คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนและผลการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กรกฎาคม 2549 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรครวม 1,960 ราย จาก 67 จังหวัด
1.2 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังโรค 80 ราย จาก 19 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร 18 ราย สุโขทัย 14 ราย พิษณุโลกและสุพรรณบุรี จังหวัดละ 9 ราย น่าน 7 ราย นครสวรรค์ 4 ราย เพชรบูรณ์และอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 3 ราย นครปฐมและนนทบุรี จังหวัดละ 2 ราย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา นครนายก ปทุมธานี ปราจีนบุรี ลำพูน และอุทัยธานี จังหวัดละ 1 ราย อยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.3 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 มีการยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยไข้หวัดนก ในจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นรายแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 เป็นเพศชายอายุ 17 ปี อาชีพรับจ้างเป็นลูกจ้างร้านซ่อมจักรยานยนต์ สุขภาพแข็งแรง เป็นลูกชายคนเดียวและอาศัยอยู่กับพ่อแม่ มีบ้านอยู่ติดกับบ้านของตา-ยาย ซึ่งเลี้ยงไก่บ้านประมาณ 10 ตัว และมีลูกไก่อีกประมาณ 100 ตัว ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม ไก่ได้ทยอยตาย จนเหลือเพียง 3 ตัว ในการนี้ ผู้ป่วยให้ประวัติว่า เมื่อประมาณวันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ได้นำไก่ตายจำนวนหนึ่งไปฝัง วันที่ 15 กรกฎาคม 2549 มีอาการไข้ และไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทับคล้อ วันที่ 18 กรกฎาคม 2549 แพทย์วินิจฉัยว่า สงสัยอาจติดเชื้อไวรัสและได้ทำตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดคัดกรองเบื้องต้น ปรากฏผลเป็นลบ จึงให้ยาไปรับประทาน พร้อมทั้งแนะนำว่า หากอาการไม่ดีขึ้นให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้ง ต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ผู้ป่วยรายดังกล่าวกลับมาที่โรงพยาบาลทับคล้ออีกครั้งหนึ่ง แพทย์รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในตรวจเอกซเรย์ปอด แต่ไม่พบความผิดปกติแต่ประการใด และได้ตรวจสารพันธุกรรมต่อเชื้อไข้หวัดนกให้ผลลบ นอกจากนั้น อาการหลัก คือ มีไข้ ปวดแน่นท้อง และมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดคล้ายไข้เลือดออก และได้ให้การรักษาไข้เลือดออก แต่ปรากฏว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2549 ไข้ไม่ลด จึงได้ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลต่อที่โรงพยาบาลพิจิตร ตรวจเอกซเรย์ปอด พบว่า มีพยาธิสภาพในปอดข้างขวา แพทย์ตรวจสารพันธุกรรมอีกครั้ง แต่ไม่สามารถสรุปผลได้ เพราะตัวอย่างไม่สมบูรณ์ต้องเก็บใหม่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพในปอดเพิ่มขึ้นทั้งสองข้าง ระบบหายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากการสอบสวนโรคในหมู่บ้าน ได้รับข้อมูลว่า มีไก่ทยอยตายทั้งหมู่บ้าน (180 หลังคาเรือน) รวมประมาณ 800 ตัว
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงตรวจเยี่ยมประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ และกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการดูแลรักษาด้านสาธารณสุข ซึ่งในเบื้องต้นทราบว่า ปัญหาการล้มตายผิดปกติของสัตว์ปีก รวม 7 อำเภอ 2 กิ่ง และยังมีรายงานในจังหวัดใกล้เคียงด้วย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมาสู่คน ดังนี้
2.1.1 ให้หน่วยงานสาธารณสุขในระดับตำบล และ อาสาสมัครหมู่บ้านเพิ่มความเข้มในการออกเยี่ยมชาวบ้านเพื่อให้คำแนะนำและติดตามสถานการณ์การตายในสัตว์ปีกรวมถึงการให้ความรู้ เนื่องจากพบว่า ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งไม่มีการระบาดในปีที่ผ่านมายังคิดว่าสัตว์ปีกที่ตายเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้ให้ผนวกรวมเรื่องไข้เลือดออกและโรคไวรัส Entero 71 ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย
2.1.2 ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไปประจำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีการระบาดของโรคไข้หวัดนก เพื่อร่วมประเมินการวินิจฉัยรักษา และให้คำปรึกษา ตลอดจนฝึกอบรมแพทย์ในพื้นที่เพิ่มเติม
2.1.3 ปรับปรุงห้องแยกโรคของโรงพยาบาลโดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน ให้มีอย่างน้อย 2 ห้องต่อโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท/ห้อง/โรงพยาบาลชุมชน
2.1.4 เพิ่มศักยภาพให้ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอให้สามารถปฏิบัติงานสอบสวนและควบคุมโรคได้ตลอดเวลา โดยจะมีการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการปฏิบัติการ
2.1.5 การบริหารจัดการบูรณาการภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้สามารถใช้งบประมาณและการสั่งการที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ รวมทั้งควรจะมีการซ้อมแผนรับมือการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ชายแดน
