ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 10, 2010 14:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาด้วยว่าจะสมควรรวมกับร่างพระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [ว่าด้วยการอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (The GMS Agreement)] และร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982) และร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [ว่าด้วยการอนุวัติการตามอนุสัญญาเกียวโต (ฉบับแก้ไข) และว่าด้วยการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากร] ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นฉบับเดียวกัน หรือไม่ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

ข้อเท็จจริง

กระทรวงการคลังเสนอว่า กรมศุลกากรได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรแล้วพบว่า ผู้ประกอบการมีความต้องการดำเนินธุรกิจที่มีความแน่นอนและคาดหมายได้ รวมถึงมีความเป็นธรรมในการขอชำระภาษีอากรเพิ่มเติมในกรณีที่ไม่มีเจตนากระทำความผิดและไม่มีการทุจริตในการแก้ไขปลอมแปลง หรือปกปิดเอกสารทางการค้าใด ๆ โดยไม่ต้องรับโทษทางอาญาที่รุนแรงเช่นเดียวกับการลักลอบหนีศุลกากรทางกายภาพ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการในการนำเข้าส่งออก และเปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจในการลงโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

ประเด็นที่แก้ไข                      พระราชบัญญัติศุลกากร                      ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร
                                 พระพุทธศักราช 2409                      (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
จำนวนเงินที่งดเรียกเก็บค่าภาษีอากรที่     ค่าภาษีที่ได้เสียไว้ไม่ครบถ้วนตาม              ค่าภาษีที่ได้เสียไว้ไม่ครบถ้วนตาม
ขาด                              จำนวนที่จะต้องเสียจริง และค่าภาษีที่           จำนวนที่จะต้องเสียจริง และค่าภาษีที่
                                 ขาดมีจำนวนไม่เกินยี่สิบบาทตามใบขน           ขาดมีจำนวน ไม่เกินหนึ่งพันบาทตาม
                                 สินค้าฉบับหนึ่ง ๆ อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดี            ใบขนสินค้าฉบับหนึ่ง ๆ อธิบดีหรือผู้ที่
                                 มอบหมายจะสั่งให้งดการเรียกเก็บ             อธิบดีมอบหมายจะสั่งให้งดการเรียก
                                 เพิ่มเติมก็ได้ (มาตรา 10)                  เก็บเพิ่มเติมก็ได้ (ร่างมาตรา 3 แก้ไข

มาตรา 10)

อัตราโทษสำหรับความผิดในการนำ        ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวม         ให้ปรับเป็นเงินไม่เกินสี่เท่าราคาของ
หรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีฯ          ค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน          ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือ
                                 สิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 27)           จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี หรือทั้ง

ปรับทั้งจำ (ร่างมาตรา 4 แก้ไขมาตรา

27)

กำหนดโทษสำหรับความผิดฐาน                       -                         -  ให้ปรับเป็นเงินไม่เกินสี่เท่าราคาของ
หลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรโดยมี                                           ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือ
เจตนาจะฉ้อค่าภาษีอากรในการกระทำ                                           จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี หรือทั้ง
ความผิด                                                                 ปรับทั้งจำ (ร่างมาตรา 5 เพิ่มเติม

มาตรา 27/1)

  • ให้การกระทำความผิดตามมาตรา

27/1 เป็นอำนาจของคณะกรรมการงด

การฟ้องร้อง (ร่างมาตรา 8 แก้ไขมาตรา

102 ทวิ)

อัตราโทษสำหรับความผิดกรณีช่วย         ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ           ต้องระวางโทษปรับเป็นเงินไม่เกินสี่เท่า
ซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายฯ                ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่า         ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
                                 อากรเข้าด้วยแล้ว  หรือทั้งปรับทั้งจำ           หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
                                 (มาตรา 27 ทวิ)                         (ร่างมาตรา 6 แก้ไขมาตรา 27/2)
การเรียกเก็บเงินเพิ่มที่ต้องชำระ         เมื่อผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำ            เมื่อผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกนำ
                                 เงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสีย          เงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสีย
                                 เพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ         เพิ่ม  ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อย
                                 หนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระ           ละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมา
                                 โดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบ             ชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่ง
                                 หรือส่งของออก จนถึงวันที่นำเงินมา            มอบหรือส่งของออก จนถึงวันที่นำเงิน
                                 ชำระ แต่มิให้เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าว         มาชำระ เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกิน
                                 ในกรณีที่มีการชำระอากรเพิ่ม (มาตรา          จำนวนค่าอากรที่ต้องชำระ แต่มิให้
                                 112 จัตวา)                             เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวในกรณีที่มี

การชำระอากรเพิ่ม (ร่างมาตรา 9

แก้ไขมาตรา 112 จัตวา)

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