ้อม
- ลดภาระการป้องกันน้ำท่วม
- ลดการสูญเสียทรัพย์สินและเวลาในการเดินทาง
- ประหยัดค่ากระแสไฟฟ้าสูบน้ำของระบบป้องกันน้ำท่วมเดิม
- การเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดินที่เคยถูกน้ำท่วม
- ลดภาระการบริหารงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเฉพาะหน้าของภาครัฐ
- สภาพจิตใจของประชาชนดีขึ้น
- ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ผลการดำเนินงาน
- ปัจจุบันผลการดำเนินงานปรับปรุงคลองลัดโพธิ์เสร็จแล้ว จะสามารถระบายน้ำได้ตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--