ทั้งนี้การดำเนินงานตามข้อ 2.1.1 - 2.1.4 กรมควบคุมโรค จะได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องต่อไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และเห็นควรให้ประสานกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการตามข้อ 2.1.5
3. การป้องกันโรคไข้หวัดนก
ในการป้องกันโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข ขอให้ประชาชนล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะเด็ก มักมีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับสัตว์รวมทั้งไก่และนก และหากติดเชื้อไข้หวัดนกมักป่วยรุนแรง ดังนั้นในช่วงที่มีโรคระบาดใน สัตว์ปีก มีสัตว์ตายผิดปกติ ผู้ปกครองควรระมัดระวังดูแลเด็กให้ใกล้ชิด และเตือนไม่ให้เด็กอุ้มไก่หรือนก จับต้องซากสัตว์ที่ตาย และต้องฝึกสุขนิสัยที่ดี โดยเฉพาะการล้างมือทุกครั้งหลังจับสัตว์ หากเด็กมีอาการป่วย สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และให้รับประทานเนื้อไก่ ไข่ไก่ หรือสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่ปรุงให้สุกเท่านั้น เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือ พยาธิจะถูกทำลายไปด้วยความร้อน เนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีกเช่น ไก่ เป็ด นกกระทา ที่มีขายตามท้องตลาดในขณะนี้ถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานที่ปรุงสุกเท่านั้น ควรงดการรับประทานน้ำสลัดที่ทำจากไข่ดิบ
การให้บริการ Hot line ของกระทรวงสาธารณสุขมีดังนี้
- กรมการแพทย์ ให้คำปรึกษาเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 6621
- กรมควบคุมโรค ให้คำปรึกษาประชาชนทั่วไป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333
4. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดนกในต่างประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบันพบผู้ป่วย 87 ราย ตาย 57 ราย รายละเอียดดังนี้
4.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
4.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
4.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 11 ราย ตาย 7 ราย
4.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
4.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
4.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 37 ราย ตาย 31 ราย
4.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
4.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549
1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กรกฎาคม 2549 มีผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรครวม 1,960 ราย จาก 67 จังหวัด
1.2 ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2549 มีรายงานผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังโรค 80 ราย จาก 19 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร 18 ราย สุโขทัย 14 ราย พิษณุโลกและสุพรรณบุรี จังหวัดละ 9 ราย น่าน 7 ราย นครสวรรค์ 4 ราย เพชรบูรณ์และอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 3 ราย นครปฐมและนนทบุรี จังหวัดละ 2 ราย กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา นครนายก ปทุมธานี ปราจีนบุรี ลำพูน และอุทัยธานี จังหวัดละ 1 ราย อยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.3 ผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 มีการยืนยันการตรวจพบผู้ป่วยไข้หวัดนก ในจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นรายแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2549 เป็นเพศชายอายุ 17 ปี อาชีพรับจ้างเป็นลูกจ้างร้านซ่อมจักรยานยนต์ สุขภาพแข็งแรง เป็นลูกชายคนเดียวและอาศัยอยู่กับพ่อแม่ มีบ้านอยู่ติดกับบ้านของตา-ยาย ซึ่งเลี้ยงไก่บ้านประมาณ 10 ตัว และมีลูกไก่อีกประมาณ 100 ตัว ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม ไก่ได้ทยอยตาย จนเหลือเพียง 3 ตัว ในการนี้ ผู้ป่วยให้ประวัติว่า เมื่อประมาณวันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ได้นำไก่ตายจำนวนหนึ่งไปฝัง วันที่ 15 กรกฎาคม 2549 มีอาการไข้ และไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทับคล้อ วันที่ 18 กรกฎาคม 2549 แพทย์วินิจฉัยว่า สงสัยอาจติดเชื้อไวรัสและได้ทำตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดคัดกรองเบื้องต้น ปรากฏผลเป็นลบ จึงให้ยาไปรับประทาน พร้อมทั้งแนะนำว่า หากอาการไม่ดีขึ้นให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้ง ต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ผู้ป่วยรายดังกล่าวกลับมาที่โรงพยาบาลทับคล้ออีกครั้งหนึ่ง แพทย์รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในตรวจเอกซเรย์ปอด แต่ไม่พบความผิดปกติแต่ประการใด และได้ตรวจสารพันธุกรรมต่อเชื้อไข้หวัดนกให้ผลลบ นอกจากนั้น อาการหลัก คือ มีไข้ ปวดแน่นท้อง และมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดคล้ายไข้เลือดออก และได้ให้การรักษาไข้เลือดออก แต่ปรากฏว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2549 ไข้ไม่ลด จึงได้ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลต่อที่โรงพยาบาลพิจิตร ตรวจเอกซเรย์ปอด พบว่า มีพยาธิสภาพในปอดข้างขวา แพทย์ตรวจสารพันธุกรรมอีกครั้ง แต่ไม่สามารถสรุปผลได้ เพราะตัวอย่างไม่สมบูรณ์ต้องเก็บใหม่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2549 ผู้ป่วยมีพยาธิสภาพในปอดเพิ่มขึ้นทั้งสองข้าง ระบบหายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากการสอบสวนโรคในหมู่บ้าน ได้รับข้อมูลว่า มีไก่ทยอยตายทั้งหมู่บ้าน (180 หลังคาเรือน) รวมประมาณ 800 ตัว
