คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช พ.ศ. .... ตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการกำหนดขั้นตอน และวิธีการในการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งยังเป็นการให้ความร่วมมือต่อประเทศภาคีในอนุสัญญาป้องกันศัตรูพืชระหว่างประเทศ และเป็นร่างกฎกระทรวงที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ปี 2548 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการขอและการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชดังนี้
1. ผู้ประสงค์ขอรับใบรับรองปลอดศัตรูพืช ให้ยื่นคำขอตามแบบ พ.ก. 9 กรณีทำการตรวจพืชในสถานที่ทำการให้ยื่นไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงก่อนเวลาส่งออก กรณีตรวจพืชนอกสถานที่ทำการ ให้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 วัน
2. ผู้ขอใบรับรอง ต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งออกให้สะอาด ถูกลักษณะ แสดงบัญชีรายชื่อพืช ผลิตผล แต่ละหีบห่อ ตามแบบบัญชี 1, 2 หรือ 3 ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกจากที่แจ้งในแบบ พ.ก. 9 และแบบ บ.ช. 1 - 3
3. กรณีตรวจพบศัตรูพืช หรือมีเหตุอื่นควรเชื่อว่ามีศัตรูพืช ต้องกำจัดด้วยวิธีรมยา พ่นยา จุ่มยา คลุกยา หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่
4. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จแล้ว ให้นำเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ตามแบบ พ.ก. 10
5. การไม่ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ได้แก่ กรณีตรวจพบศัตรูพืชร้ายแรงของประเทศปลายทาง ซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีการใด ๆ ไม่ได้ส่งพืชออกภายใน 14 วัน หลังการตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จแล้ว เป็นสิ่งต้องห้ามของประเทศปลายทาง หรือการตรวจพบพืชที่ไม่ได้แจ้งในแบบ พ.ก. 9 แบบ บ.ช. 1 บ.ช. 2 หรือ บ.ช. 3 หรือสิ่งปะปนอื่นใด ที่มิใช่พืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า เนื่องจากมาตรา 15 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงควรปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. ผู้ประสงค์ขอรับใบรับรองปลอดศัตรูพืช ให้ยื่นคำขอตามแบบ พ.ก. 9 กรณีทำการตรวจพืชในสถานที่ทำการให้ยื่นไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงก่อนเวลาส่งออก กรณีตรวจพืชนอกสถานที่ทำการ ให้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 วัน
2. ผู้ขอใบรับรอง ต้องจัดเตรียมพืชที่จะส่งออกให้สะอาด ถูกลักษณะ แสดงบัญชีรายชื่อพืช ผลิตผล แต่ละหีบห่อ ตามแบบบัญชี 1, 2 หรือ 3 ไม่บรรจุสิ่งอื่นใดนอกจากที่แจ้งในแบบ พ.ก. 9 และแบบ บ.ช. 1 - 3
3. กรณีตรวจพบศัตรูพืช หรือมีเหตุอื่นควรเชื่อว่ามีศัตรูพืช ต้องกำจัดด้วยวิธีรมยา พ่นยา จุ่มยา คลุกยา หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่
4. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จแล้ว ให้นำเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ตามแบบ พ.ก. 10
5. การไม่ออกใบรับรองปลอดศัตรูพืช ได้แก่ กรณีตรวจพบศัตรูพืชร้ายแรงของประเทศปลายทาง ซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีการใด ๆ ไม่ได้ส่งพืชออกภายใน 14 วัน หลังการตรวจพืชหรือกำจัดศัตรูพืชเสร็จแล้ว เป็นสิ่งต้องห้ามของประเทศปลายทาง หรือการตรวจพบพืชที่ไม่ได้แจ้งในแบบ พ.ก. 9 แบบ บ.ช. 1 บ.ช. 2 หรือ บ.ช. 3 หรือสิ่งปะปนอื่นใด ที่มิใช่พืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า เนื่องจากมาตรา 15 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้การขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช และการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงควรปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และคณะกรรมการพัฒนากฎหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--