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 กระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงตรวจเยี่ยมประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ และกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการดูแลรักษาด้านสาธารณสุข ซึ่งในเบื้องต้นทราบว่า ปัญหาการล้มตายผิดปกติของสัตว์ปีก รวม 7 อำเภอ 2 กิ่ง และยังมีรายงานในจังหวัดใกล้เคียงด้วย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมาสู่คน ดังนี้
2.1.1 ให้หน่วยงานสาธารณสุขในระดับตำบล และ อาสาสมัครหมู่บ้านเพิ่มความเข้มในการออกเยี่ยมชาวบ้านเพื่อให้คำแนะนำและติดตามสถานการณ์การตายในสัตว์ปีกรวมถึงการให้ความรู้ เนื่องจากพบว่า ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งไม่มีการระบาดในปีที่ผ่านมายังคิดว่าสัตว์ปีกที่ตายเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากนี้ให้ผนวกรวมเรื่องไข้เลือดออกและโรคไวรัส Entero 71 ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย
2.1.2 ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไปประจำในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีการระบาดของโรคไข้หวัดนก เพื่อร่วมประเมินการวินิจฉัยรักษา และให้คำปรึกษา ตลอดจนฝึกอบรมแพทย์ในพื้นที่เพิ่มเติม
2.1.3 ปรับปรุงห้องแยกโรคของโรงพยาบาลโดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน ให้มีอย่างน้อย 2 ห้องต่อโรงพยาบาล ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท/ห้อง/โรงพยาบาลชุมชน
2.1.4 เพิ่มศักยภาพให้ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วทุกอำเภอให้สามารถปฏิบัติงานสอบสวนและควบคุมโรคได้ตลอดเวลา โดยจะมีการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการปฏิบัติการ
2.1.5 การบริหารจัดการบูรณาการภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้สามารถใช้งบประมาณและการสั่งการที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ รวมทั้งควรจะมีการซ้อมแผนรับมือการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ชายแดน
ทั้งนี้การดำเนินงานตามข้อ 2.1.1 - 2.1.4 กรมควบคุมโรค จะได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องต่อไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และเห็นควรให้ประสานกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการตามข้อ 2.1.5
3. การป้องกันโรคไข้หวัดนก
ในการป้องกันโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข ขอให้ประชาชนล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะเด็ก มักมีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับสัตว์รวมทั้งไก่และนก และหากติดเชื้อไข้หวัดนกมักป่วยรุนแรง ดังนั้นในช่วงที่มีโรคระบาดใน สัตว์ปีก มีสัตว์ตายผิดปกติ ผู้ปกครองควรระมัดระวังดูแลเด็กให้ใกล้ชิด และเตือนไม่ให้เด็กอุ้มไก่หรือนก จับต้องซากสัตว์ที่ตาย และต้องฝึกสุขนิสัยที่ดี โดยเฉพาะการล้างมือทุกครั้งหลังจับสัตว์ หากเด็กมีอาการป่วย สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และให้รับประทานเนื้อไก่ ไข่ไก่ หรือสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่ปรุงให้สุกเท่านั้น เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือ พยาธิจะถูกทำลายไปด้วยความร้อน เนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีกเช่น ไก่ เป็ด นกกระทา ที่มีขายตามท้องตลาดในขณะนี้ถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องรับประทานที่ปรุงสุกเท่านั้น ควรงดการรับประทานน้ำสลัดที่ทำจากไข่ดิบ
การให้บริการ Hot line ของกระทรวงสาธารณสุขมีดังนี้
- กรมการแพทย์ ให้คำปรึกษาเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 6621
- กรมควบคุมโรค ให้คำปรึกษาประชาชนทั่วไป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333
4. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดนกในต่างประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบันพบผู้ป่วย 87 ราย ตาย 57 ราย รายละเอียดดังนี้
4.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
4.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
4.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 11 ราย ตาย 7 ราย
4.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
4.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
4.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 37 ราย ตาย 31 ราย
4.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
4.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